Abstract:
เขาตาราด ตั้ง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอ่างเก็บน้ำ คลองลำกง จังหวัดเพชรบูรณ์ มี ความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ลักษณะทางธรณีวิทยาของแนวเขาดังกล่าว ประกอบไปด้วยหินตะกอนเนือ้ ประสมขนาดละเอียดและหินปูนในยุคเพอร์เมียน บางบริเวณพบเป็น หินตะกอนภูเขาไฟ แนวเขาตาราดนี้อยู่ในแนวชั้น หินคดโค้งเลย-เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการชน กันของแผ่นเปลือกโลกไซบูมาสุและแผ่นเปลือกโลกอินโดจีน จากการสำรวจภาคสนามและการวิเคราะห์ธรณีวิทยาโครงสร้างระดับจุลภาค ได้ถูกนำมา ศึกษาและวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อใช้ในการอธิบายธรณีวิทยาโครงสร้างของแนวรอยแตกของเขาตาราด บริเวณอ่างเก็บน้ำ คลองลำกง จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งพบว่ารอยแตกในพืน้ ที่ศึกษา มีรอยแตกที่ตั้งฉาก กัน (orthogonal fracture) ทัง้ หมด 3 แนว อยู่ในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้, แนว ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ และแนวตะวันออก-ตะวันตก และมีรอยแตกมุมสูง (high angle fracture) 1 แนว อยู่ในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ สัมพันธ์กับการเกิดชัน้ หินคด โค้งในบริเวณที่ศึกษา โดยมีการวางตัวในแนวเดียวกันกับระนาบแกนการโค้ง (axial plane) จาก ลักษณะธรณีวิทยาโครงสร้างของแนวรอยแตกและวิวัฒนาการธรณีวิทยาโครงสร้างของแนวรอยแตก ของเขาตาราด บริเวณอ่างเก็บน้ำ คลองลำกง จังหวัดเพชรบูรณ์แล้ว คาดว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับ การเกิดชั้น หินคดโค้งเลย-เพชรบูรณ์ ในช่วงปลายยุคไทรแอสซิก