dc.contributor.advisor |
ตรีศิลป์ บุญขจร |
|
dc.contributor.author |
พรธาดา สุวัธนวนิช |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2017-02-17T07:33:10Z |
|
dc.date.available |
2017-02-17T07:33:10Z |
|
dc.date.issued |
2550 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51949 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผู้หญิงกับบทบาทความเป็นแม่ในนวนิยายไทยตั้งแต่พ.ศ.2510-2546 ซึ่งเป็นช่วงนวนิยายไทยนำเสนอเนื้อหาที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นแม่ โดยวิเคราะห์ความหลากหลายของแนวคิดเรื่องแม่ที่นำเสนอในนวนิยายไทยที่สัมพันธ์กับเพศสถานะ ชนชั้น และสถานะทางสังคม แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับความเป็นแม่แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือแนวคิดเรื่องความเป็นแม่แนวขนบได้แก่ความหมายและความสำคัญของความเป็นแม่ในสังคมและวัฒนธรรมไทย คติเรื่องแม่ในคัมภีร์พุทธเถรวาทและแม่ในสังคมและวัฒนธรรมไทย ความรักของแม่และสัญชาตญาณความเป็นแม่ กับแนวคิดเรื่องความเป็นแม่จากมุมมองสตรีนิยม ได้แก่ การปฏิเสธความเป็นแม่ ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นแม่กับอำนาจรัฐ และอำนาจความเป็นแม่ ผลการศึกษาความเป็นแม่ในบริบทของสังคมไทย พบว่าสามารถแบ่งช่วงของนวนิยายที่นำเสนอผู้หญิงกับบทบาทความเป็นแม่ได้เป็น 4 ช่วง ช่วงแรกพ.ศ.2510 – 2519 แม่ยุคเสรีนิยม ช่วงที่สองพ.ศ.2520 – 2530 แม่ยุคพัฒนาสตรี ช่วงที่สามพ.ศ.2531 – 2540 แม่ยุคเรียกร้องสถาบันครอบครัว ช่วงที่สี่ พ.ศ.2540 – 2546 แม่ยุคยอมรับความหลากหลายของความเป็นแม่ แต่ละช่วงเวลามีพัฒนาการความคิดเกี่ยวกัยความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นแม่กับชนชั้น เพศสถานะและสถานะทางสังคม บริบททางสังคมที่มีผลกระทบต่อความเป็นแม่คือการพัฒนาทางสังคมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความคิดตามแนวทางสตรีนิยม วาทกรรมวันแม่ และการต่อสู้ทางวัฒนธรรมและการเรียกร้องอัตลักษณ์ กระบวนการผลิตซ้ำ ต่อรอง และสืบทอดความเป็นแม่เห็นได้อย่างชัดเจนถึงการสืบทอดแนวคิดความเป็นแม่แนวขนบหรือแม่ในอุดมคติที่มีการปรับเปลี่ยนตามบริบททางสังคม กับการรับแนวคิดแม่ในแนวสตรีนิยม ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นแม่กับรัฐชาติ ชนชั้น เพศสถานะและสถานะทางสังคม ผลการศึกษาสรุปได้ว่านวนิยายไทยเสนอว่าความเป็นแม่เป็นบทบาทสำคัญที่สังคมกำหนดให้ผู้หญิงมี ผู้เขียนนวนิยายได้แสดงปัญหาและตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นแม่โดยแสดงความขัดแย้งระหว่างอุดมคติของแม่ที่ดี กับผู้หญิงในฐานะปัจเจกบุคคล นวนิยายมีบทบาทสืบทอด ต่อรองและผลิตซ้ำ ความเป็นแม่อันเป็นอุดมการณ์ทางสังคมซึ่งอาจปรับเปลี่ยนได้ตามบริบทของสังคม |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This thesis aims to study women and motherhood in Thai novels between 1967-2004 through an analysis of diverse concepts of motherhood presented in Thai novels in connection with gender, class and social status. The main concepts of motherhood are divided into two groups: the conventional concept which explores the meaning and significance of motherhood in Thai culture and society, i.e. the idea of the mother in Theravada Buddhism and the mother in Thai society and culture, the love of the mother and motherly instincts; and secondly the concept of mother from a feminist perspective that explores the negation of motherhood, motherhood vis-à-vis state authority, and the power of motherhood. The study on the mother in the context of Thai society finds that it is possible to divide the novels featuring the mother and motherhood info four phases-- the first phase (1967- 1976) in which the mother during a time of freedom and liberation, the second phase (1977-1987) in which the mother during a time of woman’s development, the third phase (1988-1997)in which the mother making demands on the family institution, and the fourth phase (1997-2003) which embraces the diversity of motherhood. In each of the phases one finds the development of ideas regarding the mother, social class, gender and social status. The social context which has an impact on motherhood is that of social development and economic growth, feminist ideas, mother’s day discourse as well as cultural struggle and the plea for identity. The process of reproduction, negotiating and the continuation of motherhood is seen clearly in the following areas : the ideal mother as connected to the mother and the nation state, a change of mothers from different social classes and the negation of motherhood. Finally in terms of the mother and gender roles one finds the empowerment of women through motherhood. The study finds that Thai novels present the mother as the highest ideal and question them in such a way as deemed by their society. The writers of the novels present the problems and question the motherhood by presenting the conflict between the concept of a good mother and the woman as an ideal person. The novel is responsible in continuing, negotiating and reproducing motherhood as a social ideology that can be altered according to each social context. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.717 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การเป็นมารดา |
en_US |
dc.subject |
นวนิยายไทย -- ประวัติและวิจารณ์ |
en_US |
dc.subject |
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
en_US |
dc.subject |
Motherhood |
en_US |
dc.subject |
Thai fiction -- History and criticism |
en_US |
dc.title |
ผู้หญิงกับบทบาทความเป็นแม่ในนวนิยายไทย ตั้งแต่พ.ศ.2510-2546 |
en_US |
dc.title.alternative |
Woman and motherhood in Thai novels, 1967-2003 |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
en_US |
dc.degree.discipline |
วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Trisilpa.B@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2007.717 |
|