DSpace Repository

การศึกษาความสัมพันธ์ของนาฏยศิลป์พิธีกรรมราชสำนักและพื้นบ้านของไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิชชุตา วุธาทิตย์
dc.contributor.author ชวโรฒน์ วัลยเมธี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2016-11-07T09:25:19Z
dc.date.available 2016-11-07T09:25:19Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49725
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้นี้ว่าด้วยการศึกษาความสัมพันธ์ของนาฏยศิลป์พิธีกรรมราชสำนักกับนาฏยศิลป์พิธีกรรมพื้นบ้าน การศึกษาอาศัยทฤษฎีทางมานุษยวิทยาเรื่องวัฒนธรรมและอนุวัฒนธรรมเป็นพื้นฐานการศึกษาครั้งนี้มีสมมติฐานว่านาฏยศิลป์พิธีกรรมของทุกเผ่าพันธ์มีแนวคิดใกล้คล้ายคลึงกันและมีความสัมพันธ์ในแง่ที่อาจเป็นแบบให้แก่กัน เพราะนาฏยศิลป์พิธีกรรมคือนาฏยศิลป์ที่แสดงบทบาททางพิธีกรรมงานวิจัยฉบับนี้มี ๕ บท บทแรกคือบทนำ บทที่สองคือวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง มีประเด็นว่าด้วยนาฏยศิลป์ในบริบทวัฒนธรรมไทย ทฤษฎีวัฒนธรรมและอนุวัฒนธรรม สถานะของนาฏยศิลป์ในสังคมไทยและความสัมพันธ์ของศิลปะกับศาสนาและความเชื่อ บทที่สามว่าด้วยนาฏยศิลป์พิธีกรรมที่ปรากฏในสังคมไทย บทที่สี่ว่าด้วยการศึกษาวิเคราะห์และการศึกษาความสัมพันธ์ของนาฏยศิลป์พิธีกรรมในราชสำนักและนาฏยศิลป์พิธีกรรมพื้นบ้านของไทย บทที่ห้าแสดงข้อสรุปของการศึกษาและข้อเสนอแนะ นาฏยศิลป์พิธีกรรมราชสำนักและนาฏยศิลป์พิธีกรรมพื้นบ้านต่างก็ได้รับอิทธิพลของศาสนาและความเชื่ออันเป็นบริบท ได้แก่พุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และการนับถือผี ทั้งนี้เพื่อรักษาแนวคิดปรัชญาของศาสนาและความเชื่อเหล่านี้ การศึกษาพบว่านาฏยศิลป์พิธีกรรมของไทยแบ่งได้เป็นสี่ประเภท คือ ๑) นาฏยศิลป์พิธีกรรมเพื่อการบูชา ๒) นาฏยศิลป์พิธีกรรมเพื่อการรักษา ๓) นาฏยศิลป์พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวงรอบชีวิต และ ๔) นาฏยศิลป์พิธีกรรมทางสังคมและพบว่านาฏยศิลป์พิธีกรรมราชสำนักและนาฏยศิลป์พิธีกรรมพื้นบ้านมีความสัมพันธ์ในแง่ที่มีอิทธิพลแก่กันในวัฒนธรรมทางพิธีกรรมของอีกฝ่ายหนึ่ง en_US
dc.description.abstractalternative This thesis aims at the relative studies of Thai Ritual Court Dance and Thai Ritual Folk Dance primarily by following the concepts in Anthropology, culture and subcultural theories which mainly relate with the majority and minority people in particular cultural groups in Thailand. The studies are hypothesized that the ritual dance of any race shares similarities in terms of basic idea, as Ritual Dance is the dance which has ceremonial function and that a Ritual Dance may be prototypes for one another. The thesis consists of five chapters;Chapter One is an introduction to the subject. Chapter Two is the review of literature chapter dealing with dance in Thai cultural context, Culture and Subculture theory, status of dance in Thai culture, religions and belief in Thai society, and the relationship of art and belief. Chapter Three deals with ritual dance in Thai culture. Chapter Four is the analytic and relative studies of court ritual dance and folk ritual dance in Thailand. The analytical conclusion and suggestion are given in Chapter Six. Ritual Dance of cultural and subcultural group in Thailand are highly influenced by the contextual religions and belief, Buddhism, Hinduism and animism, in order to serve the philosophical concepts of the beliefs.Ritual dance culture in Thailand has four functions; dance as offering, dance as healing, dance as rite de passage and dance in social protocol. While Thai court ritual dance functions as dance as offering, the folk dance tends to have the four functions investigated. These two schools of ritual dance share basic belief of deities and are seemed to exchange some of their dance related activities. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1582
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject นาฏศิลป์ไทย en_US
dc.subject พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม en_US
dc.subject ราชสำนักและข้าราชสำนัก en_US
dc.subject ศาสนากับวัฒนธรรม en_US
dc.subject Dramatic arts, Thai en_US
dc.subject Rites and ceremonies en_US
dc.subject Courts and courtiers en_US
dc.subject Religion and culture
dc.subject ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.title การศึกษาความสัมพันธ์ของนาฏยศิลป์พิธีกรรมราชสำนักและพื้นบ้านของไทย en_US
dc.title.alternative The relative study of Thai ritual court dance and Thai ritual folk dance en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline นาฏยศิลป์ไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Vijjuta.V@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.1582


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record