Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53340
Title: ชั้นหินคดโค้งของแนวชั้นหินคดโค้งเลย-เพชรบูรณ์บริเวณอ่างเก็บน้ำคลองลำกง จังหวัดเพชรบูรณ์
Other Titles: Folds of the Loei-Petchabun fold belt at Klong Lamgong resevior, Changwat Petchabun
Authors: ญาณวิทย์ ศรสูงเนิน
Advisors: พิษณุพงศ์ กาญจนพยนต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: pitsanupong.k@hotmail.com
Subjects: ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- เพชรบูรณ์
รอยเลื่อน (ธรณีวิทยา) -- ไทย -- เพชรบูรณ์
Geology, Structural -- Thailand -- Petchabun
Faults (Geology) -- Thailand -- Petchabun
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แนวชั้นหินคดโค้งบริเวณอ่างเก็บน้ำคลองลากง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ วางตัวต่อ เนื่องมาจากแนวชั้นหินคดโค้งเลย - เพชรบูรณ์มีทิศการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียง ใต้ หรือเกือบเหนือ - ใต้ ลักษณะทางธรณีวิทยาของแนวชั้นหินคดโค้งบริเวณอ่างเก็บน้ำคลองลากง ประกอบด้วยหินทรายเกรย์แวกยุคเพอร์เมียน อยู่ในหมวดหินน้ำดุก การศึกษาและวิเคราะห์ร่วมกันในระดับมัจฉิมภาคและจุลภาคนั้น สามารถอธิบายลักษณะ พฤติกรรมและธรณีโครงสร้างของแนวชั้น หินคดโค้งบริเวณอ่างเก็บน้ำคลองลากงได้ การสำรวจภาคสนาม ได้ทาการสำรวจและเก็บข้อมูลโครงสร้างแนวการวางตัวของชั้นหิน (attitude of bedding) โครงสร้างแนว เส้น (Lineation) และโครงสร้างแนวรอยเลื่อน (fault) ในบริเวณพื้นที่ศึกษา ผลลัพธ์จากการกำหนดข้อมูล ภาคสนามลงบนตาข่ายมิติสเตอริโอกราฟิกชนิดพื้นที่เท่า (Equal-area stereographic projection) และ แผนภาพกุหลาบ (Rose diagram) แสดงถึงทิศทางของโครงสร้างที่สอดคล้องกับแนวโครงสร้างหลัก โดย หินในพื้นที่ศึกษามีหลักฐานแสดงถึงการเปลี่ยนลักษณะภายใต้แรงบีบอัด (compression) แบบอ่อนนิ่มถึง แตกเปราะ คือ การพบโครงสร้างประทุนหงาย (antiform) และประทุนคว่า (synform) ที่มีระนาบการบิด โค้ง (fold axis) ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ - ตะวันตกเฉียงใต้ พบเขตเงาความเค้น (Strain shadow) ในแผ่นหินขัดบาง และจากลักษณะผลึกแร่ถูกแรงบีบอัดจนแตกละเอียดในแผ่นหินขัดบาง แสดงการถูกแรง บีบอัดในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ - ตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งธรณีวิทยาโครงสร้างและการเปลี่ยนลักษณะ ของชั้นหินคดโค้งบริเวณอ่างเก็บน้ำ คลองลำกงมีความสัมพันธ์กับรูปลักษณ์ของแนวชั้นหินคดโค้งเลย- เพชรบูรณ์ และพฤติกรรมของการเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นจุลทวีไปไซบูมาสุ และอินโดจีนในช่วงยุคไทรแอ สซิกตอนต้นถึงตอนปลาย
Other Abstract: Folds of the Loei-Petchabun Fold Belt at Klong Lamgong Reservior, Changwat Petchabun lies in NE-SW direction and lies almost in N-S direction. Geology in this area consists of Permain greywacke sandstone in Nam Duk formation. The evidences from mesoscopic and microscopic structural geology can be explained for the structural style of folds at Klong Lamgong Reservior. From the field obsevation, record attitude of bedding, lineations and faults, all of which have been observed and measured in the field. By using Equal-area stereographic projection and Rose diagram, the data shown the trends that conform to major structure. The evidences of the compressional motion of ductile to brittle are antiform and synform that have fold axis in the NE-SW direction, strain shadow and a lot of crack in minerals grain in the thinsections that indicated a compressional force in NW-SE direction. Also the structural geology and deformation of folds at Klong Lamgong Reservior related Loei-Petchabun Fold Belt and also concern in a behavior of the motion between Sibumasu plate and Indochina plate that are collided in Late Triassic period.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/53340
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5332709323 ญาณวิทย์ ศรสูงเนิน.pdf5.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.