dc.contributor.advisor |
ผุสดี หลิมสกุล |
|
dc.contributor.author |
สุนันทา เกตุเหล็ก |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2016-12-22T08:47:56Z |
|
dc.date.available |
2016-12-22T08:47:56Z |
|
dc.date.issued |
2556 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51443 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์เรื่อง แบบแผน ลีลาและกระบวนท่ารำลงสรงทรงเครื่องตัวนางละครในเรื่อง อิเหนา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาประวัติความเป็นมา แบบแผน ลีลาและกระบวนท่ารำในการแสดงลงสรงทรงเครื่องของตัวนางละครในเรื่อง อิเหนา วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาจากวรรณกรรม ตำราหนังสือที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ ตลอดจนรับการถ่ายทอดกระบวนท่ารำจากอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏยศิลป์ไทย ผลการวิจัยพบว่า การรำลงสรงทรงเครื่อง เป็นการรำที่แสดงถึงการอาบน้ำแต่งกายของตัวละคร สะท้อนให้เห็นถึงประเพณีและธรรมเนียมการปฏิบัติในพระราชสำนักและประเพณีของสามัญชน ที่มีความเชื่อว่าน้ำเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความเป็นสิริมงคล จึงมีการอาบน้ำแต่งกายก่อนจะกระทำพิธีสำคัญต่างๆ ในการแสดงนาฏยศิลป์ไทยได้มีการนำวรรณกรรมที่มีการสอดแทรกขนบธรรมเนียมประเพณีมาถ่ายทอดผ่านกระบวนท่ารำลงสรงทรงเครื่อง เพื่อให้เห็นถึงสุนทรียศาสตร์ด้านการแสดงที่มีความงดงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรำลงสรงทรงเครื่องของตัวนางละครในเรื่อง อิเหนา จะทำการลงสรงทรงเครื่องก่อนการเดินทาง ก่อนเข้าเฝ้าบุคคลสำคัญ รวมทั้งการเข้าร่วมหรือประกอบพิธีสำคัญต่างๆ แบบแผน ลีลาและกระบวนท่ารำลงสรงทรงเครื่องตัวนางละครในเรื่อง อิเหนา มีแบบแผนของการแสดงที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1. ท่ารำ 2. บทร้องและเพลงที่ใช้ในการแสดง 3. เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับศีรษะ ซึ่งผู้แสดงจะต้องถ่ายทอดท่ารำด้วยลีลาแบบละครในที่มีความละเอียดอ่อน นุ่มนวล สง่างามแฝงไว้ด้วยพลัง มีเสน่ห์ชวนให้ติดตาม โดยใช้กระบวนท่ารำตีบทที่มีความหมายสอดคล้องกับการอาบน้ำแต่งกายของตัวละครตามบทร้องในรูปแบบมาตรฐานนาฏยศิลป์ไทย เพื่อเน้นให้เห็นถึงความประณีตของเครื่องแต่งกายและความวิจิตรงดงามของเครื่องประดับที่ตัวละครสวมใส่ การรำลงสรงเครื่องตัวนางละครในเรื่อง อิเหนา จึงเป็นเหมือนเครื่องสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของการแสดงนาฏยศิลป์ที่มีความเกี่ยวข้องกับประเพณี ความเชื่อและการแต่งกายของสตรีชั้นสูงในราชสำนักในสมัยโบราณ ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืนสืบไป |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The objective of this research is to study the dance patterns, styles and postures depicting the female protagonist’s process of dressing in Inao court drama. The research was conducted by the studies of literatures, textbooks and some other relevant books, personal interviews and observations, and transitions of dancing styles from professors and experts in Thai dancing art. The findings of this study showed that process of dressing is a dance pattern presenting the protagonist’s showering and dressing which reflects the tradition and customs in the court and the tradition of ordinary people. As it is the belief that water symbolizes the purity and fortune, there is the process of showering and dressing before performing important ceremonies. In Thai dancing art, literary works inscribed tradition and custom are represented through dance postures in the process of dressing. This aims to emphasize the aesthetics of graceful and artistic performance, especially the female protagonist’s process of dressing in Inao court drama, which the process will be accomplished before setting off the journey, welcoming the considerable guests, and participating or performing the significant ceremonies. The dance patterns, styles and postures depicting the female protagonist’s process of dressing in Inao court drama are consisted of three major features including 1) the dance postures, 2) the lyrics and melody used in the performance, and 3) the dressing style and head-gear. The performer is necessary to posture in the dance style of the court drama, which is not only graceful, artistic and magnificent but also concealed with attractive power and fascination. The dance postures are performed and conformed to the showering and dressing of the protagonist based on the lyrics in the standard of Thai dancing art in order to emphasize the fineness of the costume and the splendor of the costume jewelry put on the protagonist. The female protagonist’s process of dressing in Inao court drama seemingly presents the value and significance of Thai dancing art related to the tradition, belief, and female dressing in the ancient court and it is worth continuing the conservation and development. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1645 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
นาฏศิลป์ไทย |
en_US |
dc.subject |
การรำ -- ไทย |
en_US |
dc.subject |
ละครใน |
en_US |
dc.subject |
อิเหนา |
en_US |
dc.subject |
Dramatic arts, Thai |
en_US |
dc.subject |
Dance -- Thailand |
en_US |
dc.subject |
Inao |
en_US |
dc.title |
แบบแผน ลีลาและกระบวนท่ารำลงสรงทรงเครื่องตัวนางละครในเรื่อง อิเหนา |
en_US |
dc.title.alternative |
Dance patterns, styles and postures depicting the female protagonist’ s process of dressing in Inao court drama |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
นาฏยศิลป์ไทย |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
bunditlim@hotmail.com |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2013.1645 |
|