DSpace Repository

การขยายพันธุ์ในหลอดทดลองและรูปแบบโครมาโทกราฟฟีของ กันภัยมหิดลที่ปลูกตามธรรมชาติ และแคลลัส

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุชาดา สุขหร่อง
dc.contributor.advisor สรกนก วิมลมั่งคั่ง
dc.contributor.author รวิกานต์ ระลึกฤๅเดช
dc.contributor.author อาอีชะห์ เจะเอาะ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
dc.date.accessioned 2016-06-13T02:49:40Z
dc.date.available 2016-06-13T02:49:40Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.other Sepr 21/55 ค3.9
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49141
dc.description.abstract การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มจำนวนพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และสามารถผลิต สารสำคัญเพื่อทดแทนการสกัดโดยตรงจากธรรมชาติ การศึกษานี้ได้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแคลลัสของกันภัย มหิดล (Afgekia mahidoliae B. L. Burtt & Chermsir) ซึ่งเป็นต้นไม้หายาก โดยการชักนำจากชิ้นส่วนของใบและ ก้านในอาหารกึ่งแข็งสูตร Murashige and Skoog (MS) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตชนิด 2,4- dichlorophenoxy-acetic acid (2,4-D) และ 6-benzylaminopurine (BA) ที่ความเข้มข้นต่างๆในช่วง 0.1 – 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร เพื่อศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสม พบว่า สูตรอาหารที่มีความสามารถชักนำใบและก้านของต้น กันภัยมหิดลให้เกิดแคลลัสได้ดี คือ สูตรอาหาร MS ที่ประกอบด้วย 2,4-D 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร และ BA 0.1 มิลลิกรัม/ลิตร โดยแคลลัสที่ได้มีลักษณะเป็นก้อน นิ่ม และมีสีเหลืองอมเขียว นอกจากนี้ในการศึกษารูปแบบโคร มาโทกราฟฟีของกันภัยมหิดลที่ปลูกตามธรรมชาติและแคลลัสในรูปสารสกัดหยาบในเมทานอลด้วยวิธี Thin- Layer Chromatography ในระบบตัวทำละลาย 3 ระบบ ได้แก่ hexane : ethyl acetate (7:3), ethyl acetate : dichloromethane (2:3) และ dichloromethane : methanol (10:1) และเมื่อตรวจสอบภายใต้แสงที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร, 365 นาโนเมตร และพ่นด้วยกรดกำมะถันความเข้มข้นร้อยละ 10 พบว่า รูปแบบโครมาโทกราฟฟี ของกันภัยมหิดลที่ปลูกตามธรรมและแคลลัสมีความแตกต่างกัน โดยองค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่ของสารสกัด หยาบแคลลัสค่อนข้างมีขั้วสูงกว่าสารสกัดหยาบของกันภัยมหิดลที่ปลูกตามธรรมชาติ en_US
dc.description.abstractalternative Tissue culture technique is one of advantageous methods for plant breeding. In addition, it can be used to effectively yield active compound substituting for plant extract from natural resources. In the study, callus cultures of Afgekia mahidoliae B. L. Burtt & Chermsir (known as Kan Phai Mahidol), a rare tropical climber, were established to determine an appropriate composition of callus induction medium. Their chemical profiles were compared to those of naturally-grown plant. Calli were induced from leaves and nodes in Murashige and Skoog (MS) medium supplemented with 2, 4-dichlorophenoxy-acetic acid (2, 4-D) and 6-benzylaminopurine (BA). MS medium supplemented with 1.0 mg/L 2,4-D and 0.1 mg/L BA showed the highest callus induction percentage. The calli and naturally-grown leaves were extracted in ethanol and their chemical profiles were analyzed by Thin Layer Chromatography (TLC) using three mobile systems including hexane : ethyl acetate (7:3), ethyl acetate : dichloromethane (2:3), and dichloromethane : methanol (10:1). Chromatographic patterns on TLC showed that chemical profiles of both extracts were different when detected under ultraviolet (UV) light at 254 and 365 nm. After sprayed with 10% sulfuric acid and detected under UV365, callus extract showed moderate to high polarity of chemical compounds which were not observed in the naturally-grown leaf extract. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject แคลลัส en_US
dc.subject เซลล์แขวนตะกอน en_US
dc.title การขยายพันธุ์ในหลอดทดลองและรูปแบบโครมาโทกราฟฟีของ กันภัยมหิดลที่ปลูกตามธรรมชาติ และแคลลัส en_US
dc.title.alternative MICROPROPAGATION AND CHROMATOGRAPHIC PATTERNS OF Afgekia mahidoliae B. L. Burtt & Chermsir. IN NATURALLY-GROWN PLANT AND CALLUS en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.subject.keyword กันภัยมหิดล en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pharm - Senior projects [100]
    โครงการปริญญานิพนธ์ คณะเภสัชศาสตร์

Show simple item record