Abstract:
แนวชั้นหินคดโค้งบริเวณอ่างเก็บน้ำคลองลากง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ วางตัวต่อ เนื่องมาจากแนวชั้นหินคดโค้งเลย - เพชรบูรณ์มีทิศการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียง ใต้ หรือเกือบเหนือ - ใต้ ลักษณะทางธรณีวิทยาของแนวชั้นหินคดโค้งบริเวณอ่างเก็บน้ำคลองลากง ประกอบด้วยหินทรายเกรย์แวกยุคเพอร์เมียน อยู่ในหมวดหินน้ำดุก การศึกษาและวิเคราะห์ร่วมกันในระดับมัจฉิมภาคและจุลภาคนั้น สามารถอธิบายลักษณะ พฤติกรรมและธรณีโครงสร้างของแนวชั้น หินคดโค้งบริเวณอ่างเก็บน้ำคลองลากงได้ การสำรวจภาคสนาม ได้ทาการสำรวจและเก็บข้อมูลโครงสร้างแนวการวางตัวของชั้นหิน (attitude of bedding) โครงสร้างแนว เส้น (Lineation) และโครงสร้างแนวรอยเลื่อน (fault) ในบริเวณพื้นที่ศึกษา ผลลัพธ์จากการกำหนดข้อมูล ภาคสนามลงบนตาข่ายมิติสเตอริโอกราฟิกชนิดพื้นที่เท่า (Equal-area stereographic projection) และ แผนภาพกุหลาบ (Rose diagram) แสดงถึงทิศทางของโครงสร้างที่สอดคล้องกับแนวโครงสร้างหลัก โดย หินในพื้นที่ศึกษามีหลักฐานแสดงถึงการเปลี่ยนลักษณะภายใต้แรงบีบอัด (compression) แบบอ่อนนิ่มถึง แตกเปราะ คือ การพบโครงสร้างประทุนหงาย (antiform) และประทุนคว่า (synform) ที่มีระนาบการบิด โค้ง (fold axis) ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ - ตะวันตกเฉียงใต้ พบเขตเงาความเค้น (Strain shadow) ในแผ่นหินขัดบาง และจากลักษณะผลึกแร่ถูกแรงบีบอัดจนแตกละเอียดในแผ่นหินขัดบาง แสดงการถูกแรง บีบอัดในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ - ตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งธรณีวิทยาโครงสร้างและการเปลี่ยนลักษณะ ของชั้นหินคดโค้งบริเวณอ่างเก็บน้ำ คลองลำกงมีความสัมพันธ์กับรูปลักษณ์ของแนวชั้นหินคดโค้งเลย- เพชรบูรณ์ และพฤติกรรมของการเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นจุลทวีไปไซบูมาสุ และอินโดจีนในช่วงยุคไทรแอ สซิกตอนต้นถึงตอนปลาย