dc.contributor.advisor | พัชนี ตั้งยืนยง | |
dc.contributor.author | วรีสรา จารย์ปัญญา | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2017-02-25T02:08:15Z | |
dc.date.available | 2017-02-25T02:08:15Z | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52064 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิจัยนิทานพื้นบ้านจีน เรื่องเล่าอาฝานถีใน 3 ประเด็นหลักคือ ประเด็นที่หนึ่ง ศึกษาอนุภาคที่ปรากฏใน เรื่องเล่าอาฝานถี ประเด็นที่สอง วิเคราะห์กลวิธีการพลิกความหมายในการนำเสนอ เรื่องเล่าอาฝานถี ในฐานะนิทานมุขตลกแนวเสียดสี ประเด็นที่สาม วิเคราะห์นัยทางสังคมที่สะท้อนให้เห็นในนิทานมุขตลกแนวเสียดสี เรื่องเล่าอาฝานถี ผลการวิจัยพบว่า ประการแรก อนุภาคใน เรื่องเล่าอาฝานถี มีทั้งหมด 7 อนุภาค คือ อนุภาคการตีความอย่างเถรตรง อนุภาคการใช้อุบาย อนุภาคการกระทำเรื่องเหลือเชื่ออนุภาคเกี่ยวกับสิ่งสกปรกและเรื่องเพศ อนุภาคเกี่ยวกับการหลอกลวงความไว้วางใจ อนุภาคเกี่ยวกับการทดสอบความฉลาดหรือความสามารถ อนุภาคเกี่ยวกับบุคคลและสังคม ประการที่สอง กลวิธีการพลิกความหมายในการนำเสนอ เรื่องเล่าอาฝานถีมีทั้งหมด 5 กลวิธี ได้แก่กลวิธีที่หนึ่ง การเล่นคำ พบการเล่นคำหลากหลายรูปแบบ อาทิ การเล่นคำที่ลวงให้เกิดการตีความผิด การเล่นคำที่มีการตอกย้ำความกำกวม การตีความความหมายของคำใหม่ การประชดการเล่นคำอนุนามนัย และการเล่นคำสัญลักษณ์ กลวิธีที่สอง คือ กลวิธีการให้เหตุผล ได้แก่ การให้เหตุผลที่เป็นจริง และการให้เหตุผลผิดที่ กลวิธีที่สาม คือ กลวิธีการนำเสนอให้ทำในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ กลวิธีที่สี่ คือ กลวิธีการใช้กลอุบายโดยการวางแผน และกลวิธีที่ห้า คือ กลวิธีการสอดแทรกคติสอนใจ ประการที่สาม คือ นัยทางสังคมที่สะท้อนให้เห็นใน เรื่องเล่าอาฝานถี นี้คือคู่ตรงข้ามที่นำเสนอในนิทานเรื่องนี้ล้วนเป็นบุคคลที่มีอำนาจในสังคมอาทิ จักรพรรดิ นักบวช และผู้ปกครองหรือผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ทั้งเพื่อผ่อนคลายความกดดันจากปัญหาความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันในสังคมจึงนำเสนอบุคคลเหล่านี้ในฐานะ “ตัวตลก” ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims to study and analyze three main issues in the Chinese Folklore “The Story of Afanti”(阿凡提的故事), including the motifs illustrated in “The Story of Afanti”, the twist meaning techniques used in “The Story of Afanti” as a satirical trickster tales, and the social significance reflected in “The Story of Afanti”. According to the results of this research, firstly, there are 7 motifs found in “The Story of Afanti”, i.e. literal interpretations, tricks, unbelievable performance, uncleanliness and sex, deception into giving false credits, test of cleverness or ability, and persons and society. Secondly, there are five twist meaning techniques that are used to present “The Story of Afanti”. The first technique is a pun, which appears in various patterns such as misinterpretation, ambiguity, new word interpretation, sarcasm, synecdoche, and symbols. The second one is reasoning technique such as giving true and wrong reasons. The third one is the technique to suggest doing something that cannot be done. The fourth one is tricking technique by means of planning. The final one is the technique of inserting moral perceptive. Finally, regarding the social significance reflected through “The Story of Afanti”, a satirical trickster tales, it is found that the opponent pairs in the tale are usually the powerful people in the society such as emperors, priests, rulers or local influential persons. To relieve the pressure from the relationship of unequal power in this society, “The Story of Afanti” illustrates these people as “the fools”, which is impossible in reality. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1720 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | วรรณกรรมจีน -- ประวัติและวิจารณ์ | en_US |
dc.subject | กวีนิพนธ์จีน -- ประวัติและวิจารณ์ | en_US |
dc.subject | Chinese literature -- History and criticism | en_US |
dc.subject | Chinese poetry -- History and criticism | en_US |
dc.title | การศึกษา เรื่องเล่าอาฝานถี ในฐานะนิทานมุขตลกแนวเสียดสี | en_US |
dc.title.alternative | A study of the story of Afanti as satirical trickster tales | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาจีน | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | patchanee.t@chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1720 |