DSpace Repository

ผลของการเสริมมันสำปะหลังเส้นต่อการหมักในกระเพาะรูเมน ผลผลิตก๊าซมีเทนและน้ำนม และการย่อยได้ของสารอาหารของแพะนมลูกผสมในเขตร้อนชื้น

Show simple item record

dc.contributor.advisor จักรกริศน์ เนื่องจำนงค์ en_US
dc.contributor.advisor สมชาย จันทร์ผ่องแสง en_US
dc.contributor.author ภานุมาศ คงปันนา en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2016-12-02T02:05:36Z
dc.date.available 2016-12-02T02:05:36Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50870
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมมันสำปะหลังเส้น ต่อประสิทธิภาพการใช้อาหาร การหมักในกระเพาะรูเมน เมทาโบไลท์ของเลือด ผลผลิตและองค์ประกอบน้ำนม และการผลิตก๊าซด้วยวิธี in vitro gas production technique (IVGPT) แพะนมพันธุ์ผสม (ซาเนน x พื้นเมือง) จำนวน 12 ตัว น้ำหนักเฉลี่ย 29 กิโลกรัม ช่วงให้น้ำนมมาแล้ว 35 วัน วางแผนงานวิจัยแบบเปลี่ยนสลับ (crossover design) เวลางานวิจัยช่วงละ 21 วัน โดย 14 วันแรกจะเป็นการปรับตัว และ 7 วันถัดมาจะเข้าสู่ช่วงเก็บข้อมูล อาหารทดสอบ 2 กลุ่ม ได้แก่อาหารทดสอบ 1 ได้รับหญ้าแพงโกลาเท่านั้น (สัดส่วน in vitro ของ Pangola:Cassava = 100:0) และอาหารทดสอบ 2 ได้รับหญ้าแพงโกลาและเสริมด้วยมันสำปะหลังเส้นที่ระดับ 0.5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว (สัดส่วน in vitro ของ Pangola:Cassava = 79:21) สัตว์ทุกตัวจะได้รับหญ้าแพงโกลาแบบไม่จำกัด (ad libitum) บันทึกน้ำหนักตัว ปริมาณการกินได้ น้ำนม มูลและปัสสาวะ เพื่อหาค่าประสิทธิภาพการใช้อาหาร และวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของตัวอย่างอาหาร น้ำนม มูลและปัสสาวะ เก็บเลือดเพื่อวิเคราะห์หาค่าเมทาโบไลท์ของเลือด และ NEFA เก็บของเหลวในกระเพาะรูเมนเพื่อวิเคราะห์กรดไขมันระเหยง่าย วัดปริมาณก๊าซด้วยวิธี IVGPT และวิเคราะห์องค์ประกอบก๊าซมีเทนด้วยเครื่อง gas chromatography จากการศึกษาไม่พบค่าความแตกต่างทางสถิติระหว่างกลุ่ม T1 และ T2 ในด้านเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักตัว ปริมาณการกินได้ สมดุลไนโตรเจน การย่อยได้ การหมักในกระเพาะรูเมน ระดับโปรตีนรวม ไตรกลีเซอร์ไรด์ BUN และ NEFA ในเลือด ผลผลิตน้ำนม และองค์ประกอบของ โปรตีน ไขมัน ของแข็งทั้งหมด ของแข็งที่ไม่รวมไขมันในน้ำนม และ 4%FCM แต่อาหารทดสอบ 2 ส่งผลทำให้ระดับกลูโคสในเลือด และองค์ประกอบแลคโตสในน้ำนมสูงกว่าอาหารทดสอบ 1 (p<0.05) นอกจากนี้พบว่าอาหารทดสอบ 2 มีปริมาณก๊าซรวมที่เวลา 24 และ 48 ชั่วโมง ค่า ME NEL และมีองค์ประกอบก๊าซมีเทน ที่สูงกว่าอาหารทดสอบ 1 (p<0.05) จากผลการทดลองสรุปได้ว่าการเสริมมันสำปะหลังเส้นที่ระดับ 0.5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว สามารถใช้เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต และแหล่งพลังงานสำหรับแพะนมที่ได้รับหญ้าแพงโกลาเป็นอาหารหยาบ โดยไม่ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการใช้อาหาร และค่าการหมักในกระเพาะรูเมน แต่ไม่เหมาะสำหรับการนำมาใช้เลี้ยงแพะนม ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลผลิตควบคู่ไปกับการลดการผลิตก๊าซมีเทน en_US
dc.description.abstractalternative The objective of this study was to determine cassava chip supplementation on feed efficiency, ruminal fermentation, blood metabolites, milk production and composition and in vitro gas production technique (IVGPT). Twelve crossbred dairy goats (Saanen x Native) with initial body weight of 29 kg and 35 d in milk were randomly assigned to a 2x2 crossover design. The experiment was 2 periods with the first 14 d for adaptation and the last 7 d for data collection. Two dietary treatments were composed of pangola hay and cassava chip at the ratios of 100:0 and 79:21 for T1 and T2, respectively. The pangola hay was fed ad libitum while the cassava chip in T2 was given about 0.5 %body weight (BW). Body weight, feed intake, milk yield, feces and urine were collected for analyze feed efficiency. Samples were determined their chemical compositions. Blood sample was analyzed for blood metabolites and non-esterified fatty acid. Ruminal fluid was collected to analyze volatile fatty acid (VFA) composition and gas production by IVGPT. The methane concentrations from IVGPT were determined by gas chromatography. Comparing T1 and T2, there were no significant differences in %BW change, feed intake, N balance, digestibility, VFA composition, blood metabolites (protein, triglycerides, blood urea nitrogen (BUN) and NEFA) milk yield and milk composition (protein, fat, total solids (TS), solid not fat (SNF) and 4%fat corrected milk (FCM)). Goats fed with T2 had higher blood glucose and milk lactose than those fed with T1 (p<0.05). Nevertheless, T2 had higher gas production at 24 and 48 hours, metabolizable energy, net energy lactation and methane composition than T1 (p<0.05). In conclusion, supplementation of cassava chip can be used as a carbohydrate and energy source for dairy goats fed on pangola hay without adverse effects on feed efficiency and ruminal fermentation. However, it was not suitable for raising dairy goats that aimed to enhance production and reduce methane emission at the same time. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.913
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject แพะ
dc.subject น้ำนมแพะ
dc.subject แพะ -- อาหาร
dc.subject แพะ -- ประสิทธิภาพอาหารสัตว์
dc.subject Goats
dc.subject Goat milk
dc.subject Goats -- Food
dc.subject Goats -- Feed utilization efficiency
dc.title ผลของการเสริมมันสำปะหลังเส้นต่อการหมักในกระเพาะรูเมน ผลผลิตก๊าซมีเทนและน้ำนม และการย่อยได้ของสารอาหารของแพะนมลูกผสมในเขตร้อนชื้น en_US
dc.title.alternative Effects of cassava chip supplementation on ruminal fermentation, methane and milk production, and nutrient digestibility of crossbred lactating goat in the tropical region en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline อาหารสัตว์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Chackrit.N@Chula.ac.th,chackrit.n@chula.ac.th en_US
dc.email.advisor Somchai.C@chula.ac.th en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2015.913


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record