dc.contributor.advisor |
เขมรัฐ เถลิงศรี |
en_US |
dc.contributor.author |
นุชนารถ การะเวก |
en_US |
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
en_US |
dc.date.accessioned |
2016-12-02T02:03:55Z |
|
dc.date.available |
2016-12-02T02:03:55Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
en_US |
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50782 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
en_US |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการตัดสินใจของเกษตรกรและพ่อค้าคนกลางในห่วงโซ่การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มากำหนดผลตอบแทนที่เกษตรกรจะได้รับจากการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความเหมาะสมของการสร้างการแข่งขันของพ่อค้าคนกลางนอกระบบในการปล่อยกู้สินเชื่อให้แก่เกษตรกร และหาแนวทางในการดำเนินโยบายของรัฐที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้รับผลประโยชน์จากการเพาะปลูกมากยิ่งขึ้น โดยการสร้างแบบจำลองเพื่อสะท้อนบริบทของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทย แบ่งเป็น 4 กรณี ได้แก่ กรณีที่ 1 เกษตรกรกู้สินเชื่อได้จากพ่อค้าคนกลางทั้งในระบบและนอกระบบ กรณีที่ 2 เกษตรกรกู้สินเชื่อจากพ่อค้าคนกลางนอกระบบเท่านั้น กรณีที่ 3 รัฐเข้าไปแทรกแซงราคารับซื้อ และกรณีที่ 4 รัฐเข้าไปแทรกแซงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะใช้การวิเคราะห์แบบเป็นลำดับขั้น (Sequential Game) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลทางบวกต่อผลตอบแทนของเกษตรกร ได้แก่ ราคารับซื้อของโรงงานอาหารสัตว์และจำนวนของพ่อคาคนกลางนอกระบบ ปัจจัยที่มีผลทางลบต่อผลตอบแทนของเกษตรกร ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยของแหล่งเงินทุนภายนอก เกณฑ์ปริมาณสินเชื่อที่พ่อค้าคนกลางในระบบกำหนดให้เกษตรกรสามารถกู้ได้ และต้นทุนในการกำกับดูแลเกษตรกรของพ่อค้าคนกลางนอกระบบ จะได้ว่าการเพิ่มเกณฑ์ปริมาณสินเชื่อในระบบให้แก่เกษตรกรกลับทำให้เกษตรกรได้รับกำไรน้อยลง ในขณะที่การเพิ่มจำนวนพ่อค้าคนกลางนอกระบบในตลาดเพื่อสร้างการแข่งขันจะช่วยให้อัตราดอกเบี้ยในการกู้สินเชื่อของเกษตรกรต่ำลง การดำเนินนโยบายของรัฐโดยเข้าไปแทรกแซงราคาสินค้าจากการประกันราคาผลผลิต รัฐต้องคำนึงถึงการคำนวณราคาประกัน และราคาตลาดอ้างอิงให้ราคาตลาดอ้างอิงใกล้เคียงกับราคาตลาดจริงมากที่สุด ประเด็นสุดท้ายคือการดำเนินนโยบายของรัฐโดยการแทรกแซงอัตราดอกเบี้ยนอกระบบ จะได้ว่าเกษตรกรจะได้รับกำไรเพิ่มขึ้นถ้าอัตราดอกเบี้ยที่รัฐกำหนดนี้สูงกว่าต้นทุนที่พ่อค้าคนกลางนอกระบบต้องแบกรับ ซึ่งเกิดจากอัตราดอกเบี้ยที่เขาต้องเพื่อปล่อยกู้รวมกันต้นทุนในการกำกับดูแลเกษตรกร |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This research is about the study of the impact of government policy and role of lender-trader on returns to farmer, focusing on maize production chain. By using sequential game analysis to capture specific characters of Thai rural maize market, the research analyzes factors that affect farmers’ benefits and studies possibility of promoting competitiveness among informal lender-traders who lend loans to farmers and purchase their products. The first scenario case shows the situation where farmers have access to both formal and informal lender-trader, while the second captures the situation where the farmers can only access the informal lender-trader. Scenario 3 looks at government intervention in maize market through price insurance scheme, whereas the intervention through informal interest rate channel is discussed in the last scenario. Result shows that the factors that positively influence farmer returns are wholesale price and a number of informal lender-traders. The factors that inversely affect the returns are external interest rate, loan ceiling determine by formal lender-trader and the informal monitoring lender’s cost. Contrasting to a common belief, raising the loan ceiling actually decreases farmer’s returns, while increasing in the number of informal lender-traders in the market helps decrease informal interest rate. In addition, to use the price insurance scheme, the ability of government to choose the reference price the matches the real market level plays a critical role. Finally, the intervention through informal interest rate would benefit farmer only if the level of informal interest rate chosen is higher than the opportunity cost borne by the informal lender-trader. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1021 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ -- นโยบายของรัฐ |
|
dc.subject |
ข้าวโพด |
|
dc.subject |
การควบคุมราคา |
|
dc.subject |
Feed industry -- Government policy |
|
dc.subject |
Corn |
|
dc.subject |
Price regulation |
|
dc.title |
ผลของนโยบายรัฐและบทบาทของพ่อค้าคนกลางต่อผลตอบแทนของเกษตรกร กรณีศึกษา: ห่วงโซ่การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ |
en_US |
dc.title.alternative |
The impact of government policy and role of lender-trader on return to farmer, a case study of maize supply chain |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Khemarat.Te@chula.ac.th,Khemarat.T@Chula.ac.th |
en_US |
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2015.1021 |
|