dc.contributor.advisor |
ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ |
|
dc.contributor.author |
นิตยา เหล่าบุญเกื้อ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2017-06-27T08:02:43Z |
|
dc.date.available |
2017-06-27T08:02:43Z |
|
dc.date.issued |
2550 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53153 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
en_US |
dc.description.abstract |
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและพลวัตรมมุมมองต่อความตายในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายของการศึกษา 3 ประการ กล่าวคือ 1) เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความหมาย ความคิด ความรู้สึกเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2) เพื่อศึกษารูปแบบของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่มีผลต่อการรับรู้และพลวัตรของมุมมองต่อความตายของผู้ป่วยระยะสุดท้าย 3) เพื่อประเมินการรับรู้มุมมองต่อความตายที่มีผลต่อการใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้วิจัยใช้หลักการวิจัย เชิงชาติพันธุ์วรรณา (Ethnography) เก็บข้อมูลในผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำนวน 6 ราย ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจำนวน 6 ราย แพทย์ และพยาบาลรวมจำนวน 6 ราย โดยการศึกษาประวัติทางการแพทย์ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก การฟังอย่างคิดวิเคราะห์ และบันทึกเทป นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยการตีความ เปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่า ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย 1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง แพทย์ พยาบาล ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย 2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง แพทย์ และพยาบาล 3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง แพทย์ และผู้ป่วย 4) ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง พยาบาล และผู้ป่วย 5) ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง แพทย์ และญาติผู้ป่วย 6) ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง พยาบาลและญาติผู้ป่วย 7) ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย 8) ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ป่วยและผู้ป่วย ปฏิสัมพันธ์มีผลต่อมุมมองต่อความตายของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งมุมมองเกี่ยวกับความตายของผู้ป่วยแต่ละบุคคลจะถูกสั่งสมมาตามระบบวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ เมื่อเจ็บป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรทางสุขภาพที่เหมาะสมสามารถปรับเปลี่ยนมุมมองของความตายและสามารถเผชิญกับความตายได้ โดยสรุปแล้วการทำความเข้าใจในรูปแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางสุขภาพ สามารถทำให้เข้าความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยระยะสุดท้าย และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ครบถ้วน |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research is to examine the social interactions and dynamics of death perceptions of end-of-life patients by making an understanding through the focus of study towards as the follow : 1) meaning, thinking and feeling in end-of-life patients 2) the social interactions and dynamics of death perceptions of end-of-life patients 3) to assess perceptions of death affecting way of life in end – of – life patients. The researcher used Ethnography method. The participants were 6 patients with terminal cancer 6 family caregivers 6 doctors and nurses. Data were collected by history in-depth interview, deep listening and audio-recorded. Interpretation and content comparison method was applied for data analysis. Social interactions were categorized into 8 themes, including : 1) social interactions of doctors, nurses, patients and family caregivers; 2) social interactions doctors between nurses; 3) social interactions doctors between patients; 4) social interactions nurse between patients; 5) social interactions doctors between family caregivers; 6) social interactions nurse between family caregivers; 7) social interactions patients between family caregivers 8) social interactions patients between patients. These social interactions were change death perceptions of end-of-life patients In conclusion, social interactions between patients and health teams would make understanding perceptions of end-of-life patients. Information gained from this research can be used to develop a standard of practice for end-of-life care and respond to demand in end-of-life patients |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.323 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย -- ทัศนคติ |
en_US |
dc.subject |
ความตาย |
en_US |
dc.subject |
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม |
en_US |
dc.subject |
Terminally ill -- Attitude |
en_US |
dc.subject |
Death |
en_US |
dc.subject |
Social interaction |
en_US |
dc.title |
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและพลวัตรของมุมมองต่อความตายในผู้ป่วยระยะสุดท้าย |
en_US |
dc.title.alternative |
Social interactions and dynamics of death perceptions of end-of-life patients |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
มานุษยวิทยามหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
มานุษยวิทยา |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
pavika.s@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2007.323 |
|