DSpace Repository

การกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำสรรพนามบุรุษที่ 1 ในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิภาส โพธิแพทย์
dc.contributor.advisor มิ่งมิตร ศรีประสิทธิ์
dc.contributor.author กนกวรรณ วารีเขตต์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2016-12-27T10:08:00Z
dc.date.available 2016-12-27T10:08:00Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51449
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางไวยากรณ์ของคำสรรพนามบุรุษที่ 1 ที่ปรากฏใช้มากในภาษาไทยกรุงเทพฯ ปัจจุบัน จำนวน 5 คำ ได้แก่ คำว่า เรา ผม หนู ข้า และข้าพเจ้า โดยใช้ข้อมูลจากเอกสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้วในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2325 - 2555) ผลการศึกษาพบว่า คำสรรพนามบุรุษที่ 1 ทั้ง 5 คำ ได้แก่ คำว่า เรา ผม หนู ข้า และข้าพเจ้า มีการเปลี่ยนแปลงหมวดคำ เช่น มีการเพิ่มหมวดคำจากหมวดคำนามเป็นหมวดคำบุรุษ สรรพนาม (คำนาม “ผม” ขยายหน้าที่เป็นคำสรรพนามบุรุษที่ 1 “ผม” ในสมัยรัชกาลที่ 4-5) มีการเพิ่มหมวดคำจากหมวดคำนามเป็นส่วนของคำลงท้าย (คำนาม “ผม” ขยายหน้าที่เป็นส่วนของคำ ลงท้าย “ครับผม” ในสมัยรัชกาลที่ 6-8) และมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางไวยากรณ์ เช่น คำบุรุษสรรพนาม “เรา” มีการขยายหน้าที่จากบุรุษที่ 1 เป็นบุรุษที่ 2 และมีการขยายหน้าที่จากพหูพจน์เป็นเอกพจน์ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นมีลักษณะสอดคล้องกับกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำสรรพนามบุรุษที่ 1 ทั้ง 5 คำ มี 2 ปัจจัยใหญ่ ๆ ได้แก่ (1) ปัจจัยทางวัฒนธรรม ได้แก่ วัฒนธรรมในเรื่องของความอาวุโสหรือชั้นทางสังคม วัฒนธรรมการใช้คำแทนของสังคมไทย และปัจจัยความสุภาพ (2) ปัจจัยทางภาษา ได้แก่ ปัจจัยอุปลักษณ์ ปัจจัยนามนัย ปัจจัยการใกล้ชิดกันของชื่อ ปัจจัยความเป็นพหูพจน์ ปัจจัยการรวมผู้ฟัง ปัจจัยการมีลักษณะทางความหมายร่วมกัน และปัจจัยการใช้ซ้ำจนเป็นแบบแผน ส่วนกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดการกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำสรรพนามบุรุษที่ 1 มีรวมทั้งสิ้น 7 กระบวน จำแนกเป็นกระบวนการทางวากยสัมพันธ์ ได้แก่ กระบวนการแยก กระบวนการสูญคุณสมบัติของหมวดคำเดิม และกระบวนการบังคับการปรากฏ กระบวนการทางอรรถศาสตร์ ได้แก่ กระบวนการจางลงทางความหมาย และกระบวนการคงเค้าความหมายเดิม กระบวนการทางเสียง ได้แก่ กระบวนการกร่อน และการรวมเป็นคำเดียวกัน/การรวมเสียง en_US
dc.description.abstractalternative The research aims at investigating the grammatical change of the first–person pronouns that are frequently used in contemporary Bangkok Thai. These include: /raw/, /phom/, /nu:/, /kha:/ and /kha:phaca:w/. The data used are based on the published documents in the Rattanakosin Period from the reign of King Rama ɪ until present (AD 1782– AD 2012). It is found that those five first–person pronouns originated from different word classes. For example, the noun /phom/ diverged into the first–person pronoun /phom/ during the reigns of King Rama IV to King Rama V. The noun /phom/ diverged into a part of the final particle /khrap phom/ during the reigns of King Rama VI to King Rama VIII. Also, the first–person pronouns changed their grammatical characteristics, For instance, the first–person pronoun /raw/ diverged into the second–person pronoun /raw/ and from plural into singular etc. These historical changes can be explained by the grammaticalization theory. The important factors influencing the grammaticalization of the first–person pronouns can be classified into 2 main types: (1) cultural factors including seniority or social classes, the use of pro–forms in Thai society and politeness factors and (2) linguistic factors including metaphor, metonymy, the contiguity of names, plurality, hearer inclusivity, shared semantic features and routinization. There are 7 main grammaticalization processes involved: divergence, decategorialization, obligatorification, semantic bleaching, persistence, attrition and coalescence. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1647
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาษาไทย -- สรรพนาม en_US
dc.subject ภาษาไทย -- ไวยากรณ์ en_US
dc.subject ภาษาไทย -- การใช้ภาษา en_US
dc.subject Thai language -- Pronoun en_US
dc.subject Thai language -- Grammar en_US
dc.subject Thai language -- Usage en_US
dc.title การกลายเป็นคำไวยากรณ์ของคำสรรพนามบุรุษที่ 1 ในภาษาไทยสมัยรัตนโกสินทร์ en_US
dc.title.alternative Grammaticalization of the first-person pronouns in Thai during the Rattanakosin period en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ภาษาไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Vipas.P@Chula.ac.th
dc.email.advisor Mingmit.S@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.1647


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record