DSpace Repository

ระบบความหมายของคำในภาษาไทยของผู้พิการด้านการมองเห็นและผู้พิการด้านการได้ยิน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิโรจน์ อรุณมานะกุล
dc.contributor.advisor สุดาพร ลักษณียนาวิน
dc.contributor.author วิชาติ บูรณะประเสริฐสุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-06-18T13:42:09Z
dc.date.available 2017-06-18T13:42:09Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52994
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบความหมายของคำในภาษาไทยของบุคคล 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเด็กที่พิการด้านการมองเห็น กลุ่มเด็กที่พิการด้านการได้ยิน และกลุ่มเด็กปรกติโดยใช้การทดลอง 3 แบบ การทดลองที่หนึ่ง คือ การทดลองการเชื่อมโยงคำ ในการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่พิการด้านการได้ยินและเด็กปรกติซึ่งมีความสามารถด้านการได้ยินจะถูกกระตุ้นด้วยการเห็นคำ ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่พิการด้านการมองเห็นและเด็กปรกติซึ่งมีความสามารถในการมองเห็นจะถูกกระตุ้นด้วยการได้ยินเสียงคำ ในการทดลองผู้วิจัยกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างระบุคำที่มีความสัมพันธ์ทางความหมายกับคำที่นำไปกระตุ้น (คำนาม 30 คำ, คำกริยา 30 คำ และคำกริยาคุณศัพท์ 30 คำ) โดยกำกับเวลาในการแสดงคำบนจอคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดีเอ็มดีเอ็กซ์ ผลการทดลองพบว่าการเชื่อมโยงทางความหมายระหว่างคำภายในคลังคำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การเชื่อมโยงแบบอรรถศาสตร์คำศัพท์ (lexical semantics) และการเชื่อมโยงแบบอรรถศาสตร์บริบท (contextual semantics) และพบข้อสรุปว่าระบบความหมายของคำในภาษาไทยของผู้พิการด้านการมองเห็นมีแนวโน้มเชื่อมโยงคำด้วยรูปแบบที่เป็นแบบอรรถศาสตร์คำศัพท์เช่นเดียวกับเด็กปรกติ ส่วนระบบความหมายของคำในภาษาไทยของผู้พิการด้านการได้ยินมีแนวโน้มเชื่อมโยงคำด้วยรูปแบบที่เป็นแบบอรรถศาสตร์บริบท การทดลองที่สอง การทดลองด้วยการนิยามคำเพื่อพิสูจน์ว่ากลุ่มตัวอย่างนิยามคำโดยอาศัยความรู้แบบอรรถศาสตร์คำศัพท์ หรือ ความรู้แบบอรรถศาสตร์บริบท โดยใช้เกณฑ์การจำแนกนิยามของ ISO/R 1087 ในการทดลองผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างนิยามคำนาม 30 คำ คำกริยา 30 คำ ผลการทดลองพบว่า เด็กที่พิการด้านการมองเห็นมีแนวโน้มนิยามคำโดยใช้ความรู้แบบอรรถศาสตร์คำศัพท์เช่นเดียวกับเด็กปกติ ในขณะที่เด็กที่พิการด้านการได้ยินมีแนวโน้มนิยามคำโดยใช้ความรู้แบบอรรถศาสตร์บริบท ผลการทดลองนี้สนับสนุนข้อสรุปที่ได้จากการทดลองแรก การทดลองที่สาม คือ การทดลองการสร้างความเปรียบ เพื่อพิสูจน์ว่าผู้พิการสามารถเชื่อมโยงคำบอกคุณลักษณะกับสรรพสิ่งได้หรือไม่ โดยใช้โครงสร้างทางภาษาที่เป็นความเปรียบแบบอุปมา ประกอบด้วยรูปแบบคือ '(กริยาคุณศัพท์) เหมือน .....' (เช่น ขาว เหมือน กระดาษ) ผลจากการทดลองด้วยแบบทดลองการสร้างความเปรียบพบว่าเด็กที่พิการด้านการมองเห็นสร้างความเปรียบโดยใช้คำกริยาคุณศัพท์ที่อ้างถึงสิ่งที่ต้องรับรู้ด้วยตา เช่น สี หรือ การเคลื่อนไหวได้เช่นเดียวกับเด็กปกติ ในขณะที่เด็กที่พิการด้านการได้ยินเชื่อมโยงคำที่ทำให้เห็นถึงการเข้าใจความหมายแตกต่างออกไปโดยใช้วิธีการเปรียบเทียบคำกริยาคุณศัพท์ว่าเหมือนกับคำกริยาคุณศัพท์อื่น (เช่น ขาว เหมือน ดำ) ข้อสรุปจากการทดลองทั้ง 3 การทดลองทำให้เห็นว่าระบบความหมายของคำในภาษาไทยของผู้พิการด้านการมองเห็นใกล้เคียงกับคนปกติมากกว่าผู้พิการด้านการได้ยิน en_US
dc.description.abstractalternative This study explores the mental organization of lexical-semantic system among three groups of Thai children: blind children, deaf children, and normal children. Three experiments were carried out to investigate the differences among the groups. The first experiment involves the use of word association in exploring the semantic systems of deaf children and hearing children activated by visual words and the semantic systems of blind children and sighted children activated by auditory words. In this experiment, the subjects were asked to name any words which are semantically related to the designated words (30 nouns, 30 verbs, and 30 adjectives) within a limited time controlled by DMDX program. The semantic relation of the responses can be classified into two types-lexical semantic relations and contextual semantic relations. The findings indicate that the lexical-semantic system of the visually impaired tends to be lexical semantic related as normal children while that of auditory impaired is contextual semantic related. The second experiment involves the use of definitions to investigate whether the subjects define words by using lexical semantic knowledge or contextual semantic knowledge. To this end, types of definition referred to in ISO/R 1087 are used for the analysis. The subjects were asked to defind 30 nouns and 30 verbs. The result confirms the result of the word association experiment. It is found that most of definitions that the blind, and the hearing and sighted children used are intensional definitions, indicating the use of lexical semantic knowledge, while the deaf children prefer contextual definitions, indicating the use of contextual semantic knowledge. The third experiment involves the use of comparison structure or simile to see whether visually impairment has an impact on association property to things or not. In this experiment, the subjects were asked to associate 30 adjectives to things by using the simile pattern, i.e., 'attributive term as ...' (e.g. white as paper). It is found that that blind children, like the normal children, associate attributive terms to things whose attributes are visually perceived, while deaf children associate attributive terms by making a comparison to other attributive terms (e.g. white as black). In conclusion, the lexical-semantic system of the blind children tends to be lexically oriented while that of deaf children is contextually related. In this regard, the semantic system of the visually-impaired is closer to the sighted children as related to the comparison between the auditory impaired children and the hearing children. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.630
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาษาไทย -- คำศัพท์ en_US
dc.subject ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์ en_US
dc.subject ภาษาไทย -- การใช้ภาษา en_US
dc.subject เด็กพิการ en_US
dc.subject Thai language -- Glossaries, vocabularies, etc. en_US
dc.subject Thai language -- Semantics en_US
dc.subject Thai language--Usage en_US
dc.subject Children with disabilities en_US
dc.title ระบบความหมายของคำในภาษาไทยของผู้พิการด้านการมองเห็นและผู้พิการด้านการได้ยิน en_US
dc.title.alternative Lexical-semantic system in the Thai language used by the visually impaired and auditorily impaired en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline ภาษาศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Wirote.A@Chula.ac.th
dc.email.advisor Sudaporn.L@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.630


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record