dc.contributor.advisor | ศิราพร ณ ถลาง | en_US |
dc.contributor.advisor | สุกัญญา สุจฉายา | en_US |
dc.contributor.author | วกุล มิตรพระพันธ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-03-03T03:00:47Z | |
dc.date.available | 2017-03-03T03:00:47Z | |
dc.date.issued | 2559 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52140 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวรรณกรรมและพิธีกรรมที่ชาวไทลื้อในหมู่บ้านร่มโพธิ์ทอง ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ใช้บอกอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ในฐานะคนพลัดถิ่นในบริบทข้ามพรมแดน โดยเก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่วิจัยระหว่างปี พ.ศ. 2554-2558 ชาวไทลื้อพลัดถิ่นอพยพมาจากเมืองต่างๆ ในเขตปกครองของเมืองยองในอดีตซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐฉานตะวันออก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ตำบลท่าก๊อเป็นเวลาประมาณ 50 ปีมาแล้วเพราะหนีภัยสงครามอันเกิดจากการปฏิวัติการปกครองและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเมียนมา ผลการวิจัยพบว่า ชาวไทลื้อพลัดถิ่นนำวรรณกรรมมาจากมาตุภูมิ 5 ประเภท ได้แก่ วรรณกรรมพุทธศาสนา ตำราประกอบพิธีกรรม ตำนานและบันทึกเชิงประวัติศาสตร์ ตำรากฎหมาย และ ตำรายา วรรณกรรมที่มีบทบาทในการใช้ บ่งบอกรากเหง้า ถิ่นกำเนิด ความทรงจำร่วมและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ไทลื้อคือ ตำนานและบันทึกเชิงประวัติศาสตร์และตำรากฏหมาย วรรณกรรมที่มีบทบาทต่อการสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมคือตำราประกอบพิธีกรรม ส่วนตำรายาไม่มีบทบาทในวิถีชีวิตของชาวไทลื้อในบริบทพลัดถิ่น นอกจากนี้ เมื่อชาวไทลื้อเข้ามาอาศัยร่วมกับชาวไทยยวนในพื้นที่ก็ได้รับเอาวรรณกรรมพุทธศาสนาของชาวไทยยวนเฉพาะที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของตนมาใช้ด้วย ในบริบทประเทศไทย ชาวไทลื้อพลัดถิ่นยังสืบทอดพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อและวิถีปฏิบัติของตนเท่าที่จะปฏิบัติได้ พิธีกรรมเกือบทั้งหมดได้ใช้ตัวบทจากวรรณกรรณที่ชาวไทลื้อพลัดถิ่นนำมาด้วย ได้แก่ พิธีเลี้ยงเมือง พิธีขึ้นเฮินใหม่ พิธีทานมหาปาง พิธีทานธรรมค้ำชาตา พิธีทานธรรมมหาวิบาก พิธีบูชาข้าวหลีกเคราะห์ พิธีสืบชะตา พิธีทานข้าวเก้ากอง พิธีทานข้าวพระเมืองไชย พิธีทานข้าวพระเมืองแก้ว และพิธีทานผ้าสังฆา พร้อมกันนั้นก็ประกอบพิธีตามรอบปฏิทินตามความเชื่อทางพุทธศาสนาร่วมกับชาวไทยยวน ได้แก่ พิธีปอยสังขาร พิธีทานธรรมเข้าวัสสา พิธีเปตพลี และพิธีทานก๋วยสลาก นอกจากนี้ยังร่วมพิธีปอยวันเกิดครูบาบุญชุ่มพร้อมกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มอื่นทั้งในประเทศไทยและเมียนมา ท่ามกลางความแตกต่างทางชาติพันธุ์ พุทธศาสนาคือพื้นที่สำคัญในการเชื่อมโยงชาวไทลื้อพลัดถิ่นเข้ากับชาวไทยยวนและกลุ่มชาติพันธุ์ไทอื่นๆ ที่อยู่ในขอบเขตของการปฏิสัมพันธ์ วรรณกรรมและพิธีกรรมของชาวไทลื้อพลัดถิ่นจึงถือได้ว่าเป็นกลไกทางวัฒนธรรมในการแสดงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของชาวไทลื้อ ซึ่งในบริบทข้ามพรมแดน ชาวไทลื้อได้แสดงอัตลักษณ์ 4 ประการผ่านวรรณกรรมและพิธีกรรม ได้แก่ ชาวไทลื้อเป็นผู้มีรากเหง้าและมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน ชาวไทลื้อเป็นผู้มีวัฒนธรรมเข้มแข็ง ชาวไทลื้อเป็นผู้เคร่งครัดศรัทธาในพุทธศาสนา และชาวไทลื้อเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาวไทยยวนและส่วนหนึ่งของแผ่นดินไทย | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research aims to study how the Tai Lue diaspora, who migrated from Muang Yong, Myanmar to live in Ban Rom Pho Thong, Tha Ko Sub District, Mae Suay