DSpace Repository

ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภูมิทัศน์ชุมชนประมงพื้นบ้านปากแม่น้ำกระบี่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

Show simple item record

dc.contributor.advisor นวณัฐ โอศิริ en_US
dc.contributor.author อัมพิกา อำลอย en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2016-12-02T06:04:50Z
dc.date.available 2016-12-02T06:04:50Z
dc.date.issued 2558 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51331
dc.description วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 en_US
dc.description.abstract พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ และมีชุมชนประมงพื้นบ้านตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เป็นเวลานาน ชาวบ้านมีการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม ผลกระทบจากการพัฒนาของเมือง ในปี พ.ศ.2540 ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเกิดความเสื่อมโทรมและสภาพแวดล้อมเกิดปัญหาทางด้านกายภาพ ซึ่งปัญหาต่างๆเหล่านี้ได้กลายเป็นแรงผลักดันสำคัญให้ชาวบ้านนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ในชุมชนอย่างสอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมจนสามารถฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ในปี พ.ศ.2543 วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภูมิทัศน์ชุมชน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการอยู่อาศัยร่วมกันระหว่างชาวบ้านและธรรมชาติ โดยการศึกษาผ่านลักษณะทางกายภาพและลักษณะทางสังคม ข้อมูลในบทความได้มาจากการสำรวจภาคสนามในพื้นที่ 6 ชุมชน เพื่อให้เห็นภาพรวมของภูมิทัศน์ชุมชนประมงพื้นบ้านที่มีลักษณะการตั้งถิ่นฐานที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า ความยั่งยืนของภูมิทัศน์ชุมชนไม่ใช่การจัดการทางลักษณะทางกายภาพเพียงอย่างเดียว ลักษณะทางสังคมยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนอีกด้วย โดยระบบความเชื่อของชุมชน ประกอบด้วย ความเชื่อที่เกี่ยวข้องศาสนาอิสลามและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับอำนาจเหนือธรรมชาติ เป็นกรอบกำหนดพฤติกรรมของชาวบ้าน ทำให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างคุ้มค่าและคำนึงถึงการรักษาสมดุลของระบบนิเวศเป็นสำคัญ ดังนั้นการดำรงอยู่ของภูมิทัศน์ชุมชนและพื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่จึงมีความสัมพันธ์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน en_US
dc.description.abstractalternative Krabi Estuary has been registered as an internationally important wetland for the conservation and sustainability use. The site also has been occupied by a large community of fishermen, who learn to adapt existing vernacular knowledge into a proper method to conserve and manage natural resources. The province had been dramatically developed in 2003, which had left a great consequence in terms of natural and physical deterioration. This problem motivated local people to bring vernacular intellect into the communities’ landscape, complying with geographical and cultural circumstances. The actions are the complete solution of the natural crisis to the point the wetland was signed as an essential international site in Ramsar treaty in 2006. This thesis’ objectives are to study the community landscape in terms of indigenous intellect, in order to understand how local people live with nature by gathering and analyzing natural and social information, and by a survey on an actual site. The study samples are 6 communities which stand on different settlement to speculate the overview. Final result shows that the communities’ sustainability does not rely solely on physical conditions, but also shaped by a social pattern. Islamic and local beliefs in supernatural powers become a framework for people’s behavior and generate a concern of resource management, and how to maintain ecological stability. Therefore, the existence of Krabi Estuary and landscape has a vast relationship with vernacular knowledge, which has been adjusted for currently practical use. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.541
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject หมู่บ้านประมง -- ไทย -- กระบี่
dc.subject ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย -- กระบี่
dc.subject การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
dc.subject Fishing villages -- Thailand -- Krabi
dc.subject Local wisdom -- Thailand -- Krabi
dc.subject Conservation of natural resources
dc.title ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภูมิทัศน์ชุมชนประมงพื้นบ้านปากแม่น้ำกระบี่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ en_US
dc.title.alternative The local knowledge related to the landscapes of fishing communities in Krabi estuarine , Amphoe Mueang , Changwat Krabi en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ภูมิสถาปัตยกรรม en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Navanath.O@Chula.ac.th,nosoas@yahoo.com,nosoas@yahoo.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2015.541


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record