DSpace Repository

ผลของพืชสวนบำบัดร่วมกับกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ ที่มีต่อปัญญา และความเป็นเนื้อเดียวกันกับธรรมชาติ ของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ en_US
dc.contributor.advisor ธีรวรรณ ธีระพงษ์ en_US
dc.contributor.author อติชาต ตันติโสภณวนิช en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา en_US
dc.date.accessioned 2016-12-02T02:06:03Z
dc.date.available 2016-12-02T02:06:03Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50897
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพืชสวนบำบัดร่วมกับกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธต่อปัญญาในภาวะความสัมพันธ์เชื่อมโยงและภาวะความเปลี่ยนแปลงและความเป็นเนื้อเดียวกันกับธรรมชาติของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย ด้วยการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 61 คน เป็นเพศชาย 18 คน และเพศหญิง 43 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม คือโปรแกรมพืชสวนบำบัดร่วมกับกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ (กลุ่มทดลองที่ 1) และกลุ่มพืชสวนบำบัด (กลุ่มทดลองที่ 2) และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม กลุ่มละ 5-9 คน ระยะเวลาดำเนินกลุ่ม 24 ชั่วโมง แบ่งเป็นสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง 8 สัปดาห์ติดต่อกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดปัญญา มาตรวัดความเป็นเนื้อเดียวกันกับธรรมชาติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามสองทางแบบผสานวิธี (Two-way Mixed-design MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง คะแนนปัญญาของกลุ่มทดลองที่ 1 สูงกว่าคะแนนของกลุ่มทดลองที่ 2 และคะแนนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01 และ p < .001 ตามลำดับ) 2. หลังการทดลอง คะแนนปัญญาของกลุ่มทดลองที่ 2 ไม่แตกต่างกับคะแนนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. หลังการทดลอง คะแนนความเป็นเนื้อเดียวกันกับธรรมชาติของกลุ่มทดลองที่ 1 สูงกว่าคะแนนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) แต่คะแนนของกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่แตกต่างกับคะแนนของกลุ่มทดลองที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. หลังการทดลอง คะแนนความเป็นเนื้อเดียวกันกับธรรมชาติของนิสิตนักศึกษาในกลุ่มทดลองที่ 2 ไม่แตกต่างกับนิสิตนักศึกษาในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ en_US
dc.description.abstractalternative This study aimed to examine the effect of therapeutic horticulture program with Buddhist Personal Growth and Counseling Group on PAÑÑĀ and connectedness to nature of undergraduates through the quasi-experimental with pretest-posttest control group design. Participants were 61 undergraduates (18 males and 43 females). They were randomly assigned to two experimental groups and one control group (n = 5 - 9 per group). Participants in experimental groups participated in the group 24 hours in total (3 hours per week for 8 consecutive weeks). Instruments were PAÑÑĀ in Interconnectedness and Change Scale and Connectedness to Nature Scale. Two-way mixed-design multivariate analysis of variance was used for data analysis. Findings reveal: 1. The posttest scores on PAÑÑĀ of the therapeutic horticulture program with Buddhist personal growth and counseling group were significantly higher than the scores of the therapeutic horticulture group (p < .01) and the scores of the control group (p < .001) 2. No significant difference was found between the posttest scores on PAÑÑĀ of the therapeutic horticulture group and the control group. 3. The posttest scores on connectedness to nature of the therapeutic horticulture program with Buddhist personal growth and counseling group were significantly higher than the scores of the control group (p < .001). No significant difference was found between the posttest scores on connectedness to nature of the therapeutic horticulture program with Buddhist personal growth and counseling group and the therapeutic horticulture group. 4. No significant difference was found between the posttest scores on PAÑÑĀ of the therapeutic horticulture group and the control group. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.826
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา
dc.subject พุทธศาสนา -- จิตวิทยา
dc.subject พุทธศาสนากับจิตวิทยา
dc.subject ธรรมชาติบำบัด
dc.subject Psychological consultation
dc.subject Buddhism -- Psychology
dc.subject Nature, Healing power of
dc.title ผลของพืชสวนบำบัดร่วมกับกลุ่มจิตวิทยาพัฒนาตนและการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ ที่มีต่อปัญญา และความเป็นเนื้อเดียวกันกับธรรมชาติ ของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัย en_US
dc.title.alternative Effects of therapeutic horticulture with buddhist personal growth and counseling group on panñã̄ and connectedness to nature in undergraduates en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Arunya.T@Chula.ac.th,atuicomepee@gmail.com en_US
dc.email.advisor teeladay@gmail.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2015.826


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record