Abstract:
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มจำนวนพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และสามารถผลิต
สารสำคัญเพื่อทดแทนการสกัดโดยตรงจากธรรมชาติ การศึกษานี้ได้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแคลลัสของกันภัย
มหิดล (Afgekia mahidoliae B. L. Burtt & Chermsir) ซึ่งเป็นต้นไม้หายาก โดยการชักนำจากชิ้นส่วนของใบและ
ก้านในอาหารกึ่งแข็งสูตร Murashige and Skoog (MS) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตชนิด 2,4-
dichlorophenoxy-acetic acid (2,4-D) และ 6-benzylaminopurine (BA) ที่ความเข้มข้นต่างๆในช่วง 0.1 – 1.0
มิลลิกรัม/ลิตร เพื่อศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสม พบว่า สูตรอาหารที่มีความสามารถชักนำใบและก้านของต้น
กันภัยมหิดลให้เกิดแคลลัสได้ดี คือ สูตรอาหาร MS ที่ประกอบด้วย 2,4-D 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร และ BA 0.1
มิลลิกรัม/ลิตร โดยแคลลัสที่ได้มีลักษณะเป็นก้อน นิ่ม และมีสีเหลืองอมเขียว นอกจากนี้ในการศึกษารูปแบบโคร
มาโทกราฟฟีของกันภัยมหิดลที่ปลูกตามธรรมชาติและแคลลัสในรูปสารสกัดหยาบในเมทานอลด้วยวิธี Thin-
Layer Chromatography ในระบบตัวทำละลาย 3 ระบบ ได้แก่ hexane : ethyl acetate (7:3), ethyl acetate :
dichloromethane (2:3) และ dichloromethane : methanol (10:1) และเมื่อตรวจสอบภายใต้แสงที่ความยาวคลื่น
254 นาโนเมตร, 365 นาโนเมตร และพ่นด้วยกรดกำมะถันความเข้มข้นร้อยละ 10 พบว่า รูปแบบโครมาโทกราฟฟี
ของกันภัยมหิดลที่ปลูกตามธรรมและแคลลัสมีความแตกต่างกัน โดยองค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่ของสารสกัด
หยาบแคลลัสค่อนข้างมีขั้วสูงกว่าสารสกัดหยาบของกันภัยมหิดลที่ปลูกตามธรรมชาติ