DSpace Repository

การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไประหว่างการใช้เครื่องอ่านและแปลงสัญญาณภาพเอกซเรย์เป็นดิจิตอลและการใช้ฟิล์ม

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทศพร วิมลเก็จ
dc.contributor.advisor มานัส มงคลสุข
dc.contributor.advisor สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
dc.contributor.author ศุภขจี แสงเรืองอ่อน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2017-06-24T08:35:41Z
dc.date.available 2017-06-24T08:35:41Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53116
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการควบคุมคุณภาพของเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปใน 4 ส่วน (การจัดคอลลิเมเตอร์และลำรังสี, ความคงตัวของกระแสหลอด, การจัดเรียงตัวของกริด และการวัดขนาดของโฟคอลสปอต) ระหว่างการใช้เครื่องอ่านและแปลงสัญญาณภาพเอกซเรย์เป็นดิจิตอล (Computed Radiography; CR) และวิธีฟิล์ม ทำการศึกษาการใช้เครื่อง CR ในการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปโดยเปรียบเทียบกับวิธีฟิล์มซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน โดยใช้ผู้วัด 2 คนที่อิสระต่อกันในการวิเคราะห์ผลของการควบคุมคุณภาพของทั้ง 2 วิธี การประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์กระทำโดยใช้การวิเคราะห์ต้นทุนที่ต่ำสุด ในมุมมองของให้ผู้บริการ โดยข้อมูลทั้งหมด (การควบคุมคุณภาพ, ต้นทุน) รวบรวมจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ.2550 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ผลการศึกษา พบว่า ผลของการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปโดยวิธี CR และวิธีฟิล์มมีความเทียบเคียงกัน ความสอดคล้องของผู้วิเคราะห์ผลทั้ง 2 คน อยู่ในระดับเกือบสมบูรณ์ ต้นทุนต่อการควบคุมคุณภาพ 1 ครั้งในแต่ละส่วนเมื่อใช้วิธีฟิล์มสูงกว่าเมื่อใช้วิธี CR โดยต้นทุนต่อการควบคุมคุณภาพ 1 ครั้งทั้ง 4 ส่วนสำหรับวิธีฟิล์มและวิธี CR เท่ากับ 851.79 บาท และ 308.74 บาท ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ความไว พบว่า เมื่อต้นทุนค่าฟิล์มและต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น การประหยัดต้นทุนสำหรับการควบคุมคุณภาพทั้ง 4 ส่วนในปี 2552 จะเพิ่มขึ้นเป็น 560.45 บาท และในปี 2556 จะเพิ่มขึ้นเป็น 634.66 บาท อัตราส่วนของปริมาณรังสีระหว่างวิธีฟิล์มที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพการจัดตัวของกริดเป็น 2.41 เท่าของวิธี CR โดยการวัดขนาดโฟคอลสปอตขนาดใหญ่ด้วยวิธีฟิล์มมีอัตราส่วนของปริมาณรังสีที่ใช้เมื่อเทียบกับวิธี CR สูงที่สุดเท่ากับ 49.11 เท่า นอกจากนั้นเวลาที่ใช้สำหรับเครื่อง CR ในการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปน้อยกว่าวิธีฟิล์ม (p-value < 0.001) จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าการใช้วิธี CR ในการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปทั้ง 4 ส่วน มีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีฟิล์มเป็นอย่างมาก ดังนั้นในโรงพยาบาลที่ได้มีการนำเครื่อง CR มาใช้ในการบันทึกภาพเอกซเรย์ผู้ป่วย ก็จะสามารถนำเครื่อง CR มาประยุกต์ใช้ในการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปได้ ทำให้การควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปสามารถกระทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปราศจากการใช้สารเคมีในกระบวนการอ่านข้อมูล เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการนำเข้าวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ และประหยัดต้นทุนเป็นอย่างมากอีกด้วย en_US
dc.description.abstractalternative The objective of this study was to evaluate the efficiency of quality control performances in four elements (collimator alignment test, milliampere-sec (mAs) reciprocity test, grid alignment test and determination of focal spot size) of a general x-ray machine for between computed radiography (CR) and film method. CR performance as a quality control method for general x-ray machine was compared to film method. Two raters independently analyzed the result of quality control from the both methods. Economic evaluation was performed by cost-minimization analysis. Applying the provider perspective, all data (result for quality control and cost) were collected from Phramongkutklao hospital during August 2007 to January 2008. This study found that quality control performances of a general x-ray machine by using CR and film methods were equivalent. Inter-observer agreement for analysis of quality control measurements was almost perfect. Unit costs of each quality control by using film method were higher than using CR method. Unit costs of four elements testing for film and CR methods were 851.79 baht and 308.74 baht, respectively. Using sensitivity analysis, when the price of film and labor cost were increased, the cost saving for four elements testing increased from 560.45 baht in the year 2009 to 634.66 baht in year 2013. The ratio of radiation dose between film and CR methods in grid alignment test was 2.41 times. The highest ratio of radiation dose was large focal spot measurement (49.11 times). Additionally, time consuming of all checking elements using CR method is less than film method with p-value < 0.001. From this research, it is very obvious that quality control of general X-ray machine by using CR method is more effective than using film method. Therefore, the hospitals that already used CR can apply their existing CR for implementing quality control with general X-ray machine. This will result in more convenience workflow, faster process and higher cost reduction. This method also friendly to the environment and the quantity of imported medical consumable material will be reduced as well. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1108
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การบันทึกภาพด้วยรังสี en_US
dc.subject รังสีเอกซ์ -- เครื่องมือและอุปกรณ์ en_US
dc.subject Radiography en_US
dc.subject X-rays -- Equipment and supplies en_US
dc.title การประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ทั่วไประหว่างการใช้เครื่องอ่านและแปลงสัญญาณภาพเอกซเรย์เป็นดิจิตอลและการใช้ฟิล์ม en_US
dc.title.alternative Economic evaluation of quality ontrol in general x-ray machine between computed radiography and film en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline เวชศาสตร์ชุมชน en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor thosporn@md.chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor somrat@md.chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.1108


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record