Abstract:
ทำการตรวจความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate variability, HRV) การบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echocardiography) ภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiogram, ECG) ภาพบันทึกเสียงหัวใจ (phonocardiogram, PCG) และความดันโลหิต (blood pressure) ในสุนัขจำนวน 14 ตัวที่มีภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วก่อนและหลังให้ยาอีนาลาพริล (enalapril) ในขนาด 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเป็นเวลา 14 วัน สุนัขทุกตัวที่ศึกษามีหัวใจล้มเหลวระดับ B1 และ B2 ตามการแบ่งของ Consensus Statements of the American College of Veterinary Internal Medicine (ACVIM) จากผลการทดลองพบการลดลงของความดันตัวล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ผลการศึกษาค่าความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจแบบการวิเคราะห์ตามช่วงเวลา(time domain analysis of HRV) พบว่า SDNN index และ RMSSD มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจแบบการวิเคราะห์คลื่นความถี่ (frequency domain analysis of HRV) พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงช่วงคลื่นความถี่ต่ำ (low frequency, LF) ในขณะที่ช่วงคลื่นความถี่สูง (high frequency, HF) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.01) ค่าผลรวมของคลื่นความถี่ทั้งหมด (total frequency, TF) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) จึงทำให้อัตราส่วนระหว่าง LF และ HF (LF/HF) มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) จากการตัดค่าช่วงคลื่นความถี่ต่ำมากที่สุด (ultra low frequencies, ULF) และช่วงคลื่นความถี่ต่ำมาก (very low frequencies, VLF) มาใช้ในการคำนวณพบว่า LF norm ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) ในขณะที่ HF norm เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) เปอร์เซ็นต์พื้นที่ของเลือดที่ไหลย้อนกลับไปที่หัวใจห้องบนซ้ายเมื่อตรวจด้วย Color Doppler echocardiography (The percentage of mitral regurgitation, %MR) ลดลงจาก 66.3% เป็น 43.4% (P<0.05) ข้อมูลจากการตรวจ echocardiography electrocardiographic phonocardiogram และความดันโลหิตไม่มีการเปลี่ยนแปลงยกเว้นการลดลงเล็กน้อยของขนาดหัวใจห้องล่างซ้ายในช่วงสิ้นสุดการคลายตัว (left ventricular end diastolic diameter, LVEDd) และขนาดของหัวใจห้องล่างซ้ายในช่วงสิ้นสุดการคลายตัวเทียบกับน้ำหนักตัว (left ventricular end diastolic diameter, normalized for body weight, LVEDDN) (P <0.05) อาการโรคหัวใจที่ตรวจโดยเจ้าของดีขึ้น โดยสรุปสุนัขที่มีภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วซึ่งได้รับการรักษาด้วยยา enalapril เป็นเวลา 14 วันมีการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติที่ควบคุมการทำงานของหัวใจเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะระบบประสาทพาราซิมพาเทติค (parasympathetic)