Abstract:
ในการพัฒนาวัคซีน HIV เราจำเป็นต้องมีความรู้ในกลไกการป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ก่อนการศึกษาภูมิคุ้มกันในผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีความสามารถในการควบคุมปริมาณ HIV ได้ตามธรรมชาติซึ่งมีปริมาณ HIV-RNA น้อยกว่า 2000 copies/ml สร้างโอกาสในการวิเคราะห์และค้นหาว่ากลไกอะไรที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเหล่านี้สามารถควบคุมไวรัสได้ ผู้วิจัยรับสมัครผู้ที่ควบคุมไวรัสได้ดี (viraemic controllers, VC) จำนวน 13 คน และผู้ที่ควบคุมไวรัสได้ตามปกติ (typical progressor, TP) 32 คน อาสาสมัครทุกรายได้รับการวิเคราะห์ complete blood count, CD4 และ CD8 ตลอดจนปริมาณ plasma HIV-RNA ผู้วิจัยวิเคราะห์ลำดับกรดอะมิโนของโปรตีน p24 จากอาสาสมัครจำนวน 10 รายเพื่อใช้ในการสร้าง consensus ของไวรัส “สมัยใหม่” และ overlapping peptide (OLP) ที่เป็นตัวแทนของโปรตีน p24 จาก HIV ที่มีการแพร่ระบาดในปัจจุบัน การวิเคราะห์ T-cell response ต่อ OLP หรือ epitope ทำโดยเทคนิค IFNγ ELISpot assay การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการมี protective allele ที่เคยระบุไว้ในการศึกษาอื่น ไม่ได้การันตีว่าคนนั้นจะมีการควบคุมไวรัสที่ดีเสมอไปในคนไทย และที่ชัดเจนได้แก่ HLA-B58 ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นที่ยอมรับว่าเป็น protective allele ในการศึกษานี้ ทุกคนที่มี allele ดังกล่าวไม่มีความสามารถในการควบคุมไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพ และถูกจัดอยู่ในกลุ่ม TP HLA-A11 เป็น HLA allele ที่พบมากที่สุดในอาสาสมัครแต่ไม่มีผลในการควบคุมไวรัสแต่ประการใด ความกว้าง และความแรงของการตอบสนองของ T cell มีความใกล้เคียงกันในกลุ่ม VC และ TP (542 vs. 685 SFU/106 PBMC) และเมื่อเปรียบเทียบในคนที่มี PA ชนิดเดียวกัน พบว่าความแรงของการตอบสนองก็ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน โดยค่ามัธยฐานของการตอบสนองใน VC/TP ที่มี HLA-B27 คือ 889 และ 769 SFU/106 PBMC และค่ามัธยฐานของการตอบสนองใน VC/TP ที่มี HLA-B27 คือ 542 และ 644 SFU/106 PBMC การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการวิเคราะห์กลไกในการควบคุมการติดเชื้อ HIV จำเป็นต้องทำให้กลุ่มประชากรที่มี immunogenetic และสายพันธุ์ไวรัสที่หลากหลาย ข้อมูลจากการศึกษาในคอเคเซียนที่ส่วนใหญ่แล้วติดเชื้อ HIV subtype ควรได้รับการตีความด้วยความระมัดระวัง นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังพบอีกว่าความแรง (magnitude) ของการตอบสนองแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่พอในการควบคุมการเติดเชื้อ HIV ผู้วิจัยจะได้วิเคราะห์คุณภาพของ T cells ในการศึกษาระยะถัดไป