DSpace Repository

ปัญหากฎหมายไทยเกี่ยวกับมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช: ศึกษากรณีการนำเข้า ผัก ผลไม้

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศักดา ธนิตกุล en_US
dc.contributor.author บูรตา วงษ์อุไร en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2016-11-30T05:42:52Z
dc.date.available 2016-11-30T05:42:52Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50105
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมาย และบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบการนำเข้าสินค้า ผัก ผลไม้ ภายใต้หลักเกณฑ์ของความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับสหภาพยุโรป ประเทศจีน และประเทศออสเตรเลีย เพื่อนำมาตรการทางกฎหมายและการจัดรูปแบบองค์กรของต่างประเทศ ที่เหมาะสมมาปรับใช้กับประเทศไทย เนื่องด้วยปัจจุบัน ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะนำเข้าสินค้า ผัก ผลไม้ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบบการตรวจสอบและกฎหมายที่ใช้บังคับสำหรับการนำเข้าจึงต้องมีความคล่องตัวและรวดเร็ว เพื่อประโยชน์ในทางการค้าระหว่างประเทศ แต่ในขณะเดียวกันการบังใช้มาตรการต่างๆต้องอยู่ภายใต้หลักการของความตกลงเกี่ยวกับสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ขององค์การการค้าโลก (WTO) กล่าวคือ ต้องสนับสนุนให้เกิดการปกป้องชีวิต สุขภาพ อนามัย ของมนุษย์ สัตว์ และพืช ในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดการกีดกันทางการค้า อีกด้วย จากการศึกษาพบว่า การกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน และการตรวจสอบการนำเข้า ผัก ผลไม้ ของประเทศไทย มีความสอดคล้องกับพันธกรณี ทั้งในข้อ2 และข้อ 3 ของความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) แต่กฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบยังมีความ ซ้ำซ้อน และมากเกินกว่าความจำเป็น รวมทั้งระบบการตรวจสอบอยู่ภายใต้บทบาทของหน่วยงานหลายหน่วยงาน ไม่มีการบูรณาการ และจากความไม่เพียงพอของห้องปฏิบัติการ (LAB) ทำให้เกิดความล่าในการตรวจสอบ ประกอบกับการไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์วิจัยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้กำหนดมาตรฐาน ทำให้ระบบการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าผัก ผลไม้ ของไทยยังคงเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ พบว่า ในด้านกฎหมาย แม้สหภาพยุโรปจะมีกฎหมายจำนวนมากที่คอยควบคุมแต่กฎหมายเหล่านั้นมีความสอดคล้องและส่งเสริมซึ่งกันและกัน ส่วนประเทศจีน และออสเตรเลีย มีกฎหมายเพียงสองฉบับที่มีบทบาทโดยตรง สำหรับหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบนั้น ทั้งสหภาพยุโรป จีนและออสเตรเลีย ต่างมีหน่วยงานที่เป็นเอกภาพเพียงหน่วยงานเดียว (single Unit System) ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบโดยเฉพาะ และการตรวจสอบรับรองมาตรฐานก็มีห้องปฏิบัติการ (LAB) ที่เพียงพอ หรือใช้วิธีการให้เอกชนเป็นตัวแทนในการตรวจสอบโดยหน่วยงานของรัฐทำหน้าที่คอยควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น อีกทั้งทุกประเทศ ยังมีหน่วยงานอิสระที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ วิจัย เพื่อให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นการเฉพาะ อีกด้วย ซึ่งแนวทางของต่างประเทศที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้เป็นอย่างดี en_US
dc.description.abstractalternative This thesis aims to study the legal measures and the role of relevant agencies in the inspection imports of fruit and vegetables under Sanitary and phytosanitary measures (SPS) of Thailand. To compare with European Union, China and Australia in order to take legal measures and the appropriate formatting of international agencies to apply to Thailand. At the present, Thailand is likely to import vegetables, fruits increasing continuously. The inspection measures and the applicable law for imports have the agility and quick for the beneficiary of international trade. But at the same time the enforcement measures under the principle of agreement on Sanitary and phytosanitary (SPS) of the World trade organization (WTO) is to support the protection of life, health of human being, animals and plants in manner that does not cause trade barriers as well. The study found that the benchmark and inspection of import of vegetables and fruits of Thailand complying with its obligations in article 2 and article 3 of the agreement on Sanitary and phytosanitary (SPS) but the inspection law also is redundant and excessive. In addition, the inspection system is under the various agencies and without integration. And the inadequacy of the laboratories (LAB) cause delay in the inspection including no agency that was in charge of research and analysis of scientific data to set the standards. Therefore, the inspection system to monitor imports of vegetables and fruits of Thailand is still a currently problem. By comparing with other countries, it was found that in the legal even European union (EU) have a lot of laws to control but those laws are consistent and encouraging each other. China and Australia have only two issues that have a direct role. For the inspection agency, European Union, China and Australia has single unit system to inspect particularly and also adequate laboratory for inspection . Besides, all countries have also an independent agency to analyze and research to provide scientific data. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.658
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ผลไม้ -- การนำเข้า
dc.subject ผัก -- การนำเข้า
dc.subject การควบคุมสินค้าขาเข้า
dc.subject สินค้าเข้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
dc.subject ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
dc.subject Fruit -- Imports
dc.subject Vegetables -- Imports
dc.subject Import quotas
dc.subject Imports -- Law and legislation -- Thailand
dc.subject Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures
dc.title ปัญหากฎหมายไทยเกี่ยวกับมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช: ศึกษากรณีการนำเข้า ผัก ผลไม้ en_US
dc.title.alternative Thai legal problems with regard to sanitary and phytosanitary standard : a case study of importation of fruit and vegetable products en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Sakda.T@Chula.ac.th,tsakda@chula.ac.th en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2015.658


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record