dc.contributor.advisor |
รุจา ฟองเพ็ชร |
|
dc.contributor.advisor |
มณทิพย์ ทาบูกานอน |
|
dc.contributor.author |
วัชรี ชาตกิตติคุณวงศ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
|
dc.date.accessioned |
2016-06-08T04:27:57Z |
|
dc.date.available |
2016-06-08T04:27:57Z |
|
dc.date.issued |
2529 |
|
dc.identifier.isbn |
9745672335 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48251 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
en_US |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการวิเคราะห์ชนิดและปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในแหล่งน้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และอ่าวไทยตอนบน โดยเก็บตัวอย่างจากแม่น้ำเจ้าพระยา 20 ตัวอย่างต่อ 1 ฤดูจากแม่น้ำบางปะกง 12 ตัวอย่างต่อ 1 ฤดูจากแม่น้ำท่าจีน 12 ตัวอย่างต่อ 1 ฤดูและอ่าวไทยตอนบน 25 ตัวอย่างในช่วงฤดูน้ำหลากระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม และในช่วงฤดูน้ำแล้งระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน ปีพ.ศ. 2526-2527 การวิเคราะห์หาชนิดของปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนโดยใช้เทคนิคแกสโกรมาโทกราฟี และแมสสเปกโตรเมตรี (GC, GC/MS) พบว่ารูปแบบ (Pattern) ของโครมาโทแกรมแสดงจำนวนอะตอมของคาร์บอนในปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนที่วิเคราะห์เป็น C15-C32ซึ่งเป็นกลุ่มสารประกอบประเภทนอร์มัลอัลเคนเป็นส่วนใหญ่ การวิเคราะห์เปรียบเทียบปริมาณสารในระหว่างฤดูน้ำหลากและฤดูน้ำแล้งโดยใช้เทคนิคสเปกโตรฟลูออโรเมตรี พบว่าในช่วงฤดูน้ำหลาก ในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนอยู่ในช่วง 0.190-0.431 ไมโครกรัมต่อลิตร แม่น้ำบางปะกงพบอยู่ในช่วง 0.056-0.406 ไมโครกรัมต่อลิตร แม่น้ำท่าจีนอยู่ในช่วง 0.260-0.550 ไมโครกรัมต่อลิตร และอ่าวไทยตอนบนพบอยู่ในช่วง 0.172-0.826 ไมโครกรัมต่อลิตร ส่วนในฤดูน้ำแล้งในแม่น้ำเจ้าพระยามีสารอยู่ในปริมาณ 0.514-0.799 ไมโครกรัมต่อลิตร แม่น้ำบางปะกงอยู่ในช่วง 0.318-0.678 ไมโครกรัมต่อลิตร แม่น้ำท่าจีนอยู่ในช่วง 0.248-0.745 ไมโครกรัมต่อลิตร การเปรียบเทียบปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนโดยอาศัยหลักทางสถิติพบว่า ช่วงฤดูน้ำหลาก แม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาตรปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนมากกว่าแหล่งน้ำอื่นๆ แต่ปริมาณแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในฤดูน้ำแล้งพบว่าในแหล่งน้ำทั้ง 3 มีปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนมากน้อยเรียงตามลำดับคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำท่าจีน ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01
การวิเคราะห์เปรียบเทียบปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนในแหล่งน้ำเดียวกันใน 2 ช่วงฤดู พบว่าในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำบางปะกงมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 ส่วนในแม่น้ำท่าจีนจะมีปริมาณแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลจากการศึกษาวิธีการวิเคราะห์ปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนโดยเทคนิคการชั่งน้ำหนัก การวัดค่าการดูดกลืนแสงอินฟราเรด และวิธีสเปกโตรฟลูออโรเมตรีเพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน พบว่าข้อมูลที่ได้จากเทคนิคดังกล่าวจะให้รายละเอียดแตกต่างกัน การคำนวณเปอร์เซนต์การกลับคืน (percent recovery) โดยใช้เทคนิคส์สเปกโตรฟลูออโรเมตรีเท่ากับ 92.4 และพบว่าการใช้นอร์มัลเฮกเชนในการสกัดสารตัวอย่างให้ปริมาณสารวิเคราะห์กลับคืนสูงกว่ากรณีใช้คาร์บอกเททระคลอไรด์ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The analysis of dissolved petroleum hydrocarbons in the Chao Phraya river. Bang Prakong river, Tha-Chin river and the Upper Gulf of Thailand during rainy season (September-December) and summer season ( March-April) in 1983-1984 was performed by using Gas Chromatography, Gas Chromatography/Mass Spectrometry (GC,GC/MS) and Spectroflucrometric techniques. For each season the water samples of Cho Phraya river were collected from twenty station, while that of Bang Prakong and Tha-Chin river were from twelve stations and twenty-five stations from the Upper Gulf of Thailand. From the results of GC and GC/MS, it was possible to conclude that the compounds presence in the samples of Chao Phraya river, Bang Prakong river, Tha-Chin river and Upper Gulf of Thailand were mainly straight chain aliphatic hydrocarbons of C15-C32. By using spectrofluorometric techniques; the concentrations of petroleum hydrocarbon in the Chao Phraya river, Bang Prakong river, Tha-Chin river and the Upper Gulf of Thailand in rainy season were found to be between 0.190-0.431, 0.056-0.406, 0.260-0.550 and 0.172-0.886 ug/L respectively. While in summer season the concentrations changed to be 0.514-0.799 ug/L for Chao Phraya river; 0.318-0.678ug/L for Bang Prakong river and 0.337-0.435 g/L for Tha-Chin river. Comparison of the concentration found between the rivers and Upper Gulf of Thailand during rainy season showed no statistically significant difference but during summer season the differences were well pronounced. The concentration of petroleum hydrocarbons found in the same rivers of different season showed statistically significant difference. The amount found from Chao Phraya river and Bang Prakon river showed significant difference at the level of .01 while that of Tha-Chin river was at the level 0f .05. studies of dissolved petroleum hydrocarbons in the water sample were investigated using Gravimetric Method, Partition Infrared Method and Spectrofluorometric Method. It was concluded that each technique was appropriate for each particular compound sought for. From the experiment performed, n-hexane was found to be superior solvent compared to carbon tetrachloride for extraction recommended in Spectrofluorometric Method. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ไฮโดรคาร์บอน |
en_US |
dc.subject |
ปิโตรเลียม -- ผลกระทบทางกายภาพ |
en_US |
dc.subject |
การปนเปื้อนของน้ำมันในน้ำ |
en_US |
dc.subject |
มลพิษทางน้ำ -- ไทย |
en_US |
dc.title |
ชนิดและปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนที่ละลายอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำท่าจีน และอ่าวไทยตอนบน |
en_US |
dc.title.alternative |
Dissolved petroleum hydrocarbon in the Chao Phraya River, Bang Prakong River, Tha-Chin River and the Upper Gulf of Thailand |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
เคมี |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|