DSpace Repository

การแยกและเลี้ยง zooxanthellae สายพันธุ์ทนร้อนจากปะการังและหอยสองฝาในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : รายงานผลการดำเนินงาน

Show simple item record

dc.contributor.author ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-05-03T07:22:30Z
dc.date.available 2017-05-03T07:22:30Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52837
dc.description.abstract ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวเกิดขึ้นเมื่อมีการลดต่ำลงของความหนาแน่นเซลล์และ/หรือปริมาณของรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงของซูแซนแทลลี ซึ่งเป็นผู้อาศัยแบบพึ่งพาในเนื้อเยื่อของปะการัง โดยมีสาเหตุจากสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นและความเค็มลดต่ำลง เพื่อให้ทราบบทบาทความสำคัญของปัจจัยดังกล่าวจึงได้ทำการศึกษาความทนทานต่ออุณหภูมิและความเค็มในซูแซนแทลลี ที่แยกจากปะการังดอกกะหล่ำ Pocillopora damicornis โดยทำการแยกเลี้ยงเซลล์ซูแซนแทลลีแบบปลอดเชื้อ ที่ 3 ระดับอุณหภูมิ ได้แก่ 25 (ควบคุม), 27 และ 33 องศาเซลเซียส โดยในแต่ละระดับอุณหภูมิประกอบด้วยชุดการทดลอง 5 ระดับความเค็ม ได้แก่ 10, 15, 25, 28 (ควบคุม) และ 33 พีเอสยู ทำการสุ่มนับเซลล์ทุก 2 วัน เป็นเวลา 14 วัน และคำนวณอัตราการเติบโตจำเพาะ พบว่าอัตราการเติบโตจำเพาะของซูแซนแทลลีมีค่าลดลงที่อุณหภูมิสูงและความเค็มต่ำ โดยที่อุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส อัตราการเติบโตของซูแซนแทลลีลดลงในทุกระดับความเค็ม ในขณะที่อุณหภูมิ 25 และ 27 องศาเซลเซียส ซูแซนแทลลีจะมีอัตราการเติบโตลดลงที่ความเค็มต่ำที่ 10 และ 15 พีเอสยู เท่านั้น จากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า อุณหภูมิสูงและความเค็มต่ำส่งผลต่อการเติบโตของซูแซนแทลลี ซึ่งอาจจะเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง หรือทั้งสองปัจจัยร่วมกัน en_US
dc.description.abstractalternative Coral bleaching occurs when cell density and/or the concentration of photosynthetic pigments of the endosymbionts; zooxanthellae are decreased. It has been proposed that the cause of this may be due to environmental stresses such as elevated temperature and decreased in water salinity. This study analysed characteristics of the endosymbiont; Pocillopora damicomis to clarify the potential importance of temperature and salinity on zooxanthellae. The growth responses of axenic culture were observed at 3 levels of temperatures; 25 (control), 27 and 33. At each temperature level, 5 levels of salinities; 10, 15, 25, 28 ZcontrolX and 33 psu were assigned. Sampling cells were enumerated every 2 days for 14 days from which the specific growth rates were determined. The decreasing specific growth rate of zooxanthellae were observed at high temperatures and low salinity levels. At the highest temperature, 33 C at all levels of salinity, a decrease in growth rate of zooxanthellae was found. While at 25 and 27 C, a decrease in growth of zooxanthellae was observed only at the lowest salinities; 10 and 15 psu. These results suggest that both temperature and salinity may have a singular and combined affect on the growth rate of zooxanthallae. en_US
dc.description.sponsorship ทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินปี 2556 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ซูแซนเทลลี en_US
dc.subject สาหร่ายเซลล์เดียว en_US
dc.subject ปะการัง en_US
dc.subject หอยสองฝา en_US
dc.title การแยกและเลี้ยง zooxanthellae สายพันธุ์ทนร้อนจากปะการังและหอยสองฝาในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : รายงานผลการดำเนินงาน en_US
dc.title.alternative Isolation and culture of thermal tolerance stain of zooxanthellae from corals and marine bivalve en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author Thaitha@sc.chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record