dc.contributor.advisor | ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต | |
dc.contributor.author | บุษดี อรสิริวรรณ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2017-05-29T07:37:26Z | |
dc.date.available | 2017-05-29T07:37:26Z | |
dc.date.issued | 2551 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52912 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์กลวิธีการดัดแปลงวรรณกรรมสามก๊กเป็นการ์ตูนสามก๊กฉบับบรรลือสาส์น และวิเคราะห์กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในการ์ตูนสามก๊กฉบับบรรลือสาส์น ผลการศึกษาสรุปได้ว่าการ์ตูนสามก๊กฉบับบรรลือสาส์นมีที่มาจากสามก๊กฉบับแปลใหม่ของวรรณไว พัธโนทัย มากที่สุด รองลงมาคือ สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) และละครโทรทัศน์ชุด "สามก๊ก" ตามลำดับ ในการดัดแปลงวรรณกรรมสามก๊กและละครโทรทัศน์ชุด "สามก๊ก" ให้เป็นการ์ตูนสามก๊กฉบับบรรลือสาส์น พบว่ามีการดัดแปลงองค์ประกอบต่างๆ 4 ประการ ได้แก่ การดัดแปลงเนื้อหา ตัวละคร บทสนทนา และฉาก การดัดแปลงองค์ประกอบต่างๆ ของวรรณกรรมสามก๊ก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา ตัวละคร บทสนทนา และฉากส่วนใหญ่ดัดแปลงมาจากสามก๊กฉบับแปลใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เห็นได้ชัดเจนว่าผู้เขียนการ์ตูนคงชื่อตัวละคร และบทสนทนาบางส่วนตามสามก๊กฉบับแปลใหม่ แต่ก็มีเนื้อหาบางส่วน และชื่อตัวละครบางชื่อที่ใช้ตามสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) นอกจากนี้ ผู้วิจัยพบว่ามีการเพิ่มเนื้อหา และบทสนทนาที่มาจากละครโทรทัศน์ชุด "สามก๊ก" นอกเหนือจากนี้ยังมีการเพิ่มเนื้อหา ตัวละคร บทสนทนาและฉากที่มาจากจินตนาการของผู้เขียนการ์ตูน และมีส่วนที่ผู้เขียนการ์ตูนดัดแปลงให้มีความร่วมสมัย แม้ว่าการ์ตูนสามก๊กฉบับนี้จะมีที่มาจากเรื่องสามก๊กหลายสำนวน แต่ก็มีความกลมกลืน มิได้ขัดแย้งกันแต่ประการใด ในการดัดแปลงเนื้อหา ตัวละคร บทสนทนา และฉากจากวรรณกรรมสามก๊ก และจากละครโทรทัศน์ชุด "สามก๊ก" ให้เป็นการ์ตูนสามก๊กฉบับบรรลือสาส์น ผู้วิจัยพบว่าผู้แต่งใช้กลวิธีการดัดแปลงที่มีทั้งการตัดออก การเพิ่มเข้า การสลับตำแหน่ง และการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบางส่วน กลวิธีการดัดแปลงทั้ง 4 วิธีดังกล่าวส่งผลให้การ์ตูนสามก๊กฉบับบรรลือสาส์นมีความร่วมสมัย มีเนื้อหากะทัดรัด ดำเนินเรื่องได้เร็ว มีตัวละครเท่าที่จำเป็น ใช้ภาษากระชับ เข้าใจง่ายเหมาะแก่การนำเสนอในรูปแบบคอมิกสตริป และบางครั้งยังสร้างอารมณ์ขันให้แก่ผู้อ่านอีกด้วย ผู้วิจัยพบว่าผู้เขียนการ์ตูนสามก๊กฉบับบรรลือสาส์นมีกลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน 3 วิธี ได้แก่ กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันด้วยเนื้อหา โดยการนำเรื่องของสังคมปัจจุบันแทรกเข้าไปในเรื่องสามก๊ก การเพิ่มตัวละครที่ไม่ได้อยู่ในเรื่องสามก๊ก การเพิ่มฉากสมัยปัจจุบัน การเบี่ยงเบนพฤติกรรมของตัวละคร และการเพิ่มน้ำเสียงของผู้เขียนการ์ตูน นอกจากนี้ยังมีกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันด้วยภาษา ด้วยภาพ ทำให้การ์ตูนสามก๊กฉบับบรรลือสาส์นอุดมไปด้วยอารมณ์ขัน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research are to analyze the adaptation of the Three Kingdoms from is literary versions to the comic book by Bunlue Books and to analyze the ways behind creating a sense of humor in this comic book version. It is found that the comic version is mostly based on the newly-translated Three Kingdom book by Wanwai Phattanothai, followed by the book translated by Chaophraya phraklung (Hon) and then the TV series "Romance of the Three Kingdoms." Four aspects of the book version-content, characters, dialogues and scenes-are adapted. The adaptation is mostly drawn from the newly-translated book as evidenced by the fact that the characters and the dialogues are still the same as those in the book. However, some content and some characters could also be found in the book translated by Chaophraya phraklung (Hon) and in the TV series. In addition, some of these four aspects are added by the cartoonist. Such aspects are created from the cartoonist's imagination and adaptation in order for his book to become more contemporary. Even though this comic version is the product of a mix of many versions from different media, the story is told smoothly. It is also found that the cartoonist deleted, added, switched positions and changed the details of some parts. Those four methods of adaptation result in a concise and contemporary story and the necessary roles of the characters. In addition, the language is easy to understand, which is suitable for a comic. Sometimes, the comic version contains a sense of humor. The cartoonist employs three approaches to create a sense of humor: introducing current social issues into the story, introducing new characters which are not found in the original story, adding modern scenes, changing some characters' behaviors and adding the cartoonist's own style of writing. Moreover, the language and the pictures are also utilized in adding humor. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.56 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สามก๊ก | en_US |
dc.subject | การ์ตูน | en_US |
dc.subject | Three Kingdoms | en_US |
dc.subject | Caricatures and cartoons | en_US |
dc.title | กลวิธีการดัดแปลงวรรณกรรมสามก๊กเป็นการ์ตูนสามก๊กฉบับบรรลือสาส์น | en_US |
dc.title.alternative | Adaptation of the Three Kingdoms from literary versions to the comic strip by Bunlue Books | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Cholada.R@Chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.56 |