Abstract:
การวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำของค่าพยากรณ์ที่ได้จากตัวแบบ ARIMA, ตัวแบบผสมระหว่าง ARIMA กับเครือข่ายประสาทเทียม และตัวแบบผสมระหว่าง ARIMA กับซัพพอร์ทเวกเตอร์แมชชีน ในการพยากรณ์ราคาปิดหุ้น SCB ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โดยใช้ชุดข้อมูลจริงและชุดข้อมูลอนุกรมเวลาที่จำลองด้วยตัวแบบ ARIMA(0,1,1), ตัวแบบ ARIMA(0,1,2), ตัวแบบ ARIMA(1,1,0), ตัวแบบ ARIMA(1,1,1), ตัวแบบ ARIMA(1,1,2), ตัวแบบ ARIMA(2,1,0), ตัวแบบ ARIMA(2,1,1) และตัวแบบ ARIMA(2,1,2) เมื่อใช้เกณฑ์รากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Root mean square error: RMSE) เป็นเครื่องมือในการเปรียบเทียบตัวแบบ โดยตัวแบบใดที่มีค่า RMSE ต่ำสุด จะเป็นตัวแบบที่ดีที่สุด จากการศึกษาพบว่า ตัวแบบผสมระหว่าง ARIMA และซัพพอร์ทเวกเตอร์แมชชีน มีความแม่นยำในการพยากรณ์สูงที่สุด สำหรับการพยากรณ์ในชุดข้อมูลอนุกรมเวลาในกรณีที่จำลองด้วยตัวแบบ ARIMA(0,1,2), ตัวแบบ ARIMA(1,1,1) และตัวแบบ ARIMA(2,1,2) ส่วนตัวแบบผสมระหว่าง ARIMA และเครือข่ายประสาทเทียมนั้นให้ความแม่นยำในการพยากรณ์สูงที่สุดสำหรับการพยากรณ์ในชุดข้อมูลอนุกรมเวลาในกรณีที่จำลองด้วยตัวแบบ ARIMA(0,1,1), ตัวแบบ ARIMA(1,1,0), ตัวแบบ ARIMA(1,1,2), ตัวแบบ ARIMA(2,1,0) และตัวแบบ ARIMA(2,1,1) และสำหรับการพยากรณ์ในชุดข้อมูลจริงของราคาปิดหุ้น SCB รายสัปดาห์ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ที่มีลักษณะอนุกรมเวลาสอดคล้องกับตัวแบบ ARIMA(1,1,1) ผลการศึกษาพบว่าตัวแบบผสมระหว่าง ARIMA และซัพพอร์ทเวกเตอร์แมชชีน มีความแม่นยำในการพยากรณ์สูงที่สุดซึ่งสอดคล้องกับผลจากชุดข้อมูลจำลอง