DSpace Repository

การสื่อสารของกลุ่มซาไกที่ย้ายถิ่นฐานมาสู่ชุมชนเมืองในการปรับตัวและการแสดงอัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์
dc.contributor.author เชิญขวัญ ภุชฌงค์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-02-02T02:58:50Z
dc.date.available 2017-02-02T02:58:50Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51623
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและกระบวนการในการแก้ไขปัญหาการสื่อสารของกลุ่มซาไกที่ย้ายถิ่นฐานมาสู่ชุมชนเมือง รวมทั้งศึกษาการสื่อสารในการแสดงอัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ซาไก ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกร่วมกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นครอบครัวซาไกที่ย้ายถิ่นฐานมาอาศัยอยู่ในจังหวัดนครนายก จำนวน 4 คน และศึกษาบุคคลที่เป็นคู่สื่อสารต่างวัฒนธรรมของกลุ่มซาไกกลุ่มนี้จำนวน 13 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญทางการสื่อสารเกิดขึ้นเนื่องจากประสบการณ์และการเรียนรู้ทางภาษา วัฒนธรรมและสังคมแตกต่างไปจากวัฒนธรรมใหม่ที่ครอบครัวซาไกเข้าไปอาศัยอยู่ ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงมีความแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะทางภูมิหลังของแต่ละคน ซึ่งปัญหาที่พบมีดังนี้ 1.การไม่เข้าใจหรือไม่รู้ภาษาที่ใช้สื่อสารกัน 2.การขาดความรู้ในวิธีการสื่อสารตามวัฒนธรรมใหม่ 3. การหลีกเลี่ยงการสื่อสารกับบุคคลต่างวัฒนธรรม 4. การยึดติดกับความเชื่อดั้งเดิมของตนเอง 5. การไม่พยายามปรับตัวให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ในวัฒนธรรมใหม่ 6. ปัญหาการมีอคติและการมองแบบเหมารวม ปัญหาข้างต้นนี้สามารถแก้ไขได้โดยการพยายามร่วมกันของทั้งสองฝ่าย คือ ครอบครัวซาไกและบุคคลคู่สื่อสาร ซึ่งมี 6 วิธี ได้แก่ 1.การทำความเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน 2.การให้ความรู้/ให้การศึกษา 3.การใช้สื่อบุคคล สื่อมวลชน และสื่อเฉพาะกิจ 4. การหลีกเลี่ยงการมองเหมารวมและมีอคติ 5.การเอาใจเขามาใส่ในใจเรา (Empathy) 6. การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลคู่สื่อสาร 2. ครอบครัวซาไกมีการแสดงอัตลักษณ์ทางปัจเจกบุคคลและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา โดยอัตลักษณ์ที่แสดงออกนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการณ์และความสัมพันธ์กับบุคคลคู่สื่อสาร รวมทั้งพบว่าผู้ที่มีอัตลักษณ์ในตนเองน้อยเท่าใดการแสดงความเป็นตัวตนจะมากตามไปด้วย en_US
dc.description.abstractalternative The objectives of this qualitative research are to study the problems and solving processes on communication of Sakais indigenous group migrating to town community, also to study the communication showing Sakai identity. Data is collected by in-depth interviews, and participant observation with 4 persons of Sakai family that migrated to live in Nakornnayok Province, and 13 persons of different culture that Sakais communicate with. The study has found that : 1. Communication problems arise from difference of their basic language, cultural, social experiences and learning to the new ones they moving in to live with. Such problems vary in accord to background of each one, i.e. ; 1.unable to understand the communication language, 2. lack of new cultural knowledge, 3. communication avoidance to persons of different culture , 4. do not change old way of thinking, 5. do not try to adapt new culture they are living in , 6. problems of bias and stereotype thinking. The above problems can be solved by cooperating of both Sakais family and pair communicates persons in 6 ways, i.e. ; 1. learning to understand language and culture of each other, 2. giving knowledge or education, 3. using human media, mass media and specific media, 4. avoiding stereotype thinking and bias, 5. creating empathy, 6. creating relation with pair communicates persons. 2. Sakais family has presented individual identity and cultural identity through both verbal and nonverbal communication. The identities shown vary through situations and relationship of person who communicate with, also found is that the less identity possess, the more presentation express. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.596
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เงาะ (กลุ่มชาติพันธุ์) -- การสื่อสาร en_US
dc.subject การสื่อสารกับวัฒนธรรม en_US
dc.subject การปรับตัว (จิตวิทยา) en_US
dc.subject อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ en_US
dc.subject Communication and culture
dc.subject Adjustment (Psychology)
dc.title การสื่อสารของกลุ่มซาไกที่ย้ายถิ่นฐานมาสู่ชุมชนเมืองในการปรับตัวและการแสดงอัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ en_US
dc.title.alternative Communication for adaptation and identity presentation of Sakais indigenous immigrating to town community en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิเทศศาสตรพัฒนาการ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Ubolwan.P@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.596


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record