DSpace Repository

ลักษณะเด่นในนวนิยายของปิยะพร ศักดิ์เกษม

Show simple item record

dc.contributor.advisor อิงอร สุพันธุ์วณิช
dc.contributor.author ภพ สวัสดี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-06-18T13:55:08Z
dc.date.available 2017-06-18T13:55:08Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52995
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์นวนิยายของปิยะพร ศักดิ์เกษม โดยศึกษาลักษณะเด่นด้านโครงเรื่อง แนวคิด และตัวละคร ผลการวิจัยพบว่า ด้านโครงเรื่อง ปิยะพร ศักดิ์เกษมเสนอโครงเรื่อง 2 ลักษณะ คือ โครงเรื่องที่มุ่งเน้นการเสนอแนวคิด และโครงเรื่องที่เน้นความซับซ้อนของเหตุการณ์ โดยมีลักษณะเด่นคือ ปัญหาในจิตใจและพฤติกรรมที่มีปัญหาของตัวละครซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งในนวนิยายนั้นสืบเนื่องมาจากปัญหาในครอบครัวและการยึดมั่นกับค่านิยมบางประการมากเกินไป ด้านแนวคิด ผู้เขียนเสนอแนวคิดในนวนิยาย 3 แนวคือการขาดความรักความเข้าใจและขาดการเลี้ยงดูที่ถูกต้องในครอบครัวส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาและไม่มีความสุขในชีวิต ค่านิยมบางประการควรยึดมั่นอย่างเหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป และมนุษย์มีความซับซ้อนในตัวเอง มนุษย์ทุกคนมีทั้งส่วนดีและส่วนด้วย มนุษย์จึงควรยอมรับและให้อภัยในความบกพร่องหรือความผิดพลาดของผู้อื่น ด้านตัวละคร ปรากฏลักษณะเด่นคือผู้เขียนสร้างตัวละครด้วยการกำหนดปัญหาในจิตใจจากภูมิหลังที่มีปัญหาของตัวละคร โดยผู้เขียนแสดงให้เห็นว่าภูมิหลังของครอบครัวที่บกพร่องมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของตัวละคร เพราะปัญหาในครอบครัวเป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวละครมีปัญหาในจิตใจจนนำไปสู่ความขัดแย้งบกับผู้อื่นดังปรากฏในนวนิยาย 6 เรื่องคือ ตะวันทอแสง บัลลังก์แสงเดือน ดอกไม้ในป่าหนาว ใต้ร่มไม้เลื้อย ทรายสีเพลิง และทางสายธารนอกจากนี้ปัญหาในครอบครัวยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ตัวละครเกิดความคับแค้นใจจนนำไปสู่การทำร้ายผู้อื่นโดยปรากฏในนวนิยาย 3 เรื่องคือ เรือนศิรา ใต้เงาตะวัน และในบ่วงมนตรา และผู้เขียนยังเสนอให้เห็นว่าความรักความสัมพันธ์และความเข้าใจในครอบครัวสามารถช่วยคลี่คลายปัญหาหรือความคับแค้นใจให้กับตัวละครได้ ดังที่ปรากฏในนวนิยาย 4 เรื่องคือ กิ่งไผ่-ใบรัก บ้านร้อยดอกไม้ ระบำดาว และลับแลลายเมฆ ในนวนิยายทั้ง 13 เรื่องผู้เขียนแสดงให้เห็นว่าวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ต้องใช้ความคิดทางพุทธศาสนา คือการใช้ความรักความเข้าใจ ความเมตตา การให้อภัย และการปล่อยวางจึงจะทำให้ตัวละครสามารถคลี่คลายความคับแค้นใจและพบกับความสุขได้และผู้ที่ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลแห่งกรรมนั้น สะท้อนให้เห็นว่านวนิยายของปิยะพร ศักดิ์เกษมมีคุณค่าทั้งด้านเนื้อหาและแนวคิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับสังคมปัจจุบันได้เป็นอย่างดี en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this thesis is to analyze Piyaporn Sakgasem's novels through a study of the plot, idea and characters. The research findings are as follows, about the plot, the author has presented it in two ways, namely the one emphasizing the presentation of an idea and the other focusing on the complexity of an event. The prominent feature is the character's own psychological and behavioral problems which lead to the novel's conflict caused by the family's problem and too much faith in certain values. About the idea, the author has presented three ideas are the lack of understanding and the lack of proper upbringing in the family, which lead the child to grow up to become a problem adult without happiness in life, the suitable degree on how to grasp certain ideas, not too much or too little and the complexity in human beings themselves with their own strengths and weaknesses and capable of accepting and forgiving others' defects or shortcomings. About the characters, the unique quality is that the author has created a character with a psychological problem based on his background demonstrating that the background of the problem family has an influence on the character's behavior. This is because the family problem has affected the character's mind and led to have a conflict with others, as shown in the 6 novels are Tawan Tor Sang, Banlung Sang Duan, Dok Mai Nai Paa Now, Tai Rom Mai Luay, Sai Sri Pluang and Tang Sai Tan. Moreover, the family problem is the cause of the character's stress that leads to the attack on the others, as appeared in Ruan Sira, Tai Ngao Tawan and Nai Buang Montra. The author also presents that love, relationship and understanding in the family can relieve the character's problem or tension, as shown in the 4 novels are King Pai Bai Rak, Baan Roi Dok Mai, Rabam Dao and Lublae Lai Mek. In the 13 novels, the author has shown that it is necessary to hold on the thoughts in Buddhism in finding the way to solve various problems. They are love, understanding, compassion, forgiveness and detachment. These will relieve tension and lead to happiness eventually. Those who have done bad deeds will experience the results of their karma. Piyaporn Sakgasem's novels reflect the value of both content and idea well adaptable to be used in the contemporary society. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.620
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ปิยะพร ศักดิ์เกษม -- การวิจารณ์และการตีความ en_US
dc.subject ปิยะพร ศักดิ์เกษม -- นวนิยาย en_US
dc.subject นักประพันธ์ -- การวิจารณ์และการตีความ en_US
dc.subject Piyaporn Sakgasem -- Criticism and interpretation en_US
dc.subject Piyaporn Sakgasem -- Fiction en_US
dc.subject Authors -- Criticism and interpretation en_US
dc.title ลักษณะเด่นในนวนิยายของปิยะพร ศักดิ์เกษม en_US
dc.title.alternative Characteristics of Piyaporn Sakgasem's novels en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ภาษาไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.620


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record