dc.description.abstract |
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จ.ชลบุรี (13º 12́ N) ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่การแพร่กระจายของลิงหางยาว (Macaca fascicularis) และอยู่ใต้เขตพื้นที่การแพร่กระจายของลิงวอก (M. mulatta) แต่จากการสำรวจเบื้องต้นของทีมผู้วิจัยในปี ค.ศ. 2005 พบทั้งลิงหางยาว ลิงวอก และลิงลูกผสมระหว่างลิงหางยาวและลิงวอกในพื้นที่ จึงได้ทำการศึกษาประชากร ลักษณะทางสัณฐาน และลักษณะทางพันธุกรรมของลิง พบว่าลิงแบ่งออกเป็น 3 ฝูง มีพื้นที่การแพร่กระจายซ้อนทับกัน โดยฝูงที่มุ่งเน้นศึกษา คือ ฝูงกรงนก มีประชากรทั้งหมด 229 ตัว จากการจำแนกลักษณะทางสัณฐานของลิงโตเต็มวัย จำนวน 90 ตัว (เพศผู้ 9 ตัว และเพศเมีย 81 ตัว) พบลิงหางยาว ลิงวอก และลิงลูกผสม จำนวน 24, 25 และ 41 ตัว ตามลำดับ จากการศึกษาประชากรลิงและลักษณะทางสัณฐานวิทยา ทำให้พบว่าลิงลูกผสมระหว่างลิงหางยาวและลิงวอกที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียวมีอยู่ในสัดส่วนที่มากกว่า 60% (ในลิงโตเต็มวัย) และมีความหลากหลายของลักษณะทางสัณฐาน ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างลิงสองชนิดเป็นระยะเวลานาน เมื่อตรวจวิเคราะห์หมู่เลือดระบบ ABO ในลิงทั้งหมด 40 ตัว พบว่าลิงหางยาวจำนวน 18 ตัว มีหมู่เลือด AB>O>A>B เท่ากับ 38.9, 27.8, 22.2 และ 11.1% ตามลำดับ ในลิงวอกจำนวน 5 ตัว พบหมู่เลือด A>AB=O เท่ากับ 60.0, 20.0 และ 20.0% ตามลำดับ ในขณะที่ลิงลูกผสมจำนวน 17 ตัว พบความถี่ของหมู่เลือด AB>O>A>B เท่ากับ 41.2, 29.4, 23.5 และ 5.9% ตามลำดับ เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลิงวอก ลิงหางยาว และลิงลูกผสม จากไมโตรคอนเดรียลดีเอนเอ บริเวณ control region ที่ตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ Kpn I พบดีเอนเอ 2 แบบ (haplotype) คือ haplotype A และ B โดยในลิงวอกพบทั้ง 2 haplotype ในอัตราส่วนใกล้เคียงกัน ในขณะที่ลิงหางยาวและลิงลูกผสม พบ haplotype A ในอัตราส่วนที่สูงกว่า haplotype B จากผลการศึกษาในครั้งนี้กล่าวได้ว่าลิงหางยาวและลิงวอก ณ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว สามารถผสมพันธุ์กันให้ลิงลูกผสมที่มีลักษณะปนกันระหว่างลิงทั้งสองชนิด ทั้งในแง่ของลักษณะทางสัณฐาน และลักษณะทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจถึงกลไกการเกิดลูกผสมระหว่างลิง 2 ชนิดนี้ และความโน้มเอียงของลักษณะต่าง ๆ ที่จะปรากฏในลูกลิงรุ่นหลัง ๆ จึงควรที่จะทำการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมในแง่ของพฤติกรรมการผสมพันธุ์ และความแตกต่างแปรผันของยีนตัวอื่น ต่อไป |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Khao Khieow Open Zoo, Chonburi Province (13O 12́ N) locates within the distribution range of long-tailed macaques (Macaca fascicularis) and south of the rhesus macaques (M. mulatta). However, from the previous survey of our research team in 2005, we found long-tailed, rhesus and mixed-morphological characters of macaques lived together here. Thus, the studies on morphological and genetic characters of those macaques were done. There are 3 groups of macaques in Khao Kheow Open Zoo and their home ranges were overlapped. The targeted group, namely Aviary group, consisted of 229 individuals. Based on their morphological characters, 90 adults (9 males and 81 females) were classified as long-tailed, rhesus and hybrid macaques for 24, 25 and 41 individuals, respectively. In total there are approximately 60% of adult hybrid macaques in the area. It has a high variation of hybrid gradient which indicates a long-term hybridization. Based on the ABO blood group analysis in 40 monkeys, 18 long-tailed macaques exhibited the blood groups of AB>O>A>B (38.9, 27.8, 22.2 and 11.1%, respectively), 5 rhesus macaques exhibited the blood groups of A>AB=O (60.0, 20.0 and 20.0%, respectively), and 17 hybrids exhibited the blood groups of AB>O>A>B (41.2, 29.4, 23.5 and 5.9%, respectively). Based on the restriction fragment length analysis of mtDNA (control region/Hypervariable Segment II) which was excised by Kpn I enzyme, 2 haplotypes (A and B) were found. In rhesus macaques, the frequency of haplotype A and B were similar, however, in long-tailed macaques and hybrids, the frequency of haplotype A was higher than the haplotype B. From this study, it suggests that long-tailed and rhesus macaques at Khao Kheow Open Zoo could mate and give birth of the hybrids which are characterized by morphological characters and mtDNA analysis. Thus, to understand the mechanism how these 2 species can produce fertile hybrids and those characters which will be appeared in the next generation, the studies on sexual behaviors and genetic variations of other genes should be performed. |
en_US |