Abstract:
งานวิจัยนี้เป็นการรายงานผลของการศึกษาเรื่อง ระบบการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนเสมือนจริงเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและขั้นตอนระบบการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนเสมือนจริงเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา 2. เพื่อสร้างระบบการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนเสมือนจริงเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา 3. เพื่อศึกษาผลการใช้ระบบการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนเสมือนจริงเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา 4. เพื่อนำเสนอระบบการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนเสมือนจริงเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนเสมือนจริงเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา จำนวน 5 ท่าน และนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2555 ภาคการศึกษาปลาย จำนวน 30 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 2726397 การวิเคราะห์หลักสูตรและสาระการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance 2. แผนกำกับกิจกรรมการเรียนรู้ 3. แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อระบบฯ วิเคราะห์สถิติด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าทีผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีความพึงพอใจต่อระบบดังกล่าวในระดับมาก ระบบการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนเสมือนจริงเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ 2. บทบาทผู้เรียน 3.บทบาทผู้สอน 4. การควบคุมและการกำกับตนเอง 5.การประเมินผล และขั้นตอน 8 ขั้นตอน มีดังนี้ 1.การเตรียมความพร้อมผู้เรียน 2. การค้นหา วัตถุประสงค์ 3. การค้นหาความจริง 4. การค้นหาแนวคิด 5. การค้นหาแนวทางการแก้ปัญหา 6. การสร้างผลงาน 7. การประเมินผลงาน 8. การยอมรับผลงาน