Abstract:
งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับศิลาวิทยาและธรณีเคมีโดยครอบคลุมอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร อำเภอชนแดน และอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ หินภูเขาไฟในพื้นที่ศึกษาอยู่ในแนวหินภูเขาไฟเลย-เพชรบูรณ์-นครนายก โดยสามารถแบ่งหินในพื้นที่ศึกษาออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก่ หินแอนดีไซต์เนื้อดอก หินฮอร์นเบลนแอนดีไซต์ หินบะซอลต์ หินแอนดีไซต์ไดค์เนื้อดอก และหินบะซอลต์ไดค์ จากหินทั้งหมด 5 กลุ่มได้ทำการเลือกมาวิเคราะห์ 4 กลุ่ม ได้แก่ หินฮอร์นเบลนแอนดีไซต์ หินบะซอลต์ หินแอนดีไซต์ไดค์เนื้อดอกและหินบะซอลต์ไดค์ โดยเลือกตัวอย่างที่ผุและการแปรเปลี่ยนน้อยที่สุด นำไปวิเคราะห์ธรณีเคมีโดยใช้วิธี XRF จากผลวิเคราะห์พบว่าหินทั้ง 3 กลุ่มมีค่า SiO2 ดังต่อไปนี้ หินบะซอลต์รวมทั้งหินบะซอลต์ที่เป็นไดค์พบว่ามีค่า SiO2 อยู่ในช่วง 37-43 wt % ซึ่งมีค่าน้อยที่สุด หินบะซอลติกแอนดีไซต์มีค่า SiO2อยู่ในช่วง 46-50 wt % หินแอนดีไซต์ไดค์เนื้อดอก และแอนดีไซต์เนื้อดอก มีค่า SiO2 อยู่ในช่วง 54-56 wt % จากการพล็อตไดอะแกรม Harker โดยใช้ค่าระหว่าง SiO2 และค่าธาตุหลัก (Oxides) พบว่ากลุ่มหินแอนดีไซต์ไดค์เนื้อดอกและหินบะซอลต์ไดค์ มีค่า K2O สูงกว่า และมีค่า MgO ต่ากว่าหินบะซอลติกแอนดีไซต์และหินบะซอลต์ อย่างชัดเจน หิบะซอลต์ไดค์ มีค่า Al2O3 ประมาณ 12.5 wt % ซึ่งต่ำกว่าหินอีกสามกลุ่มที่เหลือค่อนข้างมาก ส่วนธาตุร่องรอย เช่น Zr Cr และ Sr โดยผลวิเคราะห์พบว่าหินแอนดีไซต์ไดค์เนื้อดอกและหินบะซอลต์ไดค์จะมีค่า Zr สูงกว่าหินบะซอลติกแอนดีไซต์และหินบะซอลต์ หินกลุ่มไดค์มีค่า Cr ต่ำกว่า 70 ppm ในขณะที่ หินบะซอลติกแอนดีไซต์และหินบะซอลต์มีค่า Cr มากว่า 100 ppm และหินบะซอลติกแอนดีไซต์มีค่า Sr สูงกว่าหินบะซอลต์และหินกลุ่มไดค์ ซึ่งค่าทั้งหมดสัมพันธ์กับค่าที่บอกกลุ่มหินแคลอัลคาไลน์และโทรลิไอต์