DSpace Repository

ผลกระทบของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่อรายได้นำส่งรัฐ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชัยรัตน์ เอี่ยมกุลวัฒน์
dc.contributor.author หนึ่งฤทัย บัวหลวง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2016-11-28T09:49:57Z
dc.date.available 2016-11-28T09:49:57Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49791
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract ในแต่ละปีรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ให้รัฐทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคล และรายได้รัฐพาณิชย์เป็นจำนวนมาก และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีความคล่องตัว รัฐจึงมีนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งที่ผ่านมารัฐวิสาหกิจหลายแห่งได้ถูกแปรรูปแล้ว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของรายได้นำส่งรัฐของรัฐวิสาหกิจและศึกษาผลกระทบของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่อรายได้นำส่งรัฐ โดยการศึกษาแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงรายได้นำส่งรัฐจำแนกตามสาขาทั้งหมด 9 สาขาในช่วงปีพ.ศ. 2539 –2554 ส่วนที่สองจะเป็นการประมาณค่าผลกระทบของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่อรายได้นำส่งรัฐ ใช้ข้อมูลรัฐวิสาหกิจ 56 แห่ง ในปีพ.ศ.2539 –2554 ในรูปแบบข้อมูล Panel data โดยใช้การประมาณค่า 3 วิธี ได้แก่ วิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Ordinary least square) วิธีประมาณค่าด้วยตัวแปรอิทธิพลกำหนด (Fixed effects estimation) และวิธีประมาณค่าด้วยตัวแปรสุ่ม (Random effects estimation) ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงรายได้นำส่งรัฐของรัฐวิสาหกิจจำแนกตามสาขาในปีพ.ศ.2539-2554 พบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งรายได้รัฐพาณิชย์และรายได้รัฐพาณิชย์บวกภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนหนึ่งมาจากกนโยบายรัฐในการกำหนดอัตราการจัดสรรกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นจากเดิมของรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง ทำให้รายได้รัฐพาณิชย์เพิ่มขึ้น และอีกส่วนหนึ่งจากการเพิ่มสูงขึ้นของภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในปีพ.ศ.2544-2547 ทำให้รัฐวิสาหกิจเกิดการแปลงสภาพเป็นบริษัทจำนวน 6 แห่ง ส่งผลให้รายได้นำส่งรัฐที่เกิดจากรายได้รัฐพาณิชย์บวกภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นใน 6 สาขา ได้แก่ สาขาคมนาคมและขนส่ง สาขาพลังงาน สาขาอุตสาหกรรม สาขาพาณิชย์ สาขาสื่อสาร และสาขาสถาบันการเงิน ผลการศึกษาผลกระทบของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่อรายได้นำส่งรัฐ พบว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทำให้รายได้นำส่งรัฐของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นทั้งรายได้รัฐพาณิชย์และรายได้รัฐพาณิชย์บวกภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ถ้ากำหนดให้ปัจจัยต่างๆไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อรายรับของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ทำให้รายได้นำส่งรัฐ (รายได้รัฐพาณิชย์บวกภาษีเงินได้นิติบุคคล) ของรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปสูงกว่ารัฐวิสาหกิจที่ไม่แปรรูป 1.52 ล้านบาท และเมื่อกำไรสุทธิของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท รายได้รัฐพาณิชย์ของรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปสูงกว่ารัฐวิสาหกิจที่ไม่แปรรูป 0.06 ล้านบาท และรายได้รัฐพาณิชย์บวกภาษีเงินได้นิติบุคคลของรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปสูงกว่ารัฐวิสาหกิจที่ไม่แปรรูป 0.14 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากเมื่อมีการแปรรูปแล้วรัฐวิสาหกิจมีการบริหารจัดการที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ en_US
dc.description.abstractalternative Public enterprises annually contribute to government coffers via profit remittances and corporate income tax payments. To improve operational performance, the government has had a policy on privatization, and many enterprises have already been privatized. Therefore, this research aims to study dividend and corporation tax payments of public enterprise and the impact of privatization on government revenue over 1996-2011. The study is divided into two parts. The first part is a study of changes in government revenue due to both profit remittances and corporation income tax from public enterprise classified into 9 branches. The second part is the analysis of the impact of privatization on government revenue using the panel data analysis of 56 enterprises over 1996 -2011. In the panel data analysis – the Ordinary lease square, the fixed effects estimation and the random effects estimation. The first part finds that over 1996-2011 profit remittances only and profit remittances plus corporation income tax have increased. One reason is that the government requires state enterprises to pay a higher percentage of their profits as dividends. Another reason is due to privatization policy during 2001-2004; as a result, six public enterprises have been privatized in various branches such as Communications and Transport, Energy, Commerce, Communications, Industry and financial institutions The second part finds that that privatization has increased government revenue in both cases of profit remittances only and profit remittances and corporation income tax payments. When sales increase 1 percent, dividend and corporation payments of privatized enterprises increase by 1.52 million baht more than those of non-privatized enterprises. Moreover, when net profit increases by 1 million baht, profit remittances only and dividend plus corporation income tax payments of privatized enterprises increase by 0.06 and 0.14 million baht, respectively, higher than those of non-privatized enterprises. A better management may partly explain this impact of privatization. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1622
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject รัฐวิสาหกิจ -- ไทย en_US
dc.subject การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ -- ไทย en_US
dc.subject Government business enterprises -- Thailand en_US
dc.subject Privatization -- Thailand en_US
dc.title ผลกระทบของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่อรายได้นำส่งรัฐ en_US
dc.title.alternative The impact of privatization on government revenue from public enterprises en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Chairat.A@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.1622


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record