DSpace Repository

การวิเคราะห์นโยบายค่าภาคหลวงแร่ทองคำในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน en_US
dc.contributor.author บุญธิดา เสงี่ยมเนตร en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2016-12-01T08:06:41Z
dc.date.available 2016-12-01T08:06:41Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50410
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นโยบายค่าภาคหลวงแร่ทองคำในประเทศไทยและเพื่อนำเสนอถึงแนวทางในการประเมินมูลค่าผลกระทบภายนอกที่อาจเกิดขึ้นจากกการทำเหมืองแร่ทองคำ ผลการศึกษาพบว่า การเก็บค่าภาคหลวงแร่ทองคำแบบอัตราก้าวหน้าสามารถสะท้อนต้นทุนส่วนเพิ่มของผู้ใช้ (Marginal User Cost: MUC) ได้ดีกว่าอัตราค่าภาคหลวงแร่แบบคงที่ อย่างไรก็ตาม อัตราค่าภาคหลวงแร่ที่ใช้ในปัจจุบันยังไม่สามารถสะท้อนต้นทุนส่วนเพิ่มของผู้ใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จากผลการวิเคราะห์พบว่า การจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่ทองคำด้วยโครงสร้างปัจจุบันส่งผลให้ผู้ประกอบการมีกำไรเกินปกติสูงถึงร้อยละ 46 การศึกษานี้ได้แสดงตัวอย่างการปรับอัตราค่าภาคหลวงแร่ทองคำใหม่โดยเรียกเก็บที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 12 ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการมีกำไรเกินปกติลดลงเหลือร้อยละ 39 แต่จะสามารถสร้างรายได้เข้าสู่รัฐได้เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 50 สำหรับแนวทางในการประเมินมูลค่าผลกระทบภายนอกที่อาจเกิดขึ้นจากกการทำเหมืองแร่ทองคำในครั้งนี้จะใช้วิธี Benefit transfer method โดยมูลค่าความเสียหายจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการทำเหมืองแร่ทองคำในประเทศไทยจะมีมูลค่าแยกตามประเภทของผลกระทบได้ดังนี้ มูลค่าความเสียหายจากการสูญเสียการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและการเก็บของป่า 1,572.21 บาทต่อไร่ต่อปี มูลค่าไม้และความหลากหลาย 109,494.51 บาทต่อไร่ต่อปี ผลกระทบทางภูมิทัศน์เป็นมูลค่าเท่ากับ 1,744.32 บาทต่อไร่ต่อปี ผลกระทบด้านมลพิษทางดิน 124,177.50 บาท/ไร่ ผลกระทบด้านมลพิษทางน้ำผิวดิน 2,943.34 บาท/ครัวเรือน/ปี ผลกระทบด้านมลพิษทางน้ำใต้ดิน 1,184.51บาท/ครัวเรือน/ปี ผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศ 4,062.43 บาท/ครัวเรือน/ปี และผลกระทบด้านมลพิษทางเสียง 408.66 บาท/dBA/ครัวเรือน/ปี ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า รัฐควรปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าภาคหลวงแร่ทองคำขึ้นใหม่ด้วยการคำนึงถึงมูลค่าของ MUC และโอกาสในการสร้างกำไรของผู้ประกอบการร่วมด้วย อีกทั้ง รัฐยังควรปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเหมืองแร่ให้มีความชัดเจน มีระเบียบแบบแผนที่เป็นรูปธรรม และมีการคำนึงถึงมูลค่าความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการเพิ่มความรับผิดชอบและความเคร่งครัดในการดูแลสิ่งแวดล้อม en_US
dc.description.abstractalternative This study analyzes government policies on gold mines in Thailand. It is shown that royalty fee with progressive rate is superior to fixed rate. However, the current progressive rate used in Thailand could not reflect the Marginal User Cost (MUC) effectively. With the current rate, at approximately 8 percent of gold price, mining concessionaire gains on average 46 percent for super normal profit. As an example, this paper calculates the effects of an increase in average royalty rate from 8 to 12 percent. With 12 percent royalty rate, the concessionaire will still gain 39 percent for super normal profit; while government revenue will increase for 50 percent. The negative externalities possibly caused by gold mining activities are discussed. In this study, Benefit transfer method is used to evaluate negative effects from gold mining industry. The possible impacts include the loss of agricultural assets by 1,572.21 THB/Rai/year, the loss of fauna and flora by 109,494.51 THB/Rai/year, the loss of landscape and scenery by 1,744.32 THB/Rai/year, soil pollution by 124,177.50 THB/Rai, surface water pollution by 2,943.34 THB/HHS/year, underground water pollution by 1,184.51 THB/HHS/year, air pollution by 4,062.43 THB/HHS/year and noise pollution 408.66 THB/dBA/HHS/year. To conclude, the public policies on gold mining industry in Thailand should be modified. The royalty rate should be adjusted in order to effectively reflect MUC of gold. However, the room for concessionaire to gain super normal profit should also be considered because this will directly affect investment decision. Moreover, policies on environmental impact management should be improved. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1018
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เหมืองและการทำเหมืองทองคำ -- การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
dc.subject เหมืองและการทำเหมืองทองคำ -- ต้นทุนและประสิทธิผล
dc.subject Gold mines and mining -- Environmental impact analysis
dc.subject Gold mines and mining -- Cost effectiveness
dc.title การวิเคราะห์นโยบายค่าภาคหลวงแร่ทองคำในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Policy analysis of gold royalty in Thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Sittidaj.P@Chula.ac.th,sittidaj@hotmail.com,Sittidaj.P@chula.ac.th en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2015.1018


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record