dc.contributor.advisor | ใกล้รุ่ง อามระดิษ | |
dc.contributor.advisor | ตรีศิลป์ บุญขจร | |
dc.contributor.author | ศานติ ภักดีคำ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2017-06-20T14:26:42Z | |
dc.date.available | 2017-06-20T14:26:42Z | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53019 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของศาสตราแลบงในฐานะประเภทวรรณกรรม (Genre) วิเคราะห์ศาสตราแลบงในด้านฉันทลักษณ์ รูปแบบ เนื้อหา และขนบวรรณศิลป์ พร้อมทั้งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของศาสตราแลบงกับวัฒนธรรมเขมร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ศาสตราแลบงเป็นวรรณกรรมเขมรประเภทหนึ่งที่มุ่งให้ความบันเทิงควบคู่กับการสั่งสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เริ่มแต่งในพุทธศตวรรษที่ 23 ถึงพุทธศตวรรษที่ 25 ยุคแรกมีการเผยแพร่โดยการสวดเป็นทำนองและนำมาใช้เป็นตำราเรียนในวัด ต่อมาจึงมีการนำมาชำระจัดพิมพ์เผยแพร่ ศาสนาแลบงจัดแบ่งตามที่มาของเรื่องได้ 2 ประเภท คือ ศาสตราแลบงที่มีที่มาจากวรรณกรรมชาดกและศาสตราแลบงที่มีที่มาจากนิทานพื้นบ้านและที่มาอื่น กติกาวรรณกรรมของศาสตราแลบง ได้แก่ ศาสตราแลบงเป็นวรรณกรรมพระพุทธศาสนา ซึ่งมีองค์ประกอบที่ได้รับอิทธิพล จากวรรณกรรมชาดก มีการเน้นแนวคิดสำคัญเรื่องกรรม หลักธรรมเรื่องกฎไตรลักษณ์ และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ โครงเรื่องถูกกำหนดในกรอบแนวคิดสำคัญเรื่องกรรม นำเสนอความขัดแย้ง 3 ระดับ ได้แก่ ความขัดแย้งในระดับครอบครัว ระดับสังคม และระดับศีลธรรม มีการกล่าวถึงสุบิน-นิมิต หรือวิถีชีวิตที่ถูกกำหนดล่วงหน้า ตัวละครมีสามประเภทได้แก่ ตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ และสัตว์ รวมทั้งมีบทคร่ำครวญที่เกิดจากการพลัดพรากของตัวละคร วัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ในศาสตราแลบงประกอบด้วย รูปแบบคำประพันธ์ ได้แก่ บทกากคติ บทพรหมคีติ บทพํโนล บทภุชงค์ลีลา บทบนโทลกาก และบทพากย์ 7-8 ขนบวรรณศิลป์จำแนกเป็นบทชมเมือง บทชมธรรมชาติ ประกอบด้วย บทชมป่า บทชมสัตว์ บทชมโฉม และบทอัศจรรย์ พัฒนาการของศาสตราแลบง แบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ ยุคแรกจากศาสตราเทศน์สู่ศาสตราแลบง ยุคที่สองความบันเทิง ควบคู่คติธรรม ยุคที่สามจากชาดกสู่เรื่องประโลมโลก ยุคที่สี่จากวรรณกรรมสำหรับสวดสู่วรรณกรรมสำหรับอ่าน ซึ่งเป็นยุคสุดท้ายของศาสตราแลบง ศาสตราแลบงสัมพันธ์กับวัฒนธรรมเขมรหลายประเภท ได้แก่ นาฏศิลป์ จิตรกรรม ตำนานท้องถิ่น รวมทั้งสื่อร่วมสมัยประเภทต่างๆ ได้แก่ หนังสือนิทาน การ์ตูน ภาพยนตร์ เพลงสมัยใหม่ และวีซีดีคาราโอเกะ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This dissertation aims to study the history and development of Sastra Lbaeng as a literary genre by analyzing its meters, form, content, literary tradition as well as the relation with Khmer culture. It is found that Sastra Lbaeng is a genre of Khmer literature which provides both entertainment and Buddhist teaching simultaneously. Composed between the seventeenth and the early twentieth centuries, Sastra Lbaeng was firstly disseminated through recitation and being used as a kind of textbooks in Buddhist temples. Later, it was edited and published in book form. Sastra Lbaeng can be classified into two types according to the sources: the one which derives from Jataka literature and the one from folktales and other sources. As a literary genre, Sastra Lbaeng consists of some principal characteristics. Firstly, Sastra Lbaeng is composed in the form of Buddhist literature particularly influenced by Jataka literature. Secondly, its main theme emphasizes the law of Karma, the Law of Trilaksna and other Buddhist concepts. Thirdly, three major conflicts found in the plot are family, social and moral conflicts. Fourthly, dreams, omens and predestination are significant motives in the story, Fifthly, three main types of characters in Sastra Lbaeng include human, non-human and animal. Lastly, the account of lamentation when the main character is separated from the loved one is one of the important elements. Seven meters used in Sastra Lbaeng include the Kakagati, the Bramagiti, the Pamnol, the Bhujangalila, the Bondolkak, the Bakya 7 (seven syllables) and the Bakya 8 (eight syllables). Literary conventions are employed in descriptions of the city, forest, animals, and women's characters as well as in erotic passages. The development of Sastra Lbaeng can be divided into four stages: 1) from sermons to Sastra Lbaeng, 2) the stage of entertainment along with Buddhist teaching, 3) from Jataka stories to romances and 4) from texts for recitation to texts for reading. The relationship between Sastra Lbaeng and Khmer culture can be found in traditional dance, mural paintings, local legends and many kinds of modern medias such as children books, cartoons, films, modern music and VCD karaoke. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.527 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | วรรณกรรมเขมร -- ประวัติและวิจารณ์ | en_US |
dc.subject | วรรณกรรมพุทธศาสนา | en_US |
dc.subject | วรรณคดีเปรียบเทียบ | en_US |
dc.subject | Khmer literature | en_US |
dc.subject | Buddhist literature | en_US |
dc.subject | Literature, Comparative | en_US |
dc.title | ศาสตราแลบง : วัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ พัฒนาการ และความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมเขมร | en_US |
dc.title.alternative | Sastra Lbaeng : literary tradition, development and its relationship with Khmer culture | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Klairung.A@Chula.ac.th | |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.527 |