dc.contributor.advisor |
สามารถ เจียสกุล |
|
dc.contributor.advisor |
สมชาย รัตนโกมุท |
|
dc.contributor.author |
นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.coverage.spatial |
พระนครศรีอยุธยา |
|
dc.date.accessioned |
2017-02-10T09:20:25Z |
|
dc.date.available |
2017-02-10T09:20:25Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51751 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจภายในเกาะเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจากนโยบายการท่องเที่ยวของรัฐโดยที่นโยบายเหล่านั้นเกิดขึ้นมาจากทุนวัฒนธรรมเดิมที่มีอยู่ภายในจังหวัดเอง โดยผลการศึกษาได้ตอบว่า ประการแรก กระบวนการปฏิบัติและดำเนินนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาประกอบไปด้วยผู้แสดงดังต่อไปนี้คือ หน่วยงานราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมศิลปากร และสุดท้ายคือ หน่วยงานภาคเอกชน องค์กร หรือมูลนิธิการกุศลต่างๆ ประการที่สอง นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย หนึ่งนโยบายภาครัฐ สองได้แก่ กลยุทธ์ส่งการตลาดของการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสามได้แก่ กิจกรรมพิเศษอื่นๆ ที่น่าสนใจในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประการที่สาม กระบวนการออกนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ หรือกระบวนการดำเนินมาตรการที่ภาครัฐร่วมมือกันกับองค์กรเอกชน ล้วนเอื้อประโยชน์ต่อการเติบโตของการท่องเที่ยวภายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาทั้งสิ้น มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกๆปี และรายได้จากการท่องเที่ยวก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อยุธยาเป็นสถานทีท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติอย่างจริงจัง ประการที่สี่ จากการศึกษาพบว่า "ทุนวัฒนธรรม" คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเจริญเติบโต ประการที่ห้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีทุน คือ วัฒนธรรม แรงงาน คือบุคลากรทุกคนที่ช่วยกันสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และสุดท้ายคือ ที่ดิน คือที่ดินบริเวณเนื้อที่ในอุทยานประวัติพระนครศรีอยุธยา เหล่านั้นคือจัดว่าเป็นองค์ประกอบของปัจจัยการผลิต และประการที่หก สามารถวิเคราะห์ได้ว่าทุนวัฒนธรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นถูกจัดอยู่ใน 2 ประเภท คือทุนวัฒนธรรมประเภทฝังราก (Embodied Cultural Capital) กับ ทุนวัฒนธรรมในรูปสิ่งของ (Objectified Cultural Capital) จากผลการศึกษาทั้งหมดสามารถกล่าวได้ว่าหาก ขาดซึ่ง "ทุนวัฒนธรรม" แล้วผู้วิจัยเห็นว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจะไม่เกิดขึ้นและเจริญเติบโตเทียบเท่าทุกวันนี้ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This thesis analyzes economic effects of the tourism policies upon on Amphur Muang, Ayutthaya Province, which have built upon the original cultural capital within such province. The study finds that, firstly, process of policy implementation and management in Ayutthaya consists of bureaucratic entities in the province, local administrative organization, Tourism Authority of Thailand, the Fine Arts Department under Ministry of Culture and organizations and departments in the private sector, including charity organizations. Secondly, the tourism policy in Ayutthaya can be conceived as structured by: first, public policy; second, marketing strategies for tourism; and, third, extra and interesting activities within Ayutthaya. Thirdly, the process of policy formulation and implementation with public-private cooperation does contribute to the growth of tourism in Ayutthaya, which is illustrated from an annually increasing number of tourists as well as continuously increasing revenues and the established reputation of Ayutthaya as an international tourist spot. Fourthly, the study finds that "cultural capital" is an important factor in promoting the growth of tourism industry in Ayutthaya. Fifthly , Ayutthaya is endowed with factors of production, which are capital, or culture; labor, or all personals that help add value to the tourism industry; and, lastly, land, or the areas encompassing historical parks. Sixthly, it can be analyzed that cultural capital of Ayutthaya can be categorized into two types, which are embodied cultural capital and objectified cultural capital. From the findings, this can study concludes that without cultural capital, the tourism industry in Ayutthaya could not have grown to be what it is today. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.284 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การท่องเที่ยว -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา |
en_US |
dc.subject |
การท่องเที่ยว -- ไทย -- แง่เศรษฐกิจ |
en_US |
dc.subject |
การท่องเที่ยว -- ไทย -- นโยบายของรัฐ |
en_US |
dc.subject |
Travel -- Thailand -- Ayutthaya |
en_US |
dc.subject |
Travel -- Thailand -- Economic aspects |
en_US |
dc.subject |
Travel -- Thailand -- Government policy |
en_US |
dc.title |
นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
en_US |
dc.title.alternative |
Impacts of the Tourism Policy in Ayutthaya on its Economy |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์การเมือง |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Samart.C@chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
No information provided |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2006.284 |
|