dc.contributor.advisor |
ธานี ชัยวัฒน์ |
en_US |
dc.contributor.author |
ชนลักษณ์ ชัยศรีลักษณ์ |
en_US |
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
en_US |
dc.date.accessioned |
2016-12-02T02:06:55Z |
|
dc.date.available |
2016-12-02T02:06:55Z |
|
dc.date.issued |
2558 |
en_US |
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50937 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
en_US |
dc.description.abstract |
งานศึกษาชิ้นนี้ต้องการอธิบายผลของสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ที่มีผลต่อการตัดสินใจบริจาคของปัจเจกบุคคล โดยจำแนกการบริจาคออกเป็น 2 ประเภท คือ การอุดหนุนสินค้าสาธารณะ (คล้ายกับการจ่ายภาษี) และการบริจาคให้บุคคลเฉพาะ (คล้ายการให้ทาน) ทั้งนี้เนื่องจากในประเทศไทย คนนิยมบริจาคให้กับบุคคลเฉพาะ เช่น คนจน มากกว่าที่จะยินดีนำเงินไปอุดหนุนสินค้าสาธารณะผ่านการชำระภาษีที่เป็นเครื่องมือทางการคลังที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายผลประโยชน์ของสินค้าสาธารณะสู่สังคมอย่างทั่วถึง งานศึกษาชิ้นนี้ใช้การทดลองทางเศรษฐศาสตร์เพื่อจำลองสถานการณ์ความไม่เท่าเทียมทางรายได้ให้กับนิสิตจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 100 คน โดยนิสิตจะได้รับการสุ่มเพื่อจัดกลุ่มและกำหนดบทบาทในการทดลอง บทบาทแบ่งได้เป็น 2 ฝ่ายคือ ผู้ให้ (Donator) และผู้รับ (Recipient) หากเป็นผู้ให้จะสามารถแบ่งเงินที่ได้รับให้แก่ 2 ทางเลือกคือ อุดหนุนสินค้าสาธารณะหรือบริจาคให้คนที่จนกว่า ส่วนที่เหลือจะเก็บไว้กับตนเอง การทดลองได้ทำการปรับเปลี่ยนปัจจัยต่างๆ ทีละปัจจัย ได้แก่ รายได้ของผู้ให้ รายได้ของผู้รับ และตัวทวีคูณสินค้าสาธารณะเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพของภาครัฐ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อรายได้ผู้ให้เพิ่มขึ้น ผู้ให้จะเพิ่มทั้งการอุดหนุนสินค้าสาธารณะและการบริจาคเงินให้คนจน ขณะที่หากรายได้ของผู้รับที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ให้ลดการจัดสรรทั้งสินค้าสาธารณะและการบริจาค แสดงให้เห็นว่าผู้ให้สนใจรายได้ของตัวเองและผู้อื่นในการตัดสินใจบริจาค ผลที่ได้นี้สอดคล้องกับผลที่ได้จากการทดลองที่เปลี่ยนแปลงช่องว่างรายได้ (Income Gap) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งรายได้ผู้ให้และผู้รับพร้อมกัน ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เมื่อรายได้ของผู้ให้เท่ากับผู้รับแล้ว ผู้ให้ยังคงบริจาคให้แต่ละทางเลือกอยู่ แสดงให้เห็นว่าผู้ให้มีลักษณะการให้เพื่อต้องการช่วยเหลือผู้อื่นมากกว่าให้เพื่อลดความไม่เท่าเทียมทางรายได้ นอกจากนี้ เมื่อช่องว่างทางรายได้เพิ่มขึ้น พบว่าผู้ให้จะเพิ่มการบริจาคให้คนจนในสัดส่วนที่มากกว่าอุดหนุนสินค้าสาธารณะเพิ่ม และเมื่อประสิทธิภาพของภาครัฐต่ำ ผู้ให้จะลดการอุดหนุนสินค้าสาธารณะในสัดส่วนที่มากกว่าการบริจาคให้คนจน สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการจัดสรรเงินของคนไทยที่ยินดีจะบริจาคเงินมากกว่าการนำเงินไปจ่ายภาษี นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า ประสิทธิภาพของภาครัฐในการสร้างความเต็มใจจ่ายภาษีเป็นสิ่งที่สำคัญในการแก้ไขความเหลื่อมล้ำไม่น้อยไปกว่ามาตรการทางการคลังที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This study explains the effect of income inequality on 2 types of sharing which are contributing to public goods (similar to taxation) and donating to specific individual (similar to the poorer one). The motivation comes from stylized fact that Thai people donate a lot to the others but willing to avoid paying tax. Economic experiment is used in this study to simulate different scenarios of income inequality for 100 undergraduate Chulalongkorn students. Participants were randomly matched in group and assigned role of either a donator or a recipient. Donators can share their endowment to public goods, donate to individual or keep it for themselves in response to several inequality scenarios. Each scenario alters only one factor; an income of donor, an income of recipient and public good multiplier. Also this study varies more than one factors to check internal validity. Results show that donators change their level of donation in sensitivity to income gap and change their public good contribution in sensitivity to multiplier, which can refer to government effectiveness. However, they keep their proportion of sharing constant when they have more endowment, so it’s not sensitive to only their income. If donator and recipient have same income level, donator still donates. It points out the altruistic behavior. The results can explain a case of Thailand with high income gap and low government effectiveness, so Thai people donate a lot but avoid paying tax. Therefore, apart from fiscal policy, the credibility and transparency of government are important to resolve inequality problem and improve public goods. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.title |
เศรษฐศาสตร์เชิงทดลองว่าด้วยประเภทของแรงจูงใจต่อการบริจาค |
en_US |
dc.title.alternative |
EXPERIMENTAL ECONOMICS OF INCENTIVE TYPES ON DONATION |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Thanee.C@Chula.ac.th,thanee.C@chula.ac.th |
en_US |