Abstract:
การศึกษาในวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การปรับเปลี่ยน 2. การบริหารจัดการ 3. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของห้องพัก และ 4. วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขเพื่อเสนอข้อเสนอแนะ ของการปรับเปลี่ยนจากเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ไปสู่การเป็นเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์กึ่งโรงแรม ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่พักอาศัยแบบแบบระยะสั้น(รายวัน)นั้นส่วนมากพักห้องแบบสตูดิโอ และผู้พักระยะยาว(รายเดือน)ส่วนมากพักห้องพักแบบหนึ่งห้องนอน เหตุผลที่เลือกเข้ามาพักอาศัยของกลุ่มตัวอย่างโรงแรม จัสมินซิตี้ โฮเทล ทางด้านความสะดวกสบายในการเดินทาง กลุ่มตัวอย่างโครงการที่สองคือ โรงแรม ซัมเมอร์เซท เลคพ้อยท์ กรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างส่วนมากตอบว่า ทางด้านการบริการ และพบอีกว่ากลุ่มตัวอย่างผู้พักอาศัย ของโรงแรม จัสมินซิตี้ โฮเทล ให้ความสำคัญกับส่วนครัว ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างของโรงแรม ซัมเมอร์เซท เลคพ้อยต์ กรุงเทพ ที่ให้ความสำคัญกับ ส่วนครัวเป็นอันดับแรก โดยพื้นที่ที่ให้ความสำคัญมากที่สุดของโรงแรม จัสมินซิตี้ โฮเทล คือรถรับส่งไปสถานีรถไฟฟ้า รองลงมาคือร้านสะดวกซื้อใต้อาคาร และพื้นที่ที่ให้ความสำคัญมากที่สุดของโรงแรม ซัมเมอร์เซท เลคพ้อยต์ กรุงเทพ คือสนามเด็กเล่น รองลงมาคือรถรับส่งไปสถานีรถไฟฟ้า ส่วนใหญ่พบว่าปัญหาคือ ราคาที่สูงเกินไป และการมีเสียงดังรบกวน เมื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขพบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการพักอาศัยในเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์กึ่งโรงแรมเพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน แต่ไม่ต้องการให้มีคนแปลกหน้ามาพักอาศัยอยู่ในบริเวณชั้นเดียวกัน และต้องการความเป็นส่วนตัวมาก การแบ่งแยกระดับชั้นพักอาศัยที่ชัดเจนจากลักษณะการเข้าพักเป็นการแก้ไขที่เลือกนำมาใช้ได้ในเบื้องต้น สรุปผลการศึกษา พบว่า เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์มีแนวโน้มในอนาคตที่น่าสนใจเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์จึงมีการปรับเปลี่ยนเป็นกึ่งโรงแรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการที่จะลดความเสี่ยงจากอัตราการเข้าพัก ซึ่งเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์และโรงแรมนั้นเปรียบเสมือนสินค้าที่ทดแทนกันได้ ผู้ประกอบการธุรกิจที่พักอาศัยจึงควรให้ความสำคัญกับมาตรฐานและความต้องการที่แท้จริงของผู้พักอาศัยเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนจากเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์เป็น เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์กึ่งโรงแรม