dc.contributor.advisor | ศิราพร ณ ถลาง | |
dc.contributor.author | อนุชา พิมศักดิ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2017-03-03T09:32:33Z | |
dc.date.available | 2017-03-03T09:32:33Z | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52440 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมตำนานพระเจ้าห้าพระองค์สำนวนต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคมไทยและมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาอนุภาค แบบเรื่อง และโครงสร้างของตำนานพระเจ้าห้าพระองค์ รวมถึงวิเคราะห์บทบาทของตำนานพระเจ้าห้าพระองค์ที่มีในสังคมไทย ผู้วิจัยรวบรวมตำนานพระเจ้าห้าพระองค์ได้ 33 สำนวนจากภาคต่างๆในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ตำนานพระเจ้าห้าพระองค์ทั้ง 33 สำนวนสามารถจัดได้เป็น 3 แบบเรื่อง คือ แบบเรื่องกาเผือก กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตรมะ และพระศรีอาริยเมตไตรย ที่มีมารดาคนเดียวกันคือแม่กาเผือก ก่อนที่จะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัป แบบเรื่องพระเจ้าห้าพระองค์ กล่าวถึงรายละเอียดประวัติของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์แยกตามพระนาม และแบบเรื่องกาเผือก-พระเจ้าห้าพระองค์ ที่เป็นการนำแบบเรื่องกาเผือกและแบบเรื่องพระเจ้าห้าพระองค์มากล่าวรวมกัน โดยแบบเรื่องกาเผือกมี 19 สำนวน ส่วนแบบเรื่องพระเจ้าห้าพระองค์ มี 10 สำนวนและมี 4 สำนวนที่เป็นแบบเรื่องกาเผือก-พระเจ้าห้าพระองค์ ในระดับอนุภาค พบว่าในตำนานแต่ละสำนวนมีรายละเอียดในอนุภาคที่แตกต่างกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดแบบมุขปาฐะ การคัดลอก และวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น ส่วนในระดับโครงสร้าง พบว่าตำนานพระเจ้าห้าพระองค์มีการเรียงลำดับพฤติกรรมบนโครงสร้างหลักอันเดียวกันตามแต่ละแบบเรื่องบทบาทของตำนานพระเจ้าห้าพระองค์ในสังคมไทยพบว่ามี 4 ด้านใหญ่ๆ คือ บทบาททางด้านประเพณีพิธีกรรม คือใช้ในการอธิบายที่มาของ ประเพณียี่เป็ง ประเพณีลอยกระทง ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีไต้ประทีป และประเพณีทานตุง,บทบาททางด้านไสยศาสตร์ มีการใช้คาถาพระเจ้าห้าพระองค์เป็นคาถาสำคัญในการปลุกเสกและผูกเป็นคาถาอื่นๆหรือยันต์ต่างๆรวมถึงมีอิทธิพลต่อการสร้างเครื่องรางของขลัง ทั้งพระเครื่อง ตะกรุด, บทบาททางด้านศิลปกรรมซึ่งพบว่าทั้งจิตรกรรมฝาผนัง พระพุทธรูป และสถาปัตยกรรมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันมีคติการสร้างเกี่ยวเนื่องกับตำนานพระเจ้าห้าพระองค์ และบทบาททางด้านการเมืองการปกครองในอดีตมีการอ้างตัวเป็นพระศรีอาริย์ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to collect versions of the myth of the five Buddhas in Thai society, to study motifs, tale types and the structure of the myth of the five Buddhas, and to analyze the role of the myth in Thai society. The researcher collected 33 version from every region in Thailand. The study reveals that all these versions of the myth can be classified into 3 tale types. First, which are of 19 versions, is called the Albino Crow tale type. This tale type explains the brotherly relationship between the five Buddhas : Kakusantho, Konakhamano,Kassapa,Khotama and Sriariyamettrai ; all have the same mother who is the albino crow.Second , which are of 10 versions, is called the five Buddha tale type. This tale type explains the detail of the era of the Buddha. Third, which are of 4 versions, is called the Albino Crow-the five Buddhas tale type.This tale type is the combination of the two previous tale types. Considering the motif, it is found that the motifs in each version are different in detail because of the process of oral transmission, literary transmission and the difference in local culture. However, the structure of the versions in each tale type appears to be the same. Regarding the role of the myth of the five Buddhas in Thai society ,there are 4 main roles.Fist,the myth has the role to explain the rituals : Yeepeng, Loy Kratong, Lai Rua Fai,Tai Prateep and Tantung. Second, certain magic spells and amulets are refered to the names of the five Buddhas. Third,the belief of the five Buddhas is related to certain mural paintings,images of the Buddha and the construction the temple.And fourth,the belief in Sri Ariyamettrai,the Future Buddha, has been used and refered to throughout the Thai political history. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.643 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พระพุทธเจ้า | en_US |
dc.subject | พุทธศาสนา -- ตำนาน | en_US |
dc.subject | พุทธศาสนากับวรรณกรรม | en_US |
dc.subject | พุทธศาสนากับสังคม | en_US |
dc.subject | Gautama Buddha | en_US |
dc.subject | Bhuddism and literature | en_US |
dc.title | ตำนานพระเจ้าห้าพระองค์ : โครงสร้างเนื้อหาและบทบาทในสังคมไทย | en_US |
dc.title.alternative | Myth of the five Buddhas : structure, content and function in Thai society | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | siraporn.n@chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.643 |