DSpace Repository

สถานะและผลทางกฎหมายของหนังสือที่หน่วยงานทางปกครองเรียกให้ข้าราชการคืนสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นเงินที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ

Show simple item record

dc.contributor.advisor มานิตย์ จุมปา en_US
dc.contributor.advisor มานิตย์ วงศ์เสรี en_US
dc.contributor.author ชัญญพัชร์ อุ่นแสง en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2016-12-02T02:03:59Z
dc.date.available 2016-12-02T02:03:59Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50792
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษาและวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ระบบกฎหมายไทยถือว่าหนังสือของหน่วยงานทางปกครองที่เรียกให้ข้าราชการคืนสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นเงินที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ มีสถานะเป็นหนังสือทวงถาม รวมถึงรูปแบบวิธีการเรียกเงินคืนที่เหมาะสม โดยศึกษาเปรียบเทียบกับการเรียกเงินคืนในกรณีดังกล่าวของระบบกฎหมายฝรั่งเศสและเยอรมัน ผลการวิจัยพบว่า กรณีที่บุคคลคนหนึ่งได้ไปซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์จากบุคคลอื่นโดยปราศจากฐานทางกฎหมาย ย่อมทำให้รัฐและเอกชนต่างมีสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งคืนทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นแก่ตนได้ หรือนิติบุคคลมหาชนเรียกให้คืนระหว่างกัน หรือรัฐเรียกคืนจากข้าราชการ ในระบบกฎหมายฝรั่งเศสและเยอรมันได้พัฒนาและยอมรับหลักการดังกล่าวในฐานะเป็นหลักกฎหมายทั่วไป และนำไปบัญญัติเป็นกฎหมาย กรณีจึงมีความชัดเจนในการนำหลักการดังกล่าวไปปรับใช้กับข้อพิพาทเกี่ยวกับการเรียกให้ข้าราชการคืนสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นเงินที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ และกำหนดให้หนังสือเรียกเงินคืนมีสถานะเป็นคำสั่งทางปกครอง แต่ในระบบกฎหมายไทย หลักการเรียกคืนทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิยังไม่ได้รับการพัฒนาขึ้นให้เป็นระบบ อันเป็นเหตุทำให้ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติเกี่ยวกับหลักการดังกล่าว เมื่อไม่มีกฎหมายให้อำนาจแก่ฝ่ายปกครองเรียกเงินคืน หนังสือเรียกเงินคืนจึงไม่เป็นคำสั่งทางปกครอง แต่เป็นเพียงหนังสือทวงถามทางแพ่ง อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า การเรียกให้ข้าราชการคืนเงินที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิสมควรเป็นอำนาจของฝ่ายปกครองที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง ดังนั้น หนังสือเรียกเงินคืนจึงควรมีสถานะเป็นคำสั่งทางปกครอง และเพื่อให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะดังกล่าว จึงเห็นควรให้ฝ่ายนิติบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยกำหนดให้ฝ่ายปกครองมีอำนาจออกคำสั่งเรียกคืนสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นเงินของข้าราชการที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ en_US
dc.description.abstractalternative This thesis aims to study and analyze the reasons for which Thai legal system considers the administrative agencies’ written documents ordering civil servants to return monetary privileges and welfare received without legal basis as a notice. It also concerns the research for an appropriate method to reclaim for an undue payment by comparing the Thai legal concept regarding such matter with the concept as appeared in French and German legal systems. The research revealed that in the case where any person received properties or benefits from other person without legal basis, an administrative agency or a private person shall have a right to claim for returning of such properties or benefits for his own. The right to reclamation of the properties or benefits in such case may be exercised by the administrative agencies against other administrative agencies or against civil servants. This principle of law is developed and recognized in French and German legal systems as the general principle law. It is also codified in their legislations. In this respect, it is obvious for those legal systems, that this principle of law shall be applied to the dispute concerning the reclamation for monetary privileges and welfare received without legal basis by civil servants. Accordingly, the notice issued for such purpose shall be considered as an administrative order. However, the legal concept with regard to the reclamation of an undue payment or benefits without legal basis in Thai public law is still not well settled. For this reason, there are no legal dispositions governing such reclamation. Thus, in absence of any legal disposition providing the power to do so, the notice to reclaim for reimbursement of undue payment is not considered as an administrative order but as a mere legal notice of private law. However, the author suggests that the reclamation for reimbursement of undue payment should be an exercise of power and authority of the administrative agency in accordance with the principle of legality. In this respect, any notice issued for such purpose should be considered as an administrative order. In addition, the author supports that lawmakers should enact or amend the legislation granting the power and authority to the administrative agency to reclaim the monetary privileges and welfare received without legal basis. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title สถานะและผลทางกฎหมายของหนังสือที่หน่วยงานทางปกครองเรียกให้ข้าราชการคืนสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นเงินที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิ en_US
dc.title.alternative LEGAL STATUS AND CONSEQUENCES OF ADMINISTRATIVE AGENCIES’ NOTICES ORDERING CIVIL SERVANTS TO RETURN MONETARY PRIVILEGES AND WELFARE RECEIVED WITHOUT LEGAL BASIS en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Manit.J@Chula.ac.th,manit_j@yahoo.com en_US
dc.email.advisor manit_w@admincourt.go.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record