DSpace Repository

การศึกษาคำบอกเวลาในภาษาไทยถิ่นอีสานในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน

Show simple item record

dc.contributor.advisor มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์
dc.contributor.advisor วิภาส โพธิแพทย์
dc.contributor.author นิโลบล ภู่ระย้า
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2016-12-21T09:19:24Z
dc.date.available 2016-12-21T09:19:24Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51436
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคาบอกเวลาในภาษาไทยถิ่นอีสานในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน ทั้งด้านคาศัพท์และวิธีการบอกเวลา รวมทั้งวัฒนธรรมและโลกทัศน์ที่สะท้อนผ่านวิธีการบอกเวลา ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้ได้จากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาจานวน 40 คน โดยถอดเสียงด้วย สัทอักษร เพื่อแสดงเสียงพูดของผู้บอกภาษา อาทิ ตะวันคล้อย /ta:²wen³khɔ:j⁶// ออกเสียงว่า ตา-เว็น-ค่อย หมายถึง เวลาบ่าย หรือ มื้ออื่น /mƜ⁶Ɯ⁴/ ออกเสียงว่า มื่อ-อื่น หมายถึง พรุ่งนี้ นอกจากนี้ ยังเก็บข้อมูลจากพจนานุกรมภาษาไทยถิ่นอีสาน รวมทั้งเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบคาบอกเวลาในภาษาไทยถิ่นอีสานในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนจานวนมาก และมีวิธีการบอกเวลาที่หลากหลาย โดยแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อใหญ่ ได้แก่ วิธีการบอกจุดของเวลา และวิธีการบอกระยะของเวลา ด้านวิธีการบอกจุดของเวลาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ วิธีการบอกจุดของเวลาภายใน 1 วัน พบการบอกจุดของเวลาด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ วิธีการบอกเวลาโดยการสังเกตธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว อาทิ การสังเกตดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว วิธีการบอกเวลาโดยการสังเกตพฤติกรรมของคน ทั้งการสังเกตกิจวัตรประจาวันของพระสงฆ์และฆราวาส วิธีการบอกเวลาโดยการสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ อาทิ ไก่ นก ควาย และจักจั่น และวิธีการบอกเวลาโดยใช้ระบบตัวเลข และอีกส่วนหนึ่ง คือ วิธีการบอกเวลาวัน เดือน ปีตามแนวคิดต่าง ๆ ได้แก่ แนวคิดอดีต ปัจจุบัน และอนาคต แนวคิดจุดเริ่มต้น และจุดปลาย และแนวคิดระบบปฏิทิน ด้านวิธีการบอกระยะของเวลาพบว่า มีการบอกระยะเวลา 2 วิธี ได้แก่ วิธีการบอกระยะเวลาโดยใช้สานวน และวิธีการบอกระยะเวลาโดยใช้หน่วยสร้าง นอกจากนี้ หากมองระยะเวลาในอีกมิติหนึ่ง อาจแบ่งระยะของเวลาออกได้ตามความสั้น-ยาว เป็นระยะเวลาสั้นและระยะเวลายาวนาน นอกจากนี้ ยังพบว่าคาบอกเวลาในภาษาไทยถิ่นอีสานในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนสามารถสะท้อนวัฒนธรรมของชาวไทยถิ่นอีสานในท้องถิ่นนี้ได้ โดยสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวไทยถิ่นอีสานในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนว่า มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ มีความยึดมั่นในพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังคงมีความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ ถือวันดีวันร้ายต่าง ๆ มาจนถึงปัจจุบัน และด้านมุมมองเรื่องเวลาได้สะท้อนโลกทัศน์ของชาวไทยถิ่นอีสานในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนว่า เวลามีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ คน และสัตว์ เวลามีลาดับแบบอดีต ปัจจุบัน อนาคต เวลาใน 1 วันสามารถแบ่งออกได้เป็นส่วน ๆ และเวลาหมุนเวียนไปตลอดโดยไม่หยุดนิ่ง en_US
dc.description.abstractalternative This study aims at studying expressions of time in the Upper Northeastern Thai dialect in terms of its lexical items, ways to express time, cultures and the native speakers’ world views reflected through the expressions of time. The data were collected from the Northeastern Thai dialect dictionaries, various types of documents, and forty phonetically transcribed personal interviews, such as ตะวันคล้อย /ta:²wen³khɔ:j⁶/ referring to the evening, มื้ออื่น /mƜ:⁶Ɯ:n⁴/ referring to tomorrow. The results of the study indicate that there are various lexical items and ways to express 1) a point in time and 2) duration. A point in time is expressed by using the lexical items which are relate to 1) the observation of nature and the environment, such as the sun, the moon, and stars, 2) the observation of the daily routine of monks and laypeople, 3) the observation of the behaviors of animals, such as chicken, birds, buffalos, and cicadas. Apart from that, numeral systems are also used. The time markers for date, month, and year are related with 1) the concept of the past, the present, and future, 2) the concept of the beginning and the end, and 3) the calendar system. As for the duration, it is expressed by using 1) idioms and 2) linguistic constructions. In another dimension, it can also be categorized into a short duration and a long duration. Moreover, the expressions of time reflect the upper northeastern Thai local cultures involving their close connections to nature, Buddhism, and horoscope. Besides reflecting the local cultures, the expressions of time also reflect the world views of the speakers in this area, including: 1) the relationship between time and nature, humans, and animals, 2) the conception of time as ordering layers of temporal events, which can be partitioned into the past, the present, and the future, 3) the conception of a day as having different parts, and 4) the time is continuous. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1640
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาษาไทยถิ่นอีสาน en_US
dc.subject ภาษาไทย -- ภาษาถิ่น en_US
dc.subject ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- ความเป็นอยู่และประเพณี en_US
dc.subject Thai language -- Dialects en_US
dc.subject Thailand, Northern -- Social life and customs en_US
dc.title การศึกษาคำบอกเวลาในภาษาไทยถิ่นอีสานในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน en_US
dc.title.alternative A study of time markers in the Northeastern Thai dialect spoken in the upper Noetheatern region of Thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ภาษาไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Mingmit.S@chula.ac.th
dc.email.advisor Vipas.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.1640


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record