dc.contributor.advisor |
กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา |
|
dc.contributor.author |
จิรัชย์ หิรัญรัศ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2017-03-06T08:43:06Z |
|
dc.date.available |
2017-03-06T08:43:06Z |
|
dc.date.issued |
2550 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52483 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
en_US |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกความหมายของคำว่า "เอา" ในภาษาไทยวิเคราะห์คุณลักษณะทางความหมายและทางโครงสร้าง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหมายต่างๆ และอธิบายกระบวนการทางปริชานที่ใช้สำหรับขยายความหมายออกไปสู่ความหมายต่างๆ เหล่านั้น การวิจัยครั้งนี้ใช้แนวคิดอรรถศาสตร์ปริชาน ผู้วิจัยใช้แนวความคิดในเรื่อง คำหลายความหมายอย่างมีหลักการมาใช้เป็นเกณฑ์ในจำแนกความหมายต่างๆ ออกจากกัน และใช้ในแนวคิดในเรื่องของคำหลายความหมายสี่ประเภทมาใช้ในการวิเคราะห์กระบวนการขยายความหมายต่างๆ เหล่านั้น ผลการวิจัยพบว่าคำว่า "เอา" ในภาษาไทยนั้น สามารถแบ่งความหมายออกมาได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ความหมายประจำคำ ความหมายทางไวยากรณ์ และความหมายทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ และมีความหมายรวมทั้งหมด 9 ความหมาย ได้แก่ 1)การย้ายวัตถุเป้าหมายมาไว้กับตัว 2)การตัองการ 3)การมีเพศสัมพันธ์ 4) การกำหนดให้สิ่งหนึ่งทำหน้าที่แทนสิ่งหนึ่ง 5) การีต 6) การตั้งใจเลือก 7) การตกเป็นผู้รับผลของการกระทำ 8) การตัดบท และ 9) การเกริ่นนำเข้าสู่เนื้อหาโดยความหมายที่ 1) ถึง 4) เป็นความหมายประจำคำ ความหมายที่ 5) เป็นความหมายทางไวยากรณ์ และความหมายที่ 6) ถึง 9) เป็นความหมายทางวัจนปฏิบัติศาสตร์ ความหมายต่างๆ ของคำว่า "เอา" มีความสัมพันธ์กันในแบบของการแผ่รังสีในแบบเครือข่าย มีความหมายที่1) เป็นความหมายพื้นฐานและเป็นความหมายศูนย์กลาง โดยความหมายทุกๆ ความหมายจะขยายออกมาจากความหมายพื้นฐาน มีเพียงเฉพาะความหมายที่ 6) เท่านั้นที่ขยายออกมาจากความหมายที่ 2) กระบวนการทางปริชานที่ใช้ในการขยายความหมายออกมาจากความหมายพื้นฐานนั้นมีอยู่ 2 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการนามนัยและกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์โดยกระบวนการนามนัยที่ใช้แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ได้แก่ 1) การนามนัยแบบเน้นผลลัพธ์ 2) การนามนัยโดยใช้บริบท และ 3)การนามนัยแบบเน้นส่วนประกอบย่อย ส่วนการกลายเป็นคำไวยากรณ์นั้นจะทำให้คำว่า "เอา" เปลี่ยนสถานะจากคำกริยากลายไปเป็นคำอนุภาคและดัชนีปริจเฉท |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this study are 1) to subcategorize the meanings of /?au/ 'take' 2) to analyze the characteristics both semantically and syntactically 3) to study the relationship between those meaning and 4) to explain the cognitive processes for meaning extension in this word. This study is based on the cognitive semantic approach. The researcher used the theory of Principled Polysemy as criteria for meaning sub-categorization and used the theory of Four Categories of Polysemy in order to analyzing the process of meaning extensions. The results are that /?au/ 'take' can be divided into 3 types of meaning; 1) lexical meaning 2) grammatical meaning and 3) pragmatic meaning. All of them are further divided into 9 meanings; 1)to possess the target object 2) to want 3) to have a sex relation 4) to consider something to be another thing 5) causative 6) to choose intentionally 7) to be a victim of action 8) to intro into a conversation and 9) to cut off a conversation. The meaning of /?au/ 'take' are related to one another radially to form a network. Meaning 1) is considered to be a central meaning occuring to be center of the network. Every meaning is extended from central meaning except only meaning 6) that is extended from meaning 2). The meaning extension consists of 2 types of cognitive processes which are metonymy and grammaticalization. Metonymy used in this particular network can be divided into 3 sub-types: effect metonymy, contextual metonymy and constituent metonymy. Grammaticalization causes /?au/ 'take' to change its status from verb into particle and discourse marker. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1374 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์ |
en_US |
dc.subject |
Thai language -- Semantics |
en_US |
dc.title |
การศึกษาความหมายของคำว่า 'เอา' ในภาษาไทย |
en_US |
dc.title.alternative |
Semantic study of /?au/ 'TAKE' in Thai |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ภาษาศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Kingkarn.T@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2007.1374 |
|