DSpace Repository

หลักและแนวคิดในการกำกับดูแลกับอัตราค่าบริการโทรคมนาคม : โทรศัพท์พื้นฐาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศักดา ธนิตกุล
dc.contributor.author ทิพณัฎฐา กังวาฬไกรไพศาล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-02-09T06:02:40Z
dc.date.available 2017-02-09T06:02:40Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51723
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความจำเป็นในการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำกับดูแลอัตราค่าบริการในกิจการโทรคมนาคม โดยเฉพาะในกิจการการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน ตลอดจนพิจารณาถึงแนวความคิดและรูปแบบของการกำลับดูแลอัตราค่าบริการในกิจการโทรคมนาคม เนื่องจากในอดีตการกำกับดูแลอัตราค่าบริการในกิจการดังกล่าวนั้น เป็นไปโดยไม่ปรากฏเกณฑ์ในการกำหนดรวมถึงการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการอย่างชัดเจน อันเป็นผลมาจากลักษณะเฉพาะของกิจการโทรคมนาคมประกอบกับข้อจำกัดทางกฎหมาย ซึ่งเกิดจากแนวความคิดที่ว่าการให้บริการโทรคมนาคมเป็นการให้บริการสาธารณะซึ่งรัฐบาลจะต้องเป็นผู้ประกอบ จึงส่งผลให้สภาพตลาดมีลักษณะของการผูกขาดโดยผู้ประกอบการรายเดียวหรือน้อยราย ผู้ประกอบการจึงมีอิทธิพลต่อการกำหนดอัตราค่าบริการทำให้เกิดสภาพของตลาดล้มเหลว (Market failure) การกำกับดูแลอัตราค่าบริการจึงเป็นเครื่องมือประการสำคัญที่ก่อให้เกิดการสภาพของการแข่งขันด้านราคา และเป็นไปตามกลไกตลาดในที่สุด ประกอบกับแนวโน้มของการเปิดเสรีในการค้าบริการซึ่งเป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ จึงทำให้บทบาทขององค์กรกำกับดูแลเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดปัญหาในเรื่องตัวแทน (Principle agent) และดำเนินการให้ตลาดการค้าบริการโดยเฉพาะกิจการโทรคมนาคมมีการแข่งขันย่างเสรีและเป็นธรรม ผลสรุปของการวิจัยพบว่า จากแนวทางปฏิบัติของนานาประเทศซึ่งเกิดจากการวางหลักเกณฑ์และการตีความ ประกอบกับแนวคิดและทฤษฎีทั้งทางเศรษฐศาสตร์และเทคโนโลยี หลักเกณฑ์ในการกำหนดอัตราค่าบริการที่เหมาะสมที่สุด คือ อัตราค่าบริการที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง (cost – based) ด้วยเหตุดังกล่าว จึงนำมาซึ่งการศึกษาหารูปแบบการกำกับดูแลอัตราค่าบริการที่อยู่บนพื้นฐานของต้นทุนที่แท้จริง โดยรูปแบบการกำกับดูแลที่เป็นที่ได้รับความนิยมหลักๆ ได้แก่ การกำกับดูแลโดยการควบคุมผลตอบแทนการลงทุน (Rate of Return) และการกำกับดูแลโดยการควบคุมเพดานราคา (Price cap) แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสองรูปแบบยังคงมีข้อบกพร่องประการสำคัญคือ ขาดแรงจูงใจต่อผู้ประอบการ จึงเริ่มมีการพัฒนารูปแบบการกำกับดูแลโดยเพิ่มแรงจูงใจดังกล่าว อาจเรียนได้ว่าเป็นแนวการกำกับดูแลแบบ Incentive Regulation จากความเปลี่ยนแปลงทางแนวคิดและสถานการณ์ต่างๆ จึงสมควรที่จะนำไปสู่การพิจารณาและกำหนดรายละเอียดในการตีความหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นเพิ่มส่งผลต่อการนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุด en_US
dc.description.abstractalternative This research’s objective is to study the necessity to impose pricing and tariff regulation on telecommunications service, particularly in fixed-line telephony service and, as well, to contemplate principles of pricing and tariff regulation and its application. From the past, no apparent principle on price and tariff stipulation or variation in telecommunications service has ever been manifested. Due to its sui generic characteristic and legal constraint, telecommunications service has always been regarded as public utility service which must be operated, solely, by state government. Thai telecommunications market, as a result, has always been monopolized or, at least, oligopolized naturally by state operator who has indefinitely power over price. This concept has proved to lead telecommunications market to market failure. Therefore, accordingly with international trend in compliance with the WTO obligations relating to telecommunications market liberalization, pricing and tariff regulation now become essential tool in fostering free and fair market competition and drive current price down to sufficient competitive level. After observing international best practice combined with economic principle and theory, a conclusion may be drawn from this study is that the most suitable pricing and tariff regulation should be based on cost or so called “cost based” pricing and tariff. From this starting point, the study suggested that cost based pricing and tariff regulation may be applied in variety of methods. The most prominent would include Rate of Return and Price Cap. Both of these methods mentioned are still, however, inheriting some major deficiencies; especially, inter alia, its inefficiency to induce cost reduction for telecommunications service operator. Hence, there is an attempt to renovate those former regulatory tools to eliminate or at least minimize deficiencies. This newly emerging concept known as Incentive Regulation should be considered closely and would guide to new approach of pricing and tariff regulation in telecommunications service which observed to be more appropriated and more efficient. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.193
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject โทรคมนาคม -- ไทย en_US
dc.subject การกำหนดราคา en_US
dc.subject นโยบายโทรคมนาคม -- ไทย en_US
dc.subject การกำกับดูแลกิจการ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย en_US
dc.subject การแข่งขันทางการค้า -- ไทย en_US
dc.subject Telecommunication -- Thailand en_US
dc.subject Price regulation en_US
dc.subject Telecommunication policy -- Thailand en_US
dc.subject Corporate governance -- Law and legislation -- Thailand en_US
dc.subject Competition -- Thailand en_US
dc.title หลักและแนวคิดในการกำกับดูแลกับอัตราค่าบริการโทรคมนาคม : โทรศัพท์พื้นฐาน en_US
dc.title.alternative Regulatory principle and concept on fixed-line telephony tariff and pricing en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Sakda.T@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.193


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record