dc.contributor.advisor |
อิศราวัลย์ บุญศิริ |
|
dc.contributor.author |
สุภาพร ดุรงค์วงศ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2017-02-23T07:44:33Z |
|
dc.date.available |
2017-02-23T07:44:33Z |
|
dc.date.issued |
2554 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52034 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
en_US |
dc.description.abstract |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินค่ากำลังแรงยึดแบบผลักของเรซินซีเมนต์ชนิดต่างๆเมื่อยึดเดือยฟันคอมโพสิตเสริมเส้นใยในคลองรากฟัน เพื่อตรวจสอบผลการปรับสภาพผนังคลองรากฟันก่อนยึดเดือยฟันด้วยเซลฟ์แอดฮิซิฟเรซินซีเมนต์และเปรียบเทียบตำแหน่งของรากฟันต่อค่ากำลังแรงยึดแบบผลัก โดยใช้ฟันมนุษย์ซี่กรามน้อยล่างรากเดียวจำนวน 60 ซี่ แบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ซี่โดยวิธีสุ่ม ตัดตัวฟันออกรักษารากฟันและเตรียมพื้นที่สำหรับเดือยฟันไฟบริเคลียร์เบอร์ 3 เตรียมคลองรากฟันตามกลุ่มทดลองดังนี้ กลุ่มที่ 1 ใช้สารยึดติดเอ็กไซท์ดีเอสซีและวาริโอลิงค์ทู กลุ่มที่ 2 ใช้สารยึดติดอีดีไพรเมอร์ทูและพานาเวียเอฟ 2.0 กลุ่มที่ 3 ใช้รีไลเอ็กซ์ยูนิเซม กลุ่มที่ 4-6 ปรับสภาพผนังคลองรากฟันก่อนยึดเดือยฟันด้วยรีไลเอ็กซ์ยูนิเซม ด้วยกรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37 นาน 5 วินาที หรืออีดีทีเอความเข้มข้นร้อยละ 17 นาน 60 วินาที และอีดีทีเอความเข้มข้นร้อยละ 17 นาน 60 วินาที ตามด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 2.5 นาน 15 วินาที ตามลำดับ ตัดฟันทุกซี่เป็น 6 ชิ้น แต่ละชิ้นหนา 1±0.05 มิลลิเมตร เป็นตัวแทนของส่วนต้น กลางและปลายรากฟัน ทดสอบค่ากำลังแรงยึดแบบผลักด้วยเครื่องทดสอบอินสตรอน ความเร็วของหัวกด 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที นำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดทูกีย์ ที่ระดับนัยสำคัญ P<0.05 และวิเคราะห์ลักษณะการแตกที่เกิดขึ้นของทุกชิ้นทดสอบ ผลการทดลองพบว่าปัจจัยเรื่องตำแหน่งของรากฟันส่งผลต่อค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดในกลุ่มที่ 1 เท่านั้น (P<0.05) ค่ากำลังแรงยึดแบบผลักของกลุ่มที่ 1 ในส่วนต้นมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ 2 และ 3 ตลอดคลองรากฟัน ค่ากำลังแรงยึดของกลุ่มที่ 1 ในส่วนกลางรากฟันมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ 2 แต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มที่ 3 ตลอดคลองรากฟัน (P>0.05) โดยค่ากำลังแรงยึดแบบผลักของกลุ่มที่ 1-3 ในส่วนปลายรากฟันมีค่าไม่แตกต่างกัน (P>0.05) นอกจากนั้นพบว่าค่ากำลังแรงยึดแบบผลักในกลุ่มที่ 4 มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ 3 5 และ 6 (P<0.05) ในขณะที่กลุ่มที่ 3 และ 6 มีค่าไม่ต่างกัน (P>0.05) |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The objectives of the study were to evaluate push out bond strength of FRC posts luted with different resin cement systems, to investigate the effect of root canal surface treatments before FRC posts luted with self adhesive resin cement and compare different root regions on push out bond strength. Sixty single-rooted mandibular premolars were randomly divided in six groups (n=10), decoronated, endodontically treated and prepared post spaces for Fibrekleer® no.3. Root canal surfaces were treated as follows, group 1; applied Excite® DSC and Variolink®II. Group 2; applied ED primer II and Panavia™F 2.0. Group 3; applied RelyX™Unicem. Group 4-6; root canal surfaces were treated before before posts were luted with RelyX™Unicem, with 37% H3PO4 for 5 s, 17% EDTA for 60 s, and 17% EDTA for 60 s +2.5% NaOCl for 15 s, respectively. Each root was sectioned to 6 slices, each 1±0.05 mm thickness to represent the coronal, middle and apical regions. Push out tests were performed by an Instron® machine at a crosshead speed of 0.5 mm/min. Data were analyzed by two-way ANOVA and Tukey test at P<0.05. Every specimen were evaluated for modes of failure. The results showed that bond strength was significantly affected by root regions only in group 1(P<0.05). Push out bond strength of group 1 in coronal region was higher than group 2 and 3 for all regions (P<0.05). The bond strength of group 1 in middle region was higher than group 2 but not different from group 3 for all regions (P>0.05). Push out bond strengths of group 1-3 in apical region were not significantly different (P>0.05). Moreover, push out bond strength of group 4 was significantly higher than group 3, 5 ,and 6 (P<0.05). Whereas, there was no significant difference between group 3 and 6 (P>0.05). |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2158 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
การยึดติดทางทันตกรรม |
en_US |
dc.subject |
คลองรากฟัน |
en_US |
dc.subject |
Dental Bonding |
en_US |
dc.subject |
Dental pulp cavity |
en_US |
dc.title |
ผลของการปรับสภาพผนังคลองรากฟันต่อค่ากำลังแรงยึดแบบหลักของเดือยฟันคอมโพสิตเสริมเส้นใยเมื่อใช้เซลฟ์แอดฮิซิฟเรซินซีเมนต์ |
en_US |
dc.title.alternative |
Effect of root canal wall treatments on puch-out bond strength of fiber reinforced composite posts using self-adhesive resin cement |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมประดิษฐ์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Issarawan.B@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2011.2158 |
|