DSpace Repository

ผลของสารสกัดจากหญ้าแส้ม้าต่อการส่งสัญญาณของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในเซลล์เม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงชนิดโมโนไซต์และเซลล์สมองเพาะเลี้ยงชนิดเอนโดธีเลียล

Show simple item record

dc.contributor.advisor รัชนา ศานติยานนท์
dc.contributor.author สุภร สุขจำนงค์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-02-06T09:56:58Z
dc.date.available 2017-02-06T09:56:58Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51667
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en_US
dc.description.abstract การอักเสบเรื้อรังเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดโรค chronic degenerative diseases ต่างๆ ปัจจุบันมีการพัฒนาการรักษาโรคที่มีสาเหตุจากการอักเสบเรื้อรัง การรักษาทางเลือกหนึ่งคือการใช้พืชสมุนไพรไทยในการรักษา หญ้าแส้ม้า หรือ flatspike sedge มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Fimbristylis ovata (Burm.f.) Kern พบว่าสามารถใช้รักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบต่างๆ อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์การต้านการอักเสบ การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการสกัดหญ้าแส้ม้าด้วยเอทานอล เมทานอล และน้ำ เพื่อศึกษาผลของสารสกัดต่อเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอดของเซลล์ด้วยวิธี MTT assay และทำการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดกับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ถูกกระตุ้นด้วย LPS เพื่อวัดการหลั่งและการแสดงออกของยีนไซโตไคน์ ยีน RAGE รวมทั้งทำการทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดกับเซลล์สมองเพาะเลี้ยงชนิดเอนโดธีเลียล เพื่อวัดการหลั่งและการแสดงออกของยีน cell adhesion molecule ด้วยวิธี ELISA และ RT-PCR จากผลการวิจัยพบว่าเมื่อทดสอบสารสกัดหญ้าแส้ม้า ความเข้มข้นถึง 100 µg/ml กับเซลล์เม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงชนิดโมโนไซต์และเซลล์สมองเพาะเลี้ยงชนิดเอนโดธีเลียล ผลของเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอดของเซลล์มีค่ามากกว่า 80% และพบว่าสารสกัดจากหญ้าแส้ม้าสามารถลดการหลั่งและการแสดงออกของยีนไซโตไคน์ IL-6 และยีน RAGE ในเซลล์เม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงชนิดโมโนไซต์ได้อีกด้วย อีกทั้งเมื่อทดสอบกับเซลล์สมองเพาะเลี้ยงชนิดเอนโดธีเลียล พบว่าสารสกัดจากหญ้าแส้ม้าสามารถลดการหลั่งและการแสดงออกของยีน VCAM-1 ได้ด้วย ดังนั้นหญ้าแส้ม้าอาจจะเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรังได้ en_US
dc.description.abstractalternative Chronic inflammation is a prolonged inflammation process that is a major cause of many chronic degenerative disease. Fimbristylis ovata (Burm.f.) Kern or “Ya-sae-ma” has been long used as a traditional medicine for chronic inflammatory diseases. However, there is no scientific data on its anti-inflammatory property. The aim of this study was to investigate the effects of Fimbristylis ovata extracts on the secretion of pro-inflammatory cytokines, cell adhesion molecule and the activation of RAGE in LPS-stimulated cells. We evaluated the effect of Fimbristylis ovata extracts on cell viability by using MTT assay. Pro-inflammatory cytokines and cell adhesion molecules were investigated by RT-PCR and ELISA methods. Upon incubation with Fimbristylis ovata extract up to 100 µg/ml cell viability was more than 80%. Fimbristylis ovata extracts could inhibit Interleukin-6 level and mRNA expression as well RAGE gene in monocytic cell line. Moreover, the result showed that vascular cell adhesion molecule 1(VCAM-1) secretion and VCAM-1 mRNA expression were decreased when brain endothelial cell were treated with Fimbristylis ovata extract. Therefore, the anti-inflammatory activity of Fimbristylis ovata extract may be due to their inhibitory actions via RAGE signaling pathway. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2098
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject หญ้าแส้ม้า(พืช) en_US
dc.subject การอักเสบ en_US
dc.subject สารต้านการอักเสบ en_US
dc.subject สารสกัดจากพืช en_US
dc.subject Fimbristylis ovata en_US
dc.subject Inflammation en_US
dc.subject Anti-inflammatory agents en_US
dc.subject Plant extracts en_US
dc.title ผลของสารสกัดจากหญ้าแส้ม้าต่อการส่งสัญญาณของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบในเซลล์เม็ดเลือดขาวเพาะเลี้ยงชนิดโมโนไซต์และเซลล์สมองเพาะเลี้ยงชนิดเอนโดธีเลียล en_US
dc.title.alternative Effect of fimbristylis ovata (burm.f) kern extracts on inflammation-associated cell signaling in monocytic cell line and brain endothelial cell line en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Rachana.s@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.2098


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record