DSpace Repository

ภาพ "มาเลเซีย" ในวรรณกรรมร้อยแก้วไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ใกล้รุ่ง อามระดิษ en_US
dc.contributor.advisor นูรีดา หะยียะโกะ en_US
dc.contributor.author พิชญาดา เมฆหิรัญศิริ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2016-12-02T06:02:48Z
dc.date.available 2016-12-02T06:02:48Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51228
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาภาพ "มาเลเซีย" ที่ปรากฏในวรรณกรรมร้อยแก้วไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน รวมถึงศึกษาบริบททางสังคมวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับการนำเสนอภาพ "มาเลเซีย" ในช่วงเวลาดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกศึกษาวรรณกรรมร้อยแก้วไทยประเภทสารคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับมาเลเซีย ตั้งแต่ พ.ศ.2426 จนถึง พ.ศ.2545 จำนวน 26 เรื่อง การศึกษาพบว่าในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏภาพหลักของมลายู 4 ภาพ คือ ดินแดนมลายูบางส่วนเป็นเมืองประเทศราชของสยาม ดินแดนมลายูส่วนที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษเป็นเมืองที่เจริญก้าวหน้าแบบตะวันตก ดินแดนมลายูเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมสำหรับคนไทยที่ต้องการเดินทางไปเที่ยว "เมืองนอก" และดินแดนมลายูเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่ประกอบไปด้วยประชาชนหลากหลายเชื้อชาติ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงก่อนสหพันธรัฐมาลายาได้รับเอกราชจากอังกฤษนั้นพบว่าภาพหลักของมลายูที่ปรากฏมี 3 ภาพ คือ ดินแดนมลายูเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษจึงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ดินแดนมลายูหลังสงครามได้รับการบูรณะฟื้นฟูจากเมืองแม่ให้เจริญก้าวหน้าอีกครั้งและดินแดนมลายูมีลักษณะสังคมแบบพหุวัฒนธรรมที่มีประชาชนหลากหลายเชื้อชาติ เมื่อสหพันธรัฐมาลายาได้รับเอกราชจากอังกฤษใน ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) จนถึง พ.ศ. 2545 พบว่าภาพหลักของมาเลเซียที่ปรากฏช่วงนี้มี 4 ภาพ คือ มาเลเซียเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้าและมีการพัฒนาในด้านต่างๆมากกว่าประเทศไทย มาเลเซียเป็นประเทศที่มีสังคมแบบพหุวัฒนธรรม ประเทศมาเลเซียเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของคนไทยและเป็นคู่แข่งทางการท่องเที่ยวของไทยและประเทศมาเลเซียมีความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ดีกับประเทศไทย จากการศึกษาภาพ "มาเลเซีย" ที่ปรากฏในช่วงเวลาต่างๆพบว่ามีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมวัฒนธรรมในช่วงเวลาต่างๆไม่ว่าจะเป็นจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของแหลมมลายู บริบททางประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียตั้งแต่อดีตเรื่อยมา รวมถึงนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาลมาเลเซียหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษเป็นต้นมาด้วยเช่นกัน en_US
dc.description.abstractalternative This thesis aims to study the images of "Malaysia" presented in Thai literary prose since the period of King Rama 5th up to the present, including the study of socio - cultural contexts related to the presentation of "Malaysia" during that time (2426 B.E. through 2545 B.E.). There were 26 literary prose about Malaysia chosen in this research. The study found that during the period of King Rama 5th through the Second World War, there were 4 main images of Melayu, (1) some parts of Melayu were formerly occupied by Siam, (2) parts of Melayu that used to be the British colony became under western influences, (3) Melayu was very popular and attractive as "a foreign country" to Thai people who enjoy traveling abroad, (4) Melayu in the term of multicultural society consisted in races. During the Second World War and just about before the Federation of Malaya became independent. The 3 main images appeared that (1) Melayu ruled by England encountered a serious setback effect because of the Second World War, (2) after the war, part of Melayu was improved by England to keep going again, (3) Melayu was also the multicultural society. After the Federation of Malaya got independent in 1957 (2500 B.E.) until 2545 B.E., the 4 main images have been found (1) Malaysia has succeeded and advanced as a developed country, (2) Malaysia is the country of multicural society, (3) in term of tourism Malaysia has not only been one of the most popular travel destination among Thai people, but also the competitor of Thailand as well, (4) the good relationship and cooperation between Thailand and Malaysia has been set by that time. The appearance of these images of "Malaysia" in the different period of time were related to many factors like, socio - cultural, historical and geographical contexts, including the policy of Malaysia and relationship between the two countries. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.948
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject วรรณคดีร้อยแก้ว
dc.subject ไทย -- ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศ -- มาเลเซีย
dc.subject มาเลเซีย -- ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศ -- ไทย
dc.subject Prose literature
dc.subject Thailand -- Cultural relations -- Malaysia
dc.subject Malaysia -- Cultural relations -- Thailand
dc.title ภาพ "มาเลเซีย" ในวรรณกรรมร้อยแก้วไทย en_US
dc.title.alternative Images of Malaysia in Thai literary prose en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ภาษาไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Klairung.A@Chula.ac.th,aklairung@hotmail.com en_US
dc.email.advisor nuhuzda@yahoo.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2015.948


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record