dc.contributor.advisor |
นราพงษ์ จรัสศรี |
en_US |
dc.contributor.author |
ขวัญแก้ว กิจเจริญ |
en_US |
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
en_US |
dc.date.accessioned |
2016-12-01T08:07:00Z |
|
dc.date.available |
2016-12-01T08:07:00Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
en_US |
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50425 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ และศึกษาค้นหาแนวคิดในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ถือเป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ ได้แก่ การวิเคราะห์จากเอกสาร และตำรา การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับงานนาฏยศิลป์ การสำรวจข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์ เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน โดยนำข้อมูลดังกล่าวทั้งหมดมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทดลองเพื่อสร้างสรรค์การแสดง และสรุปผล ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ในด้านการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์จากภาพท่าเต้นของนราพงษ์ จรัสศรี เป็นการนำภาพท่าเต้นของศิลปินมาร้อยเรียงและสร้างสรรค์เป็นผลงานการแสดงนาฏยศิลป์ ในรูปแบบนาฏยศิลป์พิสุทธิ์ (Pure dance) สามารถจำแนกตามองค์ประกอบการแสดงนาฏยศิลป์ได้ 8 ประการคือ 1) บทการแสดง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่1 บัลเล่ต์คลาสสิค (Classical ballet) ส่วนที่ 2 นาฏยศิลป์ร่วมสมัย (Contemporary dance) ส่วนที่3 บัลเล่ต์คลาสสิค (Classical ballet) 2) นักแสดง ต้องมีความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ขั้นสูง การสื่อสารอารมณ์และความหมาย 3) ลีลาการแสดง จากแนวคิดพื้นฐานการเคลื่อนไหวทั้ง 7 และการใช้ท่าเชื่อม (Linking steps) โดยนำเสนอผ่านนาฏยศิลป์รูปแบบบัลเล่ต์คลาสสิค และนาฏยศิลป์แบบร่วมสมัย 4) เสียง ใช้แนวคิดการปะติด (Collage) คือการใช้เสียงที่ไม่มีระเบียบแบบแผน ไม่ได้ผ่านการเรียบเรียง และนำมาร้อยเรียงให้เกิดเป็นเพลงใหม่ 5) อุปกรณ์การแสดง นำเสนอผ่านแนวคิดเรียล์ลิสติก (Realistic) คือการนำอุปกรณ์จริงทั้งสิ้นมาประกอบฉากการแสดง เพื่อให้คนดูเกิดความเข้าใจและมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมกับการแสดงมากขึ้น 6) พื้นที่การแสดง ใช้แนวคิด"ศิลปะเฉพาะที่" (Site specific art) ที่สามารถสื่อความหมาย และความเชื่อให้กับผู้ชม 7) แสง ใช้แนวคิดทฤษฎีของสีมาช่วยในการสร้างบรรยากาศและถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึก 8) เครื่องแต่งกาย ใช้แนวคิดมินิมิมอลลิซึ่ม (Minimalism) และ เรียล์ลิสติก (Realistic) คือมุ่งเน้นความเรียบง่าย ความประหยัดและตรงไปตรงมา นอกจากนี้แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ได้ให้ความสำคัญใน 5 ประการคือ 1) การคำนึงถึงสรีระของร่างกาย 2) การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 3) การคำนึงถึงการใช้ทฤษฎีทางด้านนาฏยศิลป์และทัศนศิลป์ 4) การคำนึงถึงการใช้ความหลากหลายรูปแบบของการแสดง 5) การใช้สัญลักษณ์เพื่อการสื่อสารในการแสดง ดังนั้นผลการวิจัยทั้งหมดนี้จึงมึความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุกประการ ข้อสรุปจากการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากภาพท่าเต้นของนราพงษ์ จรัสศรี เป็นผลงานนาฏยศิลป์ที่มีลักษณะเด่นที่เรียกว่า "นาฏยศิลป์พิสุทธิ์" (Pure dance) คือเป็นการแสดงที่เน้นแต่เฉพาะลีลาท่าทางนาฏยศิลป์ นอกจากนี้การนำภาพถ่ายมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของงานนาฏยศิลป์ทำให้เกิดความแปลกใหม่และเกิดความท้าทายต่อตัวผู้สร้างงาน ดังนั้นการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ชิ้นนี้สามารถเป็นตัวอย่างของการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์แนวใหม่ และมีประโยชน์ในอนาคตของวงการศึกษาต่อไป |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this dissertation “The Creation of Dance From the Dance Position of Naraphong Charassri” are to initiate creativity in performing dance arts and to study dance arts’ creativity concepts by using creative and qualitative research methods, including 1) documentary analysis 2) expert interviews 3) analysis of the media relating to dance performances 4) field survey 5) observation 6) study on principles and standards of role models in dance arts. Findings will be analyzed, synthesized, and summarized respectively. The Creation of Dance from the Dance Position of Naraphong Charassri is conducted to compose a new dance performance called pure dance, which is a dance performance focusing solely on dance styles and movements with no intention of presenting feelings, emotions, or stories within the performance. The details of the performance consist of 1) a performance script which is divided into three parts; one is classical ballet, another is contemporary dance, and the other is neo classical 2) choreography based on 7 movements and linking steps of classical ballet and contemporary dance 3) a performer who possesses high ability of dance 4) sound created from a collage concept putting together many songs without a remix process 5) props designed with a realistic concept by bringing the real equipment into the scene to induce participation of the audience 6) spacing which is in a concept of site specific art so as to be able to connect with the audience 7) lighting created from the colour theory to generate an atmosphere and communicate emotions and feelings 8) costume designed with minimal and realistic concepts, which are simple, straightforward, and economical. The creative concepts of this dance performance are based on 1) the performer’s body shape 2) creative ideas of dance arts 3) the theories of dance arts and visual arts 4) a variety of dance performance 5) the use of symbols for communication. In summary, the creation of dance from the dance position of Naraphong Charassri’s is considered a pure dance performance, which aims to present only dance styles and movements. Furthermore, using photographs as part of the performance is innovative as well as challenging to the creator. Therefore, this dance creation can be an embodiment of the creation of a modern dance performance and be beneficial for this field of study in the future. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.619 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.subject |
นราพงษ์ จรัสศรี -- การวิจารณ์และการตีความ |
|
dc.subject |
การเต้นรำ |
|
dc.subject |
การเต้นรำ -- การออกแบบ |
|
dc.subject |
ศิลปะการแสดง |
|
dc.subject |
ศิลปะการแสดง -- การออกแบบ |
|
dc.subject |
Naraphong Charassri -- Criticism and interpretation |
|
dc.subject |
Dance |
|
dc.subject |
Dance -- Design |
|
dc.subject |
Performing arts |
|
dc.subject |
Performing arts -- Design |
|
dc.title |
การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากภาพท่าเต้นของนราพงษ์ จรัสศรี |
en_US |
dc.title.alternative |
The creation of dance from the dance position of Naraphong Charassri |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
en_US |
dc.degree.discipline |
ศิลปกรรมศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Naraphong.C@Chula.ac.th,thaiartmovement@hotmail.com |
en_US |
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2015.619 |
|