Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสามารถในการไตร่ตรองตนเองของนิสิตสาขาวิชา
การศึกษาปฐมวัยที่เรียนรายวิชาการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีการ
สังเกตอย่างใคร่ครวญ ผู้เข้าร่วมการวิจัย ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
จํานวน8 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ 13 สัปดาห์ จัดการเรียนการสอนสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง
ประกอบด้วยภาคปฏิบัติ 2 ชั่วโมง คือ กิจกรรมการสังเกตอย่างใคร่ครวญและการสนทนากลุ่ม และ
ภาคทฤษฎี1 ชั่วโมง คือ กิจกรรมการเรียนรู้เนื้อหาและแนวคิดการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การฝึกสังเกต ประกอบด้วยการปฏิบัติ
ในการสังเกตอย่างใคร่ครวญ2 ลักษณะ คือ การสังเกตตนเอง ได้แก่ การเต้นรํา การสงบนิ่ง
การจัดดอกไม้ การระบายสีน้ํา การปั้นดิน การวาดมันดาลา และการสังเกตสิ่งภายนอก ได้แก่
การสังเกตก้อนหิน ต้นไม้ และเด็ก ขั้นที่ 2 สุนทรียสนทนา ขั้นที่ 3 การเรียนรู้มโนทัศน์การประเมิน
และขั้นที่ 4 การทบทวนและสะท้อนการ เรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์ความ
สามารถในการไตร่ตรองตนเองและแบบ สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก
ก่อนและหลังการทดลองร่วมกับการดึงข้อมูล จากบันทึกสะท้อนการเรียนรู้รายบุคคลของนิสิต
ตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูลด้วยการตรวจสอบกับอาจารย์คู่สอนรายวิชาและการตรวจสอบ
แบบสามเส้าด้านวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า นิสิตทุกคนที่เข้าร่วมการวิจัยมีความสามารถในการไตร่ตรองตนเองเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้นิสิตสะท้อนความคิดว่ามีความเข้าใจในตนเองเพิ่มขึ้นและได้ฝึกฝนการมีสติจดจ่ออยู่กับ
ปัจจุบัน ทําให้ได้พัฒนาทั้งด้านวิชาการและการตระหนักรู้ในตนเอง