dc.contributor.author |
พิธุลาวัณย์ ศุภอุทุมพร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2017-05-24T02:37:47Z |
|
dc.date.available |
2017-05-24T02:37:47Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52882 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน 2.เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ระหว่างนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน และนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป 3.เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ระหว่างกลุ่มที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูง ปานกลาง และต่ำ 4.เปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน 5.เปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน และนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป 6.เปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ระหว่างกลุ่มที่มีระดับความสามารถทางการเรียนวิทยาศาสตร์สูง ปานกลาง และต่ำ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ 2) แบบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนสูง ปานกลาง ต่ำ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์หลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนสูง ปานกลาง ต่ำ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research were to 1.compare scientific rational thinking abilities of students between before and after learning through the 5E learning cycle model, 2.compare scientific rational thinking abilities of students between the groups that learning through the 5E learning cycle model and the groups that learning through the conventional teaching method, 3.compare scientific rational thinking abilities of students that learning through the 5E learning cycle model with different levels of learning achievement, 4.compare scientific creative thinking abilities of students between before and after learning through the 5E learning cycle model, 5.compare scientific creative thinking abilities of students between the groups that learning through the 5E learning cycle model and the groups that learning through the conventional teaching method, and 6.compare scientific creative thinking abilities of students that learning through the 5E learning cycle model with different levels of learning achievement. The subjects were 70 seventh grade students of Chulalongkorn University Demonstration Secondary School during the second semester of academic year 2014. They were assigned to be an experimental group and a control group. The research instruments were 1) scientific rational thinking abilities test and 2) scientific creative thinking abilities test. The collected data were analyzed by arithmetic means, standard deviation, t-test and One-Way Analysis of Variance.
The research findings were summarized as follows:
1. After the experiment, the students learned through the 5E t-test model had scientific rational thinking abilities mean score higher than before the experiment at .05 level of significance.
2. The students learned through the 5E t-test model had scientific rational thinking abilities mean score higher than those conventional teaching method at .05 level of significance.
3. The students with difference achievement levels had a post-test mean score statistically significance difference at .05 level of scientific rational thinking abilities.
4. After the experiment, the students learned through the 5E t-test model had scientific creative thinking abilities mean score higher than before the experiment at .05 level of significance.
5. The students learned through the 5E t-test model had scientific creative thinking abilities mean score higher than those conventional teaching method at .05 level of significance.
6. The students with difference achievement levels had a post-test mean score statistically significance difference at .05 level of scientific creative thinking abilities. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
เงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะครุศาสตร์ ปี 2552 |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
en_US |
dc.subject |
วิทยาศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน |
en_US |
dc.subject |
กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5 อี |
en_US |
dc.subject |
ความคิดและการคิด |
en_US |
dc.subject |
ความคิดสร้างสรรค์ |
en_US |
dc.title |
ผลของการใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม : รายงานการวิจัย |
en_US |
dc.title.alternative |
Effects of using 5e learning cycle model on scientific rational thinking abilities and scientific creative thinking abilities of lower secondary school students in Chulalongkorn University Demonstration Secondary School |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |
dc.email.author |
ไม่มีข้อมูล |
|