DSpace Repository

ความเครียดในบทบาท ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ ความหมายในชีวิต และความสุขในบริบทพุทธธรรมของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ en_US
dc.contributor.author ปกรณ์ ใยมณี en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา en_US
dc.date.accessioned 2016-12-02T02:03:12Z
dc.date.available 2016-12-02T02:03:12Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50745
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในบทบาท ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ ความหมายในชีวิต และความสุขในบริบทพุทธธรรมของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำนวนทั้งหมด 303 คน มีอายุเฉลี่ย เท่ากับ 46.72 (SD=12.34) ปี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) มาตรวัดความเครียดในบทบาท (2) มาตรวัดความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ (3) มาตรวัดความหมายในชีวิต และ (4) มาตรวัดความสุขในบริบทพุทธธรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเครียดในบทบาท ความหมายในชีวิตด้านการค้นหาความหมาย มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสุขในบริบทพุทธธรรมอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 และ .01 (r= -.12, p<.05, r= -.45, p<.01ตามลำดับ) ส่วนความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ และความหมายในชีวิตด้านความเข้าถึงความหมายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในบริบทพุทธธรรมโดยมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 (r= .54, p<.01, r=.11, p<.05 ตามลำดับ) 2) ความเครียดในบทบาท ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ การค้นหาความหมาย การเข้าถึงความหมาย สามารถร่วมกันทำนายความสุขในบริบทพุทธธรรมของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอธิบายความแปรปรวนของความความสุขของผู้ดูแลได้ ร้อยละ 49 (R2=.49, p<.01) โดยตัวแปรที่ทำนายความสุขในบริบทพุทธธรรมได้มากที่สุดคือ ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ (β= .48, p<.01) ตามด้วยการค้นหาความหมาย (β= -.44, p<.01) การเข้าถึงความหมาย(β= .12, p<.05) และความเครียดในบทบาท (β=-.11, p<.05) สามารถทำนายความสุขในบริบทพุทธธรรมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en_US
dc.description.abstractalternative This present study aimed to examine the relationships between role strain, gratitude, meaning in life and happiness in Buddha Dhamma context among caregivers of the older adults with non communicable disease. Participants were 303 caregivers with mean age of 46.72 (SD=12.34) years old. Instruments were (1) Role Strain Scale (2) Gratitude Scale (3) Meaning in Life and (3) Happiness in Buddha Dhamma Context Scale. Pearson’s product-moment correlations and multiple regressions were used to analyse the data. Results reveal: 1) Role strain and meaning in life-search are significantly and negatively correlated with happiness in Buddha Dhamma context (r= -.12, p<.05, r= -.45, p<.01 respectively). Gratitude and meaning in life-presence are significantly and positively correlated with Happiness in Buddha Dhamma context (r=.54, p<.01, r=.11 respectively). 2) Role strain, gratitude, presence of meaning in life and search for meaning in life significantly predict caregivers’ happiness and accounted for 49 percent of the total variance of the happiness (R2=.49, p<.01). The most significant predictors of the happiness is gratitude (β= .48, p<.01) follow by meaning in life-search (β= -.44, p<.01) meaning in life presence (β= .12, p<.05) and role stain (β=-.11, p<.05) respectively. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.822
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ผู้ดูแล -- ความเครียดในการทำงาน
dc.subject ความเครียด (จิตวิทยา)
dc.subject ความหมาย (จิตวิทยา)
dc.subject ความสุข -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
dc.subject Caregivers -- Job stress
dc.subject Stress (Psychology)
dc.subject Meaning (Psychology)
dc.subject Happiness -- Religious aspects -- Buddhism
dc.title ความเครียดในบทบาท ความรู้สึกซาบซึ้งขอบคุณ ความหมายในชีวิต และความสุขในบริบทพุทธธรรมของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง en_US
dc.title.alternative Role strain, gratitude, meaning in life, and happiness in Buddha dhamma context among caregivers of older adults with chronic non-communicable disease en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Arunya.T@Chula.ac.th,atuicomepee@gmail.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2015.822


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record