DSpace Repository

ความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดจากพื้นที่ศึกษาวิจัยของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี และการคัดเลือกเห็ดที่มีศักยภาพนำไปใช้ประโยชน์

Show simple item record

dc.contributor.author อรวรรณ สัตยาลัย
dc.contributor.author สีหนาท ประสงค์สุข
dc.contributor.author รัชนีกร ธรรมโชติ
dc.contributor.author ละม้าย แก้วเนิน
dc.contributor.author วิชาณี แบนคีรี
dc.contributor.author ปรางวลัย จันทร์แจ่ม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2016-11-28T07:14:07Z
dc.date.available 2016-11-28T07:14:07Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49789
dc.description.abstract การศึกษาเห็ดจากพื้นที่ศึกษาวิจัยของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว ในปี พ.ศ. 2552-2553 เป็นการศึกษาที่เน้นทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดในพื้นที่ทำการศึกษา พบว่าจากการออกภาคสนามรวม 5 ครั้งสามารถเก็บตัวอย่างได้ 146 ตัวอย่าง สามารถจัดจัดจำแนกถึงระดับสกุล (genus) ได้ 1 ตัวอย่าง และจัดจำแนกถึงระดับสายพันธุ์ (species)ได้ 4 ตัวอย่างและพบว่าเห็ดส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่มีดอกเนื้อแข็งคล้ายหนังสัตว์ (Polypores) และการออกภาคสนามในปีพ.ศ. 2554 1ครั้ง เก็บตัวอย่างเห็ดได้ 19 ตัวอย่าง สามารถจัดจำแนกถึงระดับสายพันธุ์ได้ 2 ตัวอย่าง และพบว่าเห็ดส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่มีดอกเนื้อแข็งคล้ายหนังสัตว์เช่นกัน จากตัวอย่างเห็ด 146 ตัวอย่างสามารถแยกเส้นใยบริสุทธิ์ได้ 22 ตัวอย่าง นำเส้นใยบริสุทธิ์จาก 8 ตัวอย่าง และจากดอกเห็ด 1 ตัวอย่าง มาสกัดสารพอลิแซ็คคาร์ไรด์ด้วยน้ำร้อนโดยใช้เครื่องสกัดซอกห์เลต วัดปริมาณสารพอลิแซ็คคาร์ไรด์ในสารสกัดด้วยวิธีอันโทรน เลือกสารสกัดที่ปริมาณสารพอลิแซ็คคาร์ไรด์สูง 6 ตัวอย่างมาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งปอด โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 0, 0.05, 0.10, 0.25, 0.50, 0.60, 0.70, 0.80, 0.90 และ 1.00 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ พบว่าสารสกัดจากตัวอย่าง KK 76 มีความสามารถสูงสุดในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งได้ที่ 88 เปอร์เซ็นต์ ที่ความเข้มข้น1.00 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และสารนี้สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็งได้ 50 เปอร์เซ็นต์ (IC50) ที่ความเข้มข้น 0.35 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อนำดอกของเห็ดที่สารสกัดมีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งเซลล์มะเร็งมาศึกษาทางสัณฐานวิทยาเพื่อจัดจำแนกชนิดพบว่าเป็นชนิด Microporus xanthopus ซึ่งมีชื่อเรียกภาษาไทยว่า เห็ดกรวยทองตะกู ส่วนตัวอย่างเห็ดจากการออกภาคสนามในปี 2554 จำนวน 19 ตัวอย่าง พบว่าสามารถแยกเส้นใยบริสุทธิ์ได้ 2 ตัวอย่าง เมื่อนำมาศึกษาเพื่อจัดจำแนกพบว่าเป็นเห็ดกรวยทองตะกู (Microporus xanthopus) 1 ตัวอย่าง และอีกตัวอย่างพบว่าเป็นเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) ซึ่งเป็นที่รู้จักและมีการใช้กันแพร่หลาย จากการศึกษาครั้งนี้เชื่อว่าสารสกัดพอลิแซ็คคาร์ไรด์ จาก M. xanthopus จะสามารถนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ในรักษาโรคมะเร็งร่วมกับวิธีการรักษาอื่นๆได้ en_US
dc.description.abstractalternative One hundred and forty six mushroom samples were collected from 5 times field survey on mushroom biodiversity during 2009-2010 in the research area of Khao Kheaw open zoo, Chonburi province. The collected samples were identified based on their external morphological characteristics. One genus and 8 species were identifiable from all the samples. Most of the mushroom samples from the area studied belong to the Polypores group. Nineteen mushroom samples were collected from a field survey in 2011 and two samples were identifiable to species level and most of these samples also belong to the Polypores group. Twenty two mycelia isolates were obtained from 146 samples. The pure mycelium culture from 8 samples and 1 fruiting body were used for polysaccharide extraction by hot water in Soxhlet apparatus. Polysaccharide content in each samples were assessed using anthrone test method. Six samples with high polysaccharide content were selected and tested for their biological activities against lung cancer cell line at concentration of 0, 0.05, 0.10, 0.25, 0.50, 0.60, 0.70, 0.80, 0.90 and 1.00 mg/ml respectively. The crude extract from KK 76 revealed highest inhibitory activity against lung cancer cell line of 88% at the concentration of 1.00 mg/ml and show 5% cell inhibitory at 0.35 mg/ml. The KK 76 were subsequently identify using morphological examination including macroscopic and microscopic observation and was successfully identified as Microporus xanthopus Two pure mycelia isolates were obtained from nineteen mushroom samples collect in 2011.They were identified as Microporus xanthopus and Ganoderma lucidum, a well known mushroom. This research suggested that polysaccharides from Microporus xanthopus can be potentially developed and applied for cancer treatment. en_US
dc.description.sponsorship ทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ปี 2554 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เห็ด en_US
dc.subject เห็ด -- สวนสัตว์เปิดเขาเขียว (ชลบุรี) en_US
dc.subject เห็ดกรวยทองตะกู en_US
dc.subject เห็ดหลินจือ en_US
dc.subject ความหลากหลายทางชีวภาพ en_US
dc.title ความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดจากพื้นที่ศึกษาวิจัยของสวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี และการคัดเลือกเห็ดที่มีศักยภาพนำไปใช้ประโยชน์ en_US
dc.title.alternative Biodiversity of mushroom in the research area of Khao Kheow open zoo. Chonburi province and selection of the potential species for applications en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author orawan@c.chula.ac.th
dc.email.author Sehanat.P@Chula.ac.th
dc.email.author ratchaneekorn.t@chula.ac.th
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.discipline.code 0103 en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record