DSpace Repository

ระบบการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนจริงเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา และการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author เนาวนิตย์ สงคราม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2016-10-28T03:21:57Z
dc.date.available 2016-10-28T03:21:57Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49689
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยประเภทการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนจริงเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนิสิต นักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ กลุ่มตัวอย่างคือ อาจารย์สังกัดคณะศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 400 คน และ นิสิตระดับปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหา และแบบวัดการเรียนรู้เป็นทีม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยค่าสถิติ Paired sample t-test และ Repeated Measures ANOVA ผลการวิจัย พบว่า 1)ระบบการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนจริงเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการเรียนรู้เป็นทีม ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีและสื่อการสอน ได้แก่ ระบบ LMS ด้วยโปรแกรม Moodle การใช้เครื่องมือออนไลน์เว็บ 2.0 บนระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง และสื่อการสอนแบบมัลติมีเดีย ได้แก่ Powerpoint วีดีทัศน์ และการเชื่อมโยงไปยังแหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ องค์ประกอบของระบบฯ มี 5 ด้าน คือ (1) เครื่องมือการเรียนรู้ร่วมกันบนออนไลน์ (2) ระบบการเรียนอิเลิร์นนิง (3) การแก้ปัญหา (4) กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ (5) การประเมินผล ส่วนขั้นตอนการเรียนด้วยระบบฯ แบ่งออกเป็น 9 ขั้นตอน คือ (1) การเตรียมตัวในการทำงานกลุ่ม (2) การกำหนดหัวข้อที่สนใจ (3) การวิเคราะห์ประเด็นหัวข้อที่สนใจ (4) การรวบรวมข้อมูล (5) การสรุปแนวคิด (6) การนำเสนอแนวคิด (7) การดำเนินการสร้างผลงาน (8) การประเมินผลงาน และ (9) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง 2)ผลการใช้ระบบการเรียนด้วยอิเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนจริงเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนิสิต นักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 2.1) ผู้ที่เรียนด้วยระบบการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนจริง มีคะแนนเฉลี่ยการเรียนรู้เป็นทีมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .001 2.2 ผู้ที่เรียนด้วยระบบอีเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนจริง มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาระหว่างเรียนและหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน และคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าคะแนนระหว่างเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อระบบฯ ในระดับมากมีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวม 4.38 คะแนน (S.D. = 0.66) en_US
dc.description.abstractalternative This study is research and development research purpose to develop conducted e-learning system in virtual learning environment to develop problem solving ability and team learning for learners in higher education. The samples were 400 Lectures from faculty of education of governmental higher education institutions and 18 undergraduate students in faculty of Education, Chulalongkorn University. Data was collected through questionnaire, problem solving ability’s assessment, team tearning test. Data was analyzed by descriptive statistic include; frequency, mean, standard deviation and hypothesis that tested by paired sample t-test, repeated measures ANOVA. The results were as follows: 1)Virtual learning environment to develop problem solving ability and team learning consisted of technology and instructional media which were LMSL Moodle, online web 2.0 on cloud computing and multimedia which were Powerpoint Video and online resource. The research findings discovered the e-learning system in virtual learning environment to develop problem solving ability and team learning for learners in higher education consisted of five components: (1) Online collaborative tools (2) E-learning system (3) Problem solving (4) Knowledge sharing process (5) Evaluation and nine processes which were: (1) Preparation for group process (2) identification topic (3) Analysis issues (4) Gathering data (5) Assumption idea (6) Presentation ideas (7) Creation workings (8) Evaluation workings (9) Knowledge sharing from empirical experience. 2) Result of this research conducted on e-learning system in virtual learning environment to develop problem solving ability and team learning for learners in higher education were 2.1 Undergraduate students who studied with system had posttest team leaning average scores higher than pretest average scores with significance level at .001. 2.2 Undergraduate students who studied with system had posttest problem solving ability average scores higher than pretest average scores with significance level at .05. 2.3 Undergraduate students who studied with system were satisfied with the system in high level that average scores were 4.38 (S.D. = 0.66). en_US
dc.description.sponsorship เงินอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน ปี 2557 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การเรียนการสอนผ่านเว็บ en_US
dc.subject การแก้ปัญหา en_US
dc.subject ความจริงเสมือนเพื่อการศึกษา en_US
dc.subject ความจริงเสมือนเพื่อการศึกษาขั้นอุดมศึกษา en_US
dc.title ระบบการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงบนสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนจริงเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา และการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนิสิตนักศึกษาครุศาสตรบัณฑิตในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ : รายงานผลการวิจัย en_US
dc.title.alternative E-learning system in virtual learning environment to develop problem solving ability and team learning for learners in higher education en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author noawanit.s@chula.ac.th
dc.discipline.code 0804 en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record