District, Chiangrai Province, use their literature and the ritual in expressing their ethnic identity in the diasporic and transnational context. Field work was conducted during 2012-2014. The Tai Lue diaspora migrated from various parts of Mueng Yong in Eastern Shan State, Myanmar. They came to settle down in Tha Ko sub district about 50 years ago. A great number of Tai Lue people were forced to leave their homeland because of the revolution and the civil wars between Myanmar military government and the ethnic minorities in Myanmar. Research findings reveal that Tai Lue people brought along their folk literature which could be categorized into 5 kinds: Buddhist literature, ritual book, legendary and historical literature, legal book, and medicine book. Legendary and historical literature play an important role in indicating the Tai Lue city origin, their homeland, their collective memory, and their ethnic identity while ritual book plays an important role in transmitting Tai Lue cultural identity. As for the medicine book, it has less function in the new social context. After living together with the northern Thai people, the Tai Lue also adopted northern Thai Buddhist literature. In the diasporic social context, the Tai Lue diaspora still transmit and perform their rituals. Almost ritual practices rely on the literatures that the Tai Lue brought from their homeland, namely, Liang Muang, Khuen Hen Mai, Than Mahapang, Than Tham Kam Jata, Than Tham Mahavibag, Bucha Khao Leeg Khro, Seub Jata, Than Khao Gaow Gong, Than Khao Phra Muang Jai, Than Khoa Phra Muang Kaew, and Than Pha Sangkha. At the same time, together with the Thai Yuan, they participate in Buddhist calendrical rituals, namely, Poy Sangkhan, Than Tham Khao Vassa, Petta Plee, and Than Kuay Salak. Furthermore, the Tai Lue diaspora also take a part in birthday ceremony of Khru Ba Boonchoom arranged in both Thailand and Myanmar, along with others Tai ethnic groups. The literature and ritual of the Tai Lue diaspora is thus used as the cultural mechanism in expressing their ethnic identity. In the transnational context, the Tai Lue try to present 4 identities; first, the identity of the diaspora ethnic group who has long history; second, the identity of the diaspora who has a strong culture; third, the identity of the Tai Lue who are devout Buddhists; and fourth, the identity of the Tai Lue diaspora who are part of the northern Thai community and part of Thailand. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.702 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ลื้อ -- ความเป็นอยู่และประเพณี | |
dc.subject | วรรณกรรมไทยลื้อ | |
dc.subject | Thai lue -- Social life and customs | |
dc.title | วรรณกรรมและพิธีกรรมบอกตัวตนคนพลัดถิ่นของชาวไทลื้อเมืองยอง หมู่บ้านร่มโพธิ์ทอง ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย | en_US |
dc.title.alternative | Literatures and rituals expressing ethnic identities of the diasporic group of Tai Lue from Muang Yong in Ban Rom Pho Thong, Tambon Tha Ko, Amphoe Mae Suay, Changwat Chaing Rai | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Siraporn.N@Chula.ac.th,siraporn.N@chula.ac.th | en_US |
dc.email.advisor | Sukanya.Suj@Chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.702 